การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต
การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต หมายถึง[1] ช่วงเวลาระหว่างปีค.ศ. 1944 ถึง สิงหาคม ค.ศ. 1958 ระหว่างที่สหภาพโซเวียตยังคงกองกำลังทหารไว้ในโรมาเนีย ชะตากรรมของดินแดนทางตะวันออกของโรมาเนียได้ถูกยึดครองโดยกองทัพแดงและในที่สุดก็รวมอยู่ภายใต้สหภาพโซเวียตซึ่งจะถูกแยกไปยังบทความ การยึดครองเบสซาราเบียและบูโกวินาเหนือของโซเวียต
ในช่วงระหว่างแนวรบด้านตะวันออกในปีค.ศ. 1944 กองทัพโซเวียตเข้ายึดครองโรมาเนีย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมอลเดเวียได้ถูกยึดครองหลังจากผลของการรุกเจสซี-คิชิเนฟที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมและสิงหาคมของปีนั้น ในขณะที่โรมาเนียยังคงเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี ส่วนที่เหลือของโรมาเนียได้ถูกยึดครองหลังจากโรมาเนียเปลี่ยนฝ่ายในสงครามโลกครั้งที่สอง อันเนื่องมาจากการรัฐประหารของราชสำนักที่พระเจ้าไมเคิลทรงก่อการในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ในเวลานั้น พระมหากษัตริย์ทรงประกาศว่าโรมาเนียได้หยุดต่อต้านทางการทหารทั้งหมดต่อกองกำลังสัมพันธมิตร โดยทรงยอมรับข้อเสนอพักรบของสัมพันธมิตร[2] และทรงเข้าร่วมสงครามต่อต้านฝ่ายอักษะ และด้วยไม่มีข้อเสนอพักรบที่ออกมาอย่างเป็นทางการ กองทัพแดงได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโรมาเนียในฐานะที่เป็นดินแดนของศัตรูก่อนที่จะมีการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกมอสโก ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1944
การประชุมสงบศึกและในที่สุดเกิดสนธิสัญญาสันติภาพปารีสในปีค.ศ. 1947 กำหนดให้กองทัพโซเวียตยังคงกำลังทหารพื้นฐานในโรมาเนีย และในที่สุดจนถึงค.ศ. 1958[3] และมีจำนวนสูงสุดถึง 615,000 ในปีค.ศ. 1946[4]
นักเขียนโซเวียตและรัฐธรรมนูญแห่งโรมาเนีย ค.ศ. 1952ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ในปีค.ศ. 1944 ว่าเป็น "การปลดปล่อยโรมาเนียโดยกองทัพโซเวียตที่รุ่งโรจน์"[5] ในทางกลับกันหลักฐานโรมาเนียและตะวันตกส่วนใหญ่ใช้คำว่า "การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต" บางส่วนนำไปใช้ตลอดระยะเวลาปีค.ศ. 1944 จนถึงค.ศ. 1958
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ คำว่า "การยึดครอง" ถูกใช้ในวงกว้างโดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตกและนักประวัติศาสตร์โรมาเนียยุคหลังการปฏิวัติ มีตัวอย่างดังนี้:
- "กองทัพโซเวียตได้ยึดครองโรมาเนียในปีค.ศ. 1944 และยังคงอยู่เป็นเวลามากกว่าทศวรรษ" โรเจอร์ อี. เคิร์ก, เมอร์เซีย ราเซียนู, Romania Versus the United States: Diplomacy of the Absurd, 1985-1989, p. 2. สำนักพิมพ์แม็คมีแลน, 1994, ISBN 0-312-12059-1.
- "การยึดครองของทหารโซเวียตได้มีการถอนกำลังออกไปในปีค.ศ. 1958" กอร์ดอน แอล. ร็อทท์แมน, รอน วอลสตัด, Warsaw Pact Ground Forces, p. 45. Osprey, 1987, ISBN 0-85045-730-0.
- "ประเทศต้องทนภายใต้การยึดครองของโซเวียตเป็นเวลายาวนาน (จนถึงค.ศ. 1958) และต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมากแก่โซเวียต" ลูเซียน โบเอีย, Romania: Borderland of Europe, p. 106. Reaktion Books, 2001, ISBN 1-86189-103-2.
- "โซเวียตได้เข้ายึดครองโรมาเนีย [นำมาซึ่ง]การแทรกแซงชีวิตทางการเมืองของโรมาเนียอย่างไม่จำกัด" Verona (Military Occupation and Diplomacy: Soviet Troops in Romania, 1944-1958), p. 31.
