ข้ามไปเนื้อหา

ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์
ประเภทTokusatsu
Superhero fiction
Science fiction
สร้างโดยToei
แสดงนำHayato Oshiba
Atsushi Ebara
Masaya Matsukaze
Eri Tanaka
Mami Higashiyama
Shigeru Kanai
Asami Jō
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"Denji Sentai Megaranger" by Naoto Fuuga
ดนตรีแก่นเรื่องปิด"Kinosei Ka Na" by Naoto Fuuga
"Bomb Dancing Megaranger" by Hiroko Asakawa
ผู้ประพันธ์เพลงKeiichi Oku
ประเทศแหล่งกำเนิดJapan
ภาษาต้นฉบับJapanese
จำนวนตอน51
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างKenji Ōta
Shigenori Takadera
Naomi Takabe
Kōichi Yada
ความยาวตอน25 นาที (ตอนที่ 1 - 7)
30 นาที (ตอนที่ 8 - 51)
ออกอากาศ
เครือข่ายTV Asahi
ออกอากาศFebruary 14, 2009 –
February 15, 2010

ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่น เด็นจิเซ็นไต เมกะเรนเจอร์ (ญี่ปุ่น: 電磁戦隊メガレンジャーโรมาจิDenji Sentai Megarenjaทับศัพท์: Denji Sentai Megaranger) เป็นละครโทรทัศน์ชุดซูเปอร์เซ็นไตลำดับที่ 21 ของประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีฮาซาฮิ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 มีจำนวนตอนทั้งหมด 51 ตอน

เรื่องย่อ

[แก้]

สถาบันวิจัย INET นำทีมโดย ศาตราจารย์ คุโบตะได้ ค้นพบ ว่า อีกไม่นาน ปีศาจต่างมิติที่เรียกตนเอง ว่า เนจิเรเซีย จะมาโจมตีโลกมนุษย์ ทีมงานวิจัยจึงค้นคว้าและประดิษฐ์ อาวุธ และ ชุดเพิ่มพลัง โดยอาศัย เกมบังหน้า มีชื่อทีมว่า เมกะเรนเจอร์ และคอยดูว่าใครที่เล่นเกมเมกะเรนเจอร์ ได้ เก่ง ก็จะนำคนนั้น มาเป็น เมกะเรนเจอร์ (โดยใช้เกมเป็น แบบทดสอบผู้มีคุณสมบัติ ) และแล้ว เนจิเรเซียก็ บุกมาโจมตี พอดี

ศจ. คุโบตะ ได้ เจอ ดาเตะ เคนตะ (เมกะเรด) ผู้มีฝีมือในการเล่นเกมเมกะเรนเจอร์เป็นอย่างมาก (เพราะความบ้าบิ่นในการเล่นของเคนตะ) และ เพื่อนๆของเขา อีก 4คน ที่บังเอิญอยู่ในเหตุการณ์ เลยทำให้พวกเขาต้องกลายเป็น เมกะเรนเจอร์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศจ.คุโบตะ มอบ อุปกรณ์แปลงร่าง ดิจิไทเซอร์ เพื่อ ให้พวกเขาซึ่งยังเป็น เด็กนักเรียน มัธยมปลาย ทั้งหมด ต่อสู้เพื่อปกป้องโลกนี้ไว้จากการรุกรานของเนจิเรเซีย

ตัวละคร

[แก้]

ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์

[แก้]
ดาเตะ เคนตะ (伊達 健太)
แสดงโดย โอชิบะ ฮายาโตะ (大柴邦彦)
ตัวเอกของเรื่อง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A ผู้ที่ถูกคัดเลือกเป็นเมกะเรนเจอร์เนื่องจากผลงานการแข่งเกมตู้อาเขตเมกะเรนเจอร์ มีผลการเรียนแย่ที่สุดในชั้นเรียน แต่ชื่นชอบการรับประทานเนื้อย่างเป็นชีวิตจิตใจ และมีนิสัยใจร้อน นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านการทะเลาะวิวาทด้วยเพลงหมัดมวยวัด
เมกะเรด (メガレッド)
ร่างแปลงนักรบของดาเตะ เคนตะ ชุดสีแดง ฟังก์ชันหลักคือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก รูปแบบความสามารถจัดอยู่ในความสมดุลระหว่างพละกำลังและความเร็วตามข้อมูลที่ถูกติดตั้ง รองรับความสามารถในการต่อสู้วิเคราะห์ข้อมูลของศัตรูคู่ต่อสู่และคำนวณวิธีการโจมตีเทคนิคและกลยุทธได้
เอ็นโด โคอิจิโร่ (遠藤 耕一郎)
แสดงโดย เอฮาระ อัตซึชิ (江原淳史)
หัวหน้าทีมของเมกะเรนเจอร์ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 หัวหน้าชั้นห้อง A รวมถึงเป็นประธานชมรมวิจัยดิจิตอล เก่งทางด้านการเรียนจนมีผลการเรียนในอันดับต้นๆของห้องและมีทักษะการเล่นกีฬาเก่ง เป็นคนรับผิดชอบสูงและวางแผนเก่ง
เมกะแบล็ค (メガブラック)
ร่างแปลงนักรบของเอ็นโด โคอิจิโร่ ชุดสีดำ ฟังก์ชันหลักคือดาวเทียมที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลกลยุทธ์ต่างๆ สามารถใช้คำแนะนำตามคำสั่งของหัวหน้าทีมได้ รูปแบบพลังความสามารถมีพละกำลังสูงสุดในทีม
นามิคิ ชุน (並樹 瞬)
แสดง มัตซึคาเซะ มาซายะ (松風雅也)
นักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A มีนิสัยสุขุมและชอบเล่นดนตรีและศิลปะ เรียนเก่ง มีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก และมีความฝันที่จะเป็นนักทำคอมพิวเตอร์กราฟิก
เมกะบลู (メガブルー)
ร่างแปลงนักรบของนามิคิ ชุน ชุดสีน้ำเงิน ฟังก์ชันหลักคือทีวีดิจิทัลที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก มีความสามารถพิเศษคือสามารถสร้างภาพสามมิติได้เสมือนจริง และซ่อมแซมช่องว่างที่บิดเบี้ยว รูปแบบพลังความสามารถมีความเร็วสูงที่สุดในทีมรวมถึงสามารถใช้ระดมความคิดสมองได้เร็ว
โจกาซาคิ จิซาโตะ (城ケ崎 千里)
แสดงโดย ทานากะ เอริ (田中恵理)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A สาวน้อยอัจฉริยะประจำกลุ่ม ชอบถ่ายภาพ เป็นเพื่อนสนิทกับมิคุ บ่อยครั้งที่จิซาโตะต้องคอยช่วยเหลือโคอิจิโร่จนกระทั่งแอบมีใจชอบพอกัน
เมกะเยลโล่ (メガイエロー)
ร่างแปลงนักรบของโจงาซาคิ จิซาโตะ ชุดสีเหลือง ฟังก์ชันหลักคือกล้องดิจิทัลที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก มีความสามารถพิเศษคือสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนหรือจุดที่ล่องหนของศัตรูได้ รวมไปถึงข้อมูลวิเคราะห์จากความคิด รูปแบบพลังความสามารถเน้นการใช้ลูกเตะต่อเนื่องในการต่อสู้และสามารถใช้อาวุธจู่โจมกลางอากาศ
อิมามุระ มิคุ (今村 みく)
แสดงโดย ฮากาชิยามะ มามิ (東山麻美)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A มีนิสัยร่าเริง รักสวยรักงามและพยายามลดอาหารเพื่อที่จะเดินตามฝันในสายบันเทิง อาหารที่ชอบคือเค้ก มีเพื่อนสนิทคือจิซาโตะ มิกุ เคยแอบชอบพอกับชุน มาก่อน แต่หลังจากเรียนจบ ความสัมพันธ์ของมิกุ กับ ชุน ไม่คืบหน้าสักเท่าไหร่นัก
เมกะพิงค์ (メガピンク)
ร่างแปลงนักรบของอิมามุระ มิคุ ชุดสีชมพู ฟังก์ชันหลักคือโทรศัพท์มือถือที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก มีความสามารถพิเศษคือสามารถค้นหาผ่านทางคลื่นไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ ทั้งคลื่นวิทยุหรือคลื่นเสียง ในการรวบรวมข้อมูลของศัตรูได้ รูปแบบการต่อสู้จะเน้นการต่อสู้เวลาโกรธด้วยเขวี้ยงอสูรเนจิเร ในตอนที่ 17 ได้มีร่างพาวเวอร์อัพชื่อ ซูเปอร์เมกะพิงค์ (スーパーメガピンク) ซึ่งเกิดจากผลกระทบของคลื่นเสียงที่เนจิเรซียสร้างโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลทำให้สติปัญญาสูงกว่าปกติ
ฮายาคาวะ ยูซาคุ (早川 裕作)
แสดงโดย คานากิ ชิเงรุ (金井茂)
หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาพิเศษของ I.N.E.T. เป็นวิศวกรอัจฉริยะโดยเป็นผู้ควบคุมโครงการ สเปซเมกะ รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาชุดเมกะสูท ภายนอกดูเป็นคนสนุกสนานเฮฮาแต่เบื้องลึกแล้ว ยูซาคุ เป็นคนที่มีมันสมองอันยอดเยี่ยม
เมกะซิลเวอร์ (メガシルバー)
ร่างแปลงนักรบของฮายาคาวะ ยูซาคุ ชุดสีเงิน ฟังก์ชันหลักคือIC ชิปที่แสดงผลผ่านส่วนหมวก สามารถดึงพลังทั้งสมองและพละกำลังรวมเข้าไว้ด้วยกัน ในช่วงแรกของการแปลงร่างเมกะซิลเวอร์มีข้อขีดจำกัด เนื่องด้วยข้อมูลของเมกะซิลเวอร์ไม่สมบูรณ์เพียงพอ ประกอบกับในช่วงแรกเป็นการทดลองระบบใหม่ของ I.N.E.T. ทำให้ต่อสู้ได้เพียง 2 นาที 30 วินาที แต่ภายหลังยูซาคุได้ไปปรับปรุงข้อมูลเมกะสูทของเมกะซิลเวอร์ ทำให้ระยะเวลาการแปลงร่างยาวนานขึ้นเทียบเท่ากับสมาชิกหลักทั้ง 5 คน

I.N.E.T.

[แก้]
คุโบตะ เอคิจิ (久保田 衛吉)
นักวิทยาศาสตร์ของ I.N.E.T. เป็นผู้คิดค้นระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของเมกะเรนเจอร์ โดยใช้ชื่อว่า เมกะโปรเจกต์ มีความสามารถพิเศษคือเล่นทรัมเป็ตและยังได้แสดงฝีมืออีกด้วย ในอดีตเคยทำงานวิจัยเรื่อง การค้นพบเนจิเรเซีย ร่วมกับ ซาเมจิมะ แต่การค้นคว้าวิจัยดังกล่าวได้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนไม่สามารถทำงานต่อเนื่องได้อีก สาเหตุมาจากซาเมจิมะได้ทำการทรยศคุโบตะ และหลุดเข้าไปในมิติของเนจิเรเซีย จนไม่อาจกลับมาเป็นมนุษย์ได้อีกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนของทั้ง 2 คนขาดสะบั้นลง
ทาจิบานะ (立花)
ผู้ช่วยของคุโบตะ เป็นผู้มอบดิจิไทเซอร์ให้กับเคนตะ
ศาสตราจารย์ โทโยคาวะ (豊川博士)
คาวาซากิ โชโก (川崎 省吾)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมและพัฒนาหุ่นยนต์ของเมกะเรนเจอร์ เป็นลูกชายเพียงคนเดียวของศาสตราจารย์คาวาซากิ
ป็อป (ポップ)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเอนจิเนียร์ของ I.N.E.T.

โรงเรียนมัธยมปลายโมโรโบชิ

[แก้]
โออิวะ เคน (大岩 厳)
อาจารย์ประจำชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A
วาดะ จินทาโร่ (和田 シンタロウ)
นักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A เพื่อนร่วมห้อง
อิวาโมโตะ จิโร่ (岩本 ジロウ)
นักเรียนชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A เพื่อนร่วมห้อง
เอรินะ (恵理奈)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปลายปีที่ 3 ห้อง A เพื่อนร่วมห้องและเพื่อนของจิซาโตะ
ทาคาโทระ ชิเงคิ (高寅 成紀)
คุโรซาวะ (黒沢)

ตัวละครอื่นๆ

[แก้]
ทาเคชิ (タケシ)

พลังการต่อสู้ของเมกะเรนเจอร์

[แก้]

พลังรูปแบบทั่วไป

[แก้]
เมกะสูท (メガスーツ)
ชุดแปลงร่างของเมกะเรนเจอร์ พัฒนาโดยศาสตราจารย์คุโบตะ และสถาบัน I.N.E.T. เป็นชุดดิจิตอลสูทสามารถไปยังมิติอวกาศ เพื่อรับมือกับเนจิเรเซีย โดยผู้ใช้จะถูกบันทึกข้อมูล DNA ต่อผู้ใช้ อย่างไรก็ตามในการพัฒนาชุดเมกะสูทนั้นได้สร้างชุดเมกะซิลเวอร์เป็นชุดแรก แต่ว่ามีข้อจำกัดในการใช้เพียง 2 นาที 30 วินาที แต่ภายหลังยูซาคุได้ไปปรับปรุงข้อมูลเมกะสูทของเมกะซิลเวอร์ ทำให้ระยะเวลาการแปลงร่างยาวนานขึ้นเทียบเท่ากับสมาชิกหลักทั้ง 5 คน
ทั้งนี้ชุดนักรบนั้นมีพลังต้นแบบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลทำให้ใช้ความสามารถจากพลังที่ใช้จากชุดที่สวมใส่นั้น
แบทเทิลไรเซอร์ (バトルライザー)
อุปกรณ์เพิ่มพลังของเมกะเรนเจอร์ ทำหน้าที่ควบคุมหุ่นเดลต้าเมกะ มีปุ่มด้วยกันถึง 3 ปุ่มด้วยกัน
01 mode (ซีโร่วันโหมด)
ใช้เพิ่มพลังโจมตีให้กับผู้สวมใส่ โดยมากมักเป็นการเพิ่มพลังไปยังส่วนแขน ทำให้ความสามารถในโจมตีศัตรูด้วยพลังมือเปล่าเพิ่มขึ้น มักใช้กับท่า ไรเซอร์ ซ็อพ และ ไรเซอร์ พั๊นซ์ เป็นต้น
02 mode (ซีโร่ทูโหมด)
ใช้ในการโจมตีศัตรูจำนวนมาก โดยจะปล่อยเป็นแสงเลเซอร์เพื่อการโจมตีและสกัดกั้นการโจมตีของศัตรู
03 mode (ซีโร่ทรีโหมด)
ใช้เพิ่มพลังให้กับดริลสไนเปอร์คัสตอม โดยเพิ่มความแรงถึง 15 เท่า

อุปกรณ์เฉพาะของสมาชิกหลัก

[แก้]
ดิจิไทเซอร์ (デジタイザー)
อุปกรณ์แปลงร่างของเมกะเรนเจอร์ทั้ง 5 คน ในรูปแบบของนาฬิกาข้อมือ โดยเมื่อเปิดฝาจะมีปุ่มเลขรูปแบบโทรศัพท์โดยใช้รหัสลับ 3 ตัวเพื่อแสดงฟังก์ชันต่างๆ เมื่อทำการแปลงร่างจะใช้รหัสว่า 3,3, 5 แล้วกด Enter แล้วพูดว่า อินสตอล เมกะเรนเจอร์
เมกะสไนเปอร์ (メガスナイパー)
ปืนพกของเมกะเรนเจอร์ สามารถแยกเป็นอาวุธย่อยได้อีก 2 ชิ้น และ สามารถประกอบรวมกับอาวุธประจำตัวของแต่ละคนได้

มัลติเวพอน

[แก้]
ดริลเซเบอร์ (ドリルセイバー)
ดาบหัวสว่านของเมกะเรด
ดริลสไนเปอร์ (ドリルスナイパー)
เกิดจากการรวมตัวของ ดริลเซเบอร์ กับ เมกะสไนเปอร์
ดริลสไนเปอร์คัสตอม (ドリルスナイパーカスタム)
ดริลสไนเปอร์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดริลสไนเปอร์คัสตอมฟูลพาวเวอร์ (ドリルスナイパーカスタムフルパワー)
เมกะร็อด (メガロッド)
กระบองยาวสีดำของเมกะแบล็ค ปลายกระบองติดใบมีดรูปครึ่งวงกลม คล้ายรูปจันทร์เสี้ยว
ร็อดสไนเปอร์ (ロッドスナイパー)
อาวุธที่เกิดจากการรวมตัวของ เมกะร็อด กับ เมกะสไนเปอร์
เมกะโทมาฮอว์ค (メガトマホーク)
ขวานสีน้ำเงินของเมกะบลู
โทมาฮอว์คสไนเปอร์ (トマホークスナイパー)
อาวุธที่เกิดจากการรวมตัวของ เมกะโทมาฮอว์ค กับ เมกะสไนเปอร์
เมกะสลิง (メガスリング)
หนังสติ๊กสีเหลืองของเมกะเยลโล่ สามารถยิงกระสุนแสงออกมาได้
สลิงสไนเปอร์ (スリングスナイパー)
อาวุธที่เกิดจากการรวมตัวของ เมกะสลิง กับ เมกะสไนเปอร์
เมกะแคปเชอร์ (メガキャプチャー)
จานดาวเทียมมือถือสีชมพูของเมกะพิงค์
แคปเชอร์สไนเปอร์ (キャプチャースナイパー)
อาวุธที่เกิดจากการรวมตัวของ เมกะ แคปเชอร์ กับ เมกะ สไนเปอร์
ไฟนอลชูต (ファイナルシュート)
มัลติแอคแทคไรเฟิล (マルチアタックライフル)
เกิดจากการรวมตัวของมัลติเวพอนทั้ง 5 ทำให้เกิดบาซูก้าขนาดย่อมๆ ขึ้นมา

ท่าไม้ตายเฉพาะตัว

[แก้]
เมกะเรด
ฟูลจัมป์พันช์ (フルジャンプパンチ)
ฟูลจัมป์คิ๊ก (フルジャンプキック)
พาวเวอร์เอลโบ (パワーエルボー)
ฟูลพาวเวอร์คิ๊ก (フルパワーキック)
เมกะแบล็ค
แซทเทอไลท์เซิร์ทเชอร์ (サテライトサーチャー)
มิราเคิลชูต (ミラクルシュート)
ไฮเปอร์แฮงค์ (ハイパーハング)
ไฮเปอร์ชูต (ハイパーシュート)
ไฮเปอร์สวิง (ハイパースウィング)
เมกะบลู
เวอร์ชัวลเธียเตอร์ (バーチャルシアター)
เวอร์ชัวลโฮโลแกรม (バーチャルフォログラム)
ฟูลจัมป์พันช์ (フルジャンプパンチ)
เฟนท์ทัช (フェイントタッチ)
เมกะเยลโล่
ดิจิคัมเซิร์ช (デジカムサーチ)
เบลดอาร์ม (ブレードアーム)
ฟูลจัมป์ช็อป (フルジャンプチョップ)
ฟูลจัมป์คิ๊ก (フルジャンプキック)
โรลลิ่งคิ๊ก (ローリングキック)
เยลโล่คาคาโตะโอโตชิ (イエロー踵落とし)
เมกะพิงค์
เทเลโฟนเซิร์ช (テレホンサーチ)
ไฮเปอร์แฮงค์ (ハイパーハング)
พิงค์ชูต (ピンクシュート)
พิงค์ฮิราเทะอุจิ (ピンク平手打ち)
ฟูลจัมป์คิ๊ก (フルジャンプキック)

อุปกรณ์และอาวุธของเมกะซิลเวอร์

[แก้]
เคไทเซอร์ (ケイタイザー)
อุปกรณ์แปลงร่างของเมกะซิลเวอร์ รูปทรงโทรศัพท์มือถือรูปแบบฝาพับ เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดย I.N.E.T. เมื่อทำการแปลงร่างจะกดตัวเลข 2, 5, 8, 0 ตามด้วย Enter โดยใช้คำพูดว่า เคไทเซอร์อินสตอล!
ซิลเวอร์เบลเซอร์ (シルバーブレイザー)
อาวุธประจำตัวของเมกะซิลเวอร์ สามารถปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบปืน และ รูปแบบดาบได้

ท่าไม้ตายประสาน

[แก้]
ดิจิตอลคอมบิเนชัน (デジタルコンビネーション)
ไฮเปอร์ดิจิตอลฟอร์เมชัน (ハイパーデジタルフォーメーション)
ดังค์ชูตคอมบิเนชัน (ダンクシュートコンビネーション)
ไรเซอร์ดับเบิลแอคแทค (ライザーダブルアタック)

ยานรบพาหนะ

[แก้]
ไซเบอร์สไลเดอร์ (サイバースライダー)
กระดานโต้คลื่นต้านแรงโน้มถ่วง ของเมกะเรนเจอร์ทั้ง 5 สามารถทำความเร็วได้ถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมว จึงสามารถทะยานออกนอกโลกได้ และเมื่อต่อสู้นอกโลก ไซเบอร์สไลเดอร์สามารถเดินเครื่องได้แม้อยู่ในอวกาศ
เมื่อทะยานเข้าสู่อวกาศนั้น ไซเบอร์สไลเดอร์ จะเร่งความเร็วเต็มที่และทำการดึงผู้ใช้เข้าสู่มิติพิเศษอันเป็นทางลัดสู่อวกาศโดยทำให้ผู้ใช้ไม่เกิดความเสียหายต่อแรงเสียดทานบนชั้นบรรยากาศของโลก
ข้อมูลจำเพาะ - ความกว้าง 105 ซม., ความยาว 210 ซม. ,ความเร็ว 500 กม./ชม.
ออโต้สไลเดอร์ (オートスライダー)
ไซเบอร์สไลเดอร์ รุ่นพัฒนาสามารถเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไซต์ได้ เป็นยานพาหนะประจำตัวของเมกะซิลเวอร์
ข้อมูลจำเพาะ - ความกว้าง 80 ซม., ความยาว 220 ซม., ความสูง 130 ซม., ความเร็ว 300 กม./ชม.
ดิจิแทงค์ (デジタンク)
รถถังเอนกประสงค์ที่สามารถบุกตะลุยได้ทุกแห่ง
เมกะชิฟ (メガシップ)
ยานอวกาศสีน้ำเงินของ I.N.E.T. ใช้เป็นฐานทัพชั่วคราวของเมกะเรนเจอร์ จนกระทั่งฐานทัพที่ดวงจันทร์ถูกเปิดเผยแก่เมกะเรนเจอร์จึงได้ย้ายฐานข้อมูลไปยังดวงจันทร์ พร้อมกับซ่อมแซมเมกะชิฟ ที่ได้รับความเสียหายจากการต่อสู้
เมกะซัทเทิล (メガシャトル)
ยานกระสวยอวกาศขนาดกลาง
ชัทเทิลบูสเตอร์ (シャトルブースター)

วอยเจอร์แมชชีน

[แก้]

ยานรบในโครงการ สเปซเมกะโปรเจกต์ ที่ถูกสร้างโดยฐานทัพบนดวงจันทร์ สามารถรวมกันกลายเป็นหุ่นรบเมกะวอยเจอร์

โรวอยเจอร์ 1 (ロボイジャー1)
หุ่นยนต์รูปแบบมนุษย์สีขาวและสีแดง มีลักษณะคล้ายกับนักบินอวกาศ ตัวเครื่องกำกับตัวอักษรเป็น MEGA-V1 ที่หัวไหล่มีมิซไซล์ติดตั้งทั้ง 2 ข้าง
ซัทเทิลวอยเจอร์ 2 (シャトルボイジャー2)
ยานรูปแบบกระสวยอวกาศสีขาวและสีดำ ตัวเครื่องกำกับตัวอักษรเป็น MEGA-V2
ร็อกเก็ตวอยเจอร์ 3 (ロケットボイジャー3)
ยานรูปแบบจรวดสีขาวและสีน้ำเงิน ตัวเครื่องกำกับตัวอักษรเป็น MEGA-V3 มักใช้เป็นบอร์ดต้านแรงโน้มถ่วงให้กับโรวอยเจอร์
ซอลเซอร์วอยเจอร์ 4 (ソーサーボイジャー4)
ยานรูปแบบจานบิน UFO สีเหลืองและสีดำ ตัวเครื่องกำกับตัวอักษรเป็น MEGA-V4
แทงค์วอยเจอร์ 5 (タンクボイジャー5)
ยานรูปแบบรถถัง ตัวเครื่องกำกับตัวอักษรเป็น MEGA-V5 สามารถพับล้อรถให้เป็นกระดานสกีได้ มีปืนติดตั้งที่หลังคายาน

หุ่นยนต์ยักษ์

[แก้]
กาแล็กซี่เมกะ (ギャラクシーメガ)
หุ่นยนต์ที่รวมร่างระหว่างเมกะชิฟและเมกะชัทเทิล โดยการรวมร่างนั้นต้องรวมร่างไปยังอวกาศ รหัสรวมร่างคือ เด็นจิกัตไท (電磁合体) และในการรวมร่างใช้รหัสจากดิจิไทเซอร์ด้วยเลย 541 เพื่อทำการรวมร่าง
อาวุธประจำตัวคือ เมกะซาเบล, เมกะชิลด์, บูสเตอร์ไรเฟิล
เดลต้าเมกะ (デルタメガ)
หุ่นยนต์ระบบสั่งการณ์ด้วยระบบคลื่นวิทยุ ภายหลังได้แก้ไขเป็นการสั่งการณ์จากดิจิไทเซอร์ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เนจิเรเซียได้ทำการแทรกแซงสัญญาณทำให้เดลต้า เมกะถูกเนจิเรเซียยึดหุ่นไปในระยะเวลาหนึ่ง
ผู้ที่ออกแบบและสร้างหุ่นคือ ศาสตราจารย์ คุโบตะ
ซูเปอร์กาแล็คซี่เมกะ (スーパーギャラクシーメガ)
หุ่นยนต์เกิดจากการรวมร่างระหว่างกาแล็กซี่เมกะ และ เดลต้าเมกะ รหัสรวมร่าง คือ โจเด็นจิกัตไท (超電磁合体) ตามด้วยกดปุ่ม 03 ผ่านแบทเทิลไรเซอร์
เมกะวอยเจอร์ (メガボイジャー)
หุ่นยนต์ที่เกิดจากการรวมร่างของหุ่นยนต์และยานทั้ง 4 ลำ ถูกสร้างอย่างลับๆ ในฐานทัพลับในดวงจันทร์ มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถบินบนท้องฟ้าในโลกได้ แต่ภายหลังได้รับการแก้ไขจุดอ่อนลงโดยการรวมร่างกับปีกเสริม
ท่าไม้ตายคือ วอยเจอร์สปาตัน
เมกะวิงเกอร์ (メガウインガー)
ยานรบของเมกะซิลเวอร์ ที่สร้างพร้อมกับสเปซเมกะโปรเจกต์ แต่เป็นผลงานของยูซาคุ สามารถปรับเปลี่ยนโหมดต่างๆ คือ ฟลายเยอร์โหมด โหมดรูปแบบทางบิน, แลนเดอร์โหมด โหมดรูปแบบพิ้นดิน และ ไฟเตอร์โหมด โหมดรูปแบบหุ่นยนต์โดยใช้รหัสเปลี่ยนร่าง เดนเกคิ เฮนเคย์ เพื่อทำการเปลี่ยนรูปแบบหุ่นต่อสู้
อาวุธประจำตัวคือ ปืนเลเซอร์ข้างหน้าของตัวยาน (ฟลายเยอร์โหมดและแลนเดอร์โหมด) และ วิงเกอร์แคนนอน
วิงก์เมกะวอยเจอร์ (ウイングメガボイジャー)
เมกะวอยเจอร์ที่ได้รับปีกจากเมกะวิงเกอร์ ทำให้เมกะวอยเจอร์สามารถบินบนท้องฟ้าได้
ท่าไม้ตายคือ วิงเกอร์สปาตัน

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
ชื่อ ความยาว ความสูง ความกว้าง น้ำหนัก ความเร็ว
เมกะชิฟ 37 เมตร 34 เมตร 20000 ตัน 24 แรงมัค (ในบรรยากาศ)
เมกะชัทเทิล 11 เมตร 13.5 เมตร 150 ตัน 3 แรงมัค (ในบรรยากาศ)
เดลต้าเมกะ (ชัทเทิลโหมด) 43 เมตร 38 เมตร 15000 ตัน 28 แรงมัค (บนอากาศ)
ความเร็วแสง 36 เท่า (บริเวณอวกาศ)
ชัทเทิลวอยเจอร์ 2 33 เมตร 25 เมตร 8500 ตัน 10 แรงมัค
ร็อกเก็ตวอยเจอร์ 3 83 เมตร 16.6 เมตร 9000 ตัน 10 แรงมัค (ในบรรยากาศ)
37 แรงมัค (ในอวกาศ)
ซอลเซอร์วอยเจอร์ 4 34.5 เมตร 34 เมตร 8500 ตัน 5 แรงมัค
แท็งค์วอยเจอร์ 5 26 เมตร 23 เมตร 9000 ตัน ความเร็วสูงสุด : 150 กม. / ชม.
ความเร็วสูงสุดในการบิน : 1 แรงมัค
เมกะวิงค์เกอร์ (ฟลายเยอร์โหมด) 38.6 เมตร 70 เมตร 230000 ตัน ความเร็วสูงสุดในการบิน : 3 แรงมัค
เมกะวิงค์เกอร์ (แลนเดอร์โหมด) 41.3 เมตร ความเร็วในการเดินทาง : 300 กม. / ชม.
ดิจิแทงค์ 6.2 เมตร 3.3 เมตร 3.2 เมตร 15 ตัน 250 กม. / ชม.
ชื่อ ส่วนสูง น้ำหนัก ความเร็ว พลังกำลัง
กาแล็กซี่เมกะ 55 เมตร 20000 ตัน 50 ล้านแรงม้า
เดลต้าเมกะ 50 เมตร 15000 ตัน 25 ล้านแรงม้า
ซูเปอร์กาแล็กซี่เมกะ 65 เมตร 35000 ตัน 60 ล้านแรงม้า
โรวอยเจอร์ 1 40 เมตร 8500 ตัน 18 ล้านแรงม้า
เมกะวอยเจอร์ 70 เมตร 40000 ตัน 65 ล้านแรงม้า
วิงก์เมกะวอยเจอร์ 48000 ตัน ความเร็วสูงสุดในการบิน : 2.8 แรงมัค
เมกะวิงค์เกอร์ 58 เมตร 30000 ตัน 55 ล้านแรงม้า

จักรวรรดิคลื่นไฟฟ้าชั่วร้าย เนจิเรเซีย

[แก้]
ราชาไฟฟ้าปีศาจ จาเวียส ที่ 1 (邪電王ジャビウス1世)
ผู้นำแห่งเนจิเรเซียในช่วงแรกไม่มีตัวตนที่แท้จริง โดยจะปรากฏเพียงรูปร่างคล้ายดวงตาเท่านั้น
ดร.ฮิเนเลอร์ (Dr.ヒネラー)
แสดงโดย โมริชิตะ เท็ตสึโอะ
ผู้บัญชาการของเนจิเรเซียโดยในอดีตคือ ดร. ซาเมจิมะ (鮫島博士) เพื่อนของ ดร. คูโบตะ แต่ว่าได้เกิดเหตุการณ์การเสียชีวิตจากลูกสาวของตนจากการทดลองทำให้สูญเสียชื่อเสียงและถูกตราหน้าว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ฆาตกร แต่หลังจากเหตุการณ์นั้น ซาเมจิมะก็พิสูจน์ตัวเองโดยเข้าไปในยังมิติเนจิเร จนกลายเป็นดร.ฮิเนเลอร์ และกลับมาล้างแค้นแก่โลกที่ไม่เชื่อสิ่งที่พิสูจน์
ชิโบเรน่า (シボレナ)
แสดงโดย อาซามิ โจ
หุ่นยนต์แอนดรอยด์ที่ดร.ฮิเนเลอร์สร้างขึ้นมา มีต้นแบบมากจากลูกสาวของซาเมจิมะที่ชื่อซิซุกะ มีความสามารถในการปลอมตัวเป็นหลัก โดยมักทำงานคู่กับยูกันเด เมื่อใกล้ท้ายเรื่อง เธอพยายามปกป้องยูกันเดจากเมก้าเรนเจอร์ แต่ไม่เป็นผล เธอกลับมาหาฮิเนเลอร์ในสภาพที่บาดเจ็บ เพื่อบอกเรื่องการตายของยูกันเด แต่ร่างของเธอก็ระเบิดพร้อมกับยูกันเดไปต่อหน้าต่อตาของคุณพ่อของเธอ
ยูกันเด (ユガンデ)
พากย์โดย ซึซึโอคิ ฮิโรทาคะ
แม่ทัพของเนจิเรเซีย เป็นหุ่นยนต์ถนัดด้านการต่อสู้โดยใช้ดาบเป็นหลักมีพลังในการต่อสู้สูง
ยูกันเด รีไลฟ์ (ユガンデ・リライブ)
ยูกันเด สตรอง (ユガンデストロング)
เบิร์นนิ่ง ยูกันเด (バーニングユガンデ)
กิเรล (ギレール)
พากย์โดย ทัตสึยูคิ จินไน
ขุนนางที่จาเวียสส่งมาให้ร่วมงานกับดร.ฮิเนเลอร์ มีนิสัยโหดเหี้ยมและใช้วิธีรุนแรงโดยไม่สนวิธีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดขัดแย้งขึ้นมาระหว่างยูกันเดและดร.ฮิเนเลอร์
กิกะกิเรล (ギガギレール)
กิเรลที่รวมร่างกับยูกันเดทำให้มีพลังมากกว่าร่างปกติ
แม็ดกิเรล (マッドギレール)
ร่างแปลงที่เกิดจากการใช้ เนจิเรเกนแคปซูล ทำให้เกิดแปรสภาพรูปร่างและทำให้บ้าคลั่ง
กิกิเระ (ギギレ)
ร่างแยกของแม็ดกิเรล
บิบิเดบิ (ビビデビ)
พากย์โดย เซกิ โทโมคาซุ
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำหน้าที่ปล่อยไวรัสขยายร่างให้กับเนจิเรจูหรือไซโคเนจิเลอร์
จาเด็นเซ็นไต เนจิเรนเจอร์ (邪電戦隊ネジレンジャー)
กลุ่มขบวนการที่ถูกสร้างขึ้นโดย ดร.ฮิเนเลอร์ โดยใช้ชุดสูทขั้นสูงสุดที่พัฒนาร่วมกับ ดร.คุโบตะ ผสมเซลล์ร่างกายส่วนหนึ่งของจาเวียส โดยที่จาเวียสไม่รู้ตัว แต่ด้วยมีเซลล์ของจาเวียสทำให้เมื่อใช้พลังมากเมื่อไรยิ่งส่งผลต่อตัวจาเวียสมากขึ้น ยกเว้นเนจิซิลเวอร์ ที่ไม่ได้เกิดจากาการสร้างเซลล์แต่อย่างใด เป็นศัตรูคู่ปรับของเมกะเรนเจอร์โดยแต่ละตัวจะต่อสู้กับนักรบในแต่ละสีที่ตรงกับสีที่ตัวเองอยู่
เนจิเรด (ネジレッド)
เนจิแฟนธอม (ネジファントム)
เนจิแบล็ค (ネジブラック)
เนจิวัลเกอร์ (ネジヴァルガー)
เนจิบลู (ネジブルー)
เนจิบลิซซาล (ネジビザール)
เนจิเยลโล่ (ネジイエロー)
เนจิโซเฟียร์ (ネジソフィア)
เนจิพิงค์ (ネジピンク)
เนจิเจเรียส (ネジジェラス)
เนจิเรจู (ネジレ獣) / ไซโคเนจิเลอร์ (サイコネジラー)
คุเนคุเน (兵士クネクネ)
ทหารระดับล่างของเนจิเรซีย

พลังของเนจิเรเซีย

[แก้]
เนจิคลัชเชอร์ (ネジクラッシャー)
เดธเนจิโระ (デスネジロ)
แกรนเนจิลอส (グランネジロス)

ข้อมูลอื่นๆ

[แก้]
สหพันธ์วิทยาศาสตร์โลก I.N.E.T. (世界科学連邦I.N.E.T.)
โรงเรียนมัธยมปลายโมโรโบชิ (諸星学園高校)
ฮิเนเลอร์ซิตี้ (ヒネラーシティ)

การออกอากาศ

[แก้]

ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ทุกวันศุกร์เวลา 17:30 น. - 17:55 น. อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 6 เมษายน ปีเดียวกัน ได้ย้ายวันเวลาออกอากาศเป็นทุกเช้าวันอาทิตย์เวลา 7:30 น. - 8:00 น. ซึ่งเวลาดังกล่าวกลายเป็นเวลาที่ออกอากาศซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตในเรื่องถัดมา รวมถึงระยะเวลาตัวเรื่องยาวขึ้นเป็น 25 นาทีจากเดิม 20 นาที (ไม่รวมโฆษณา)

ในส่วนประเทศไทย เคยออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการ เมกะเรนเจอร์ ผู้ที่นำเข้าฉายคือบริษัท ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์ เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2544 ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 17:30 น. และได้วางจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอโดยบริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด ส่วนรูปแบบวางจำหน่าย VCD เป็นของบริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด โดยใช้พากย์เสียงโดยทีมพากย์ของน้าต๋อย เซมเบ้ ที่ออกอากาศทางช่อง 9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]