ข้ามไปเนื้อหา

ขยุ้มตีนหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขยุ้มตีนหมา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Ipomoea
สปีชีส์: I.  pes-tigridis
ชื่อทวินาม
Ipomoea pes-tigridis
L., 1753[1]

ขยุ้มตีนหมา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea pes-tigridis; อังกฤษ: morningglory[2]) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอายุนาน 1 ปี ขยุ้มตีนหมาจัดอยู่ในสกุล Ipomoea ซึ่งอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นอยู่ตามบริเวณรกร้างว่างเปล่า นาข้าว ริมถนน และตามดินทรายใกล้ทะเล พบได้ตั้งแต่ระดับความสูง 0–1,000 เมตร ขยุ้มตีนหมาเป็นพืชที่พบกระจายอยู่เกือบทั่วโลก โดยพบในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ต้นขยุ้มตีนหมามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์จำแนกเป็นส่วน ๆ ดังนี้[3]

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความยาวตั้งแต่ 0.5–3 เมตร ลำต้นเล็กเรียว ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือเลื้อยพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีขนแข็งขึ้นปกคลุม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีความกว้าง 2.5–10 เซนติเมตร ยาว 3–7.5 เซนติเมตร ใบหยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงโคนใบ 7–9 แฉก ก้านใบจะเล็กและเรียวยาวประมาณ 1.5–10 เซนติเมตร
  • ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบมีประมาณ 2–3 ดอก ก้านช่อดอกจะมีขนยาว 2–18 เซนติเมตร ส่วนใบประดับจะเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5–3 เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 8–12 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมีสีขาว และเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร มีความยาว 3.5–5 เซนติเมตร
  • เกสร เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีลักษณะเกลี้ยง
  • เมล็ดและผล ผลแห้งมีสีน้ำตาล เป็นรูปไข่ยาวประมาณ 8–9 มิลลิเมตร มีผิวเกลี้ยง ส่วนเมล็ดจะมีความยาว 4 มิลลิเมตร และมีขนสีเทากระจายเต็มเมล็ด
  • ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ประโยชน์

[แก้]
  • ต้น ใช้ทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า หรือตำให้ละเอียดผสมกับเนย ใช้ปิดหัวฝีไม่ให้แพร่กระจาย
  • ราก ใช้เป็นยารักษาโรคไอเป็นโลหิต
  • เมล็ด ใช้รักษาโรคท้องมาน[4]

ชื่อพ้องและชื่อท้องถิ่น

[แก้]

ขยุ้มตีนหมามีชื่อพ้องหลายชื่อ[1] รวมถึงในประเทศไทยมีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น[5] ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Fang Rhui-cheng และ George Staples (1995). Flora of China – Ipomoea. Science Press, Peking und Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. หน้า 6
  2. Plants Profile — Ipomoea pes-tigridis L., Natural Resources Conservation Service, United States Department of Agriculture.
  3. ขยุ้มตีนหมา[ลิงก์เสีย], อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  4. ขยุ้มตีนหมา, สมุนไพรดอตคอม
  5. Ipomoea pes-tigridis L.[ลิงก์เสีย], ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย