การแพร่เชื้อ
ในทางแพทยศาสตร์ สาธารณสุข และชีววิทยา การแพร่เชื้อ (อังกฤษ: Transmission) คือ การส่งจุลชีพก่อโรคติดต่อจากโฮสต์หรือกลุ่มโฮสต์ที่ติดเชื้อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นอีกตัวหรืออีกกลุ่มโดยเฉพาะ ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะติดเชื้ออยู่หรือไม่ก็ตาม[1]
คำนี้หมายถึงการแพร่เชื้อของจุลินทรีย์โดยตรงจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตด้วยวิธีการวิธีใดวิธีหนึ่งหรือมากกว่า:
- ทางอากาศ – การไอ การจาม การหายใจ
- การติดเชื้อจากอากาศ – เกิดจากอนุภาคเปียกและแห้งขนาดเล็กมากที่อยู่ในอากาศเป็นระยะเวลานานแล้วทำให้เกิดการปนเปื้อนทางอากาศแม้ว่าโฮสต์ออกจากบริเวณนั้นไปแล้ว ขนาดอนุภาคน้อยกว่า 5 ไมโครเมตร (μm)
- การติดเชื้อจากละอองเสมหะ – อนุภาคเปียกโดยส่วนมากและมีขนาดเล็กที่อยู่ในอากาศเป็นระยะเวลาสั้น ๆ การปนเปื้อนมักเกิดขึ้นเมื่อมีโฮสต์อยู่ในบริเวณนั้น ขนาดอนุภาคมากกว่า 5 μm
- การสัมผัสโดยตรง – การแตะต้องตัวผู้ติดเชื้อ รวมถึงการสัมผัสทางเพศ
- การสัมผัสโดยอ้อม – โดยปกติเกิดจากการสัมผัสผิวที่ปนเปื้อนอยู่แล้ว รวมถึงดิน (โฟไมต์)
- การแพร่เชื้อทางอุจจาระ–ปาก – โดยปกติเกิดจากมือที่ไม่ล้าง อาหารหรือแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเนื่องจากขาดสุขอนามัยและสุขลักษณะที่เพียงพอ โดยเป็นหนทางแพร่เชื้อสำคัญในทางกุมารเวชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และประเทศที่กำลังพัฒนา
การแพร่เชื้อยังเกิดขึ้นทางอ้อม ผ่านสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่ว่าจะเป็นตัวนำโรค (อย่างยุงหรือแมลงวัน) หรือโฮสต์ตัวกลาง (อย่างพยาธิตืดหมูสามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ที่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่ผ่านการปรุงให้ดี) การแพร่เชื้อทางอ้อมสามารถเกี่ยวข้องกับโรครับจากสัตว์ หรือจุลชีพก่อโรคขนาดใหญ่ เช่น มหปรสิต (Macroparasite) ที่มีวงจรชีวิตซับซ้อน การแพร่เชื้อยังสามารถเกิดจากการที่สองสิ่งมีชีวิตอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกับการเดินทางของจุลินทรีย์หรือโฮสต์ที่ติดเชื้อ
ดูเพิ่ม
[แก้]- ละอองลอยชีวภาพ
- บักเชสซิง (Bugchasing)
- การแพร่เชื้อข้ามสปีชีส์
- การติดเชื้อ
- ความเสี่ยงและอัตราการแพร่เชื้อ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bush, A.O. et al. (2001) Parasitism: the diversity and ecology of animal parasites. Cambridge University Press. Pp 391-399.