- "ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1958 ขึ้นอยู่กับการเตรียมการที่ซับซ้อนระหว่างชาวโรมาเนีย ชาวรัสเซียและชาวยูโกสลาฟ การยึดครองของกองทัพโซเวียตได้ถอนทัพออกไปจากโรมาเนีย" ทิสมาเนียนู, p. 25. "คอมมิวนิสต์โรมาเนียยังคงเป็นกลุ่มชายขอบที่ไม่น่าสนใจจนกระทั่งเกิดการยึดครองของกองทัพแดงในปีค.ศ. 1944" ibid., p. 59. "กองทัพโซเวียตยึดครองดินแดนโรมาเนียและ... การพัฒนาทางการเมืองภายใต้การยึดครองของโซเวียตที่เรียกว่า RCP ได้รับผลประโยชน์จากสถานการณ์แบบนี้ที่จะสร้างระบอบการปกครองระบอบสตาลินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าจะต้องใช้มนุษย์ไปก็ตาม" ibid., p. 91.
- "เป้าหมายหลักคือการยึดครองส่วนที่เหลือของโรมาเนียตั้งแต่ค.ศ. 1944 ถึงค.ศ. 1958... มีข้อสงสัยเล็กน้อยที่ว่าการยึดครองของโซเวียตได้ส่งผลกระทบเชิงทำลายล้างทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในโรมาเนีย" ออเรล เบราน์, review of The Red Army in Romania, ใน Slavic Review, Vol. 61, No. 1, 146-147, Spring 2002.
- "การถอนทหารของโซเวียตถือเป็นจุดสิ้นสุดการครอบครองทางทหารของประเทศที่เป็นระยะเวลา 14 ปี" Istoria României în date, p. 553. Editura Enciclopedică, Bucharest, 2003, ISBN 973-45-0432-0
- "วิสเนอร์ (ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ ได้เป็นพยานเห็นเหตุการณ์การยึดครองโรมาเนียของโซเวียตอย่างป่าเถื่อน)", เดวิด เอฟ. รัดเจอร์, "The origins of covert action" เก็บถาวร 2008-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Journal of Contemporary History, vol. 35 , no. 2 (2000), 249-262
- ฟลอรี สตาเนสคู, ดรากอส ซัมฟีเรสคู, Ocupaţia sovietică în România - Documente 1944-1946 (การยึดครองของโซเวียตในโรมาเนีย - เอกสารปี 1944-1946). Vremea, 1998, ISBN 973-9423-17-5.
- "ช่วงแรกของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในโรมาเนียปีค.ศ. 1944 - 1958 ถูกกำหนดโดยสเตฟาน ฟิชเชอร์ กาลาตี ในฐานะที่สูญเสียเอกลักษณ์ประจำชาติโดยเป็นการทำลายมรดก "ชนชั้นกลางนิยม"และการลดลงของอธิปไตยของชาติโรมาเนียภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต " คอนสแตนติน ออร์ดาชี, "The Anatomy of a Historical Conflict: Romanian-Hungarian Diplomatic Conflict in the 1980s เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", MA Thesis, มหาวิทยาลัยยุโรปกลาง, 1995-1996.
- ↑ Valeriu Rapeanu, "The Dictatorship Has Ended and along with It All Oppression" เก็บถาวร 2016-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (from the Proclamation to The Nation of King Michael I on the night of August 23, 1944), Curierul Naţional, August 7, 2004 (โรมาเนีย)
- ↑ "Background Note: Romania", กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา, สำนักงานกิจการยุโรปและยูเรเซีย, เดือนตุลาคม ค.ศ. 2007. ข้อความในสนธิสัญญา: "สนธิสัญญานี้ยังจำเป็นที่ต้องการค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมากโดยโรมาเนียชดใช้ให้กับสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งกองกำลังยึดครองจะถอนออกไปในปีค.ศ. 1958"
- ↑ Verona, pp. 49-51
- ↑ Constitutia Republicii Populare Romane 1952 (โรมาเนีย)
อ้างอิง
[แก้]- Romania - History "[From The Library of Congress]: This text comes from the Country Studies Program, formerly the [American] Army Area Handbook Program. The Country Studies Series presents a description and analysis of the historical setting and the social, economic, political, and national security systems and institutions of countries throughout the world." See sections "Armistice Negotiations and Soviet Occupation" and "Postwar Romania, 1944-85."
- (โรมาเนีย) Andrei Marga, "Deportarea Saşilor Transilvǎneni" เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (โรมาเนีย) Ion Alexandrescu, "1945-1956: Din «cleştele» German — în braţele «fratelui» de la răsărit. Societăţile mixte sovieto-române (Sovrom)" ("1945-1956: From the German «Tongs» — into the Arms of the Eastern «Brother». Mixed Soviet-Romanian Societies (Sovrom)"), in Dosarele Istoriei, 3/1996
- (โรมาเนีย) Florian Banu, "Uraniu românesc pentru «marele frate»" ("Romanian Uranium for the «Big Brother»"), in Dosarele Istoriei, 9/2005
- (โรมาเนีย) Adrian Cioroianu, Pe umerii lui Marx. O introducere în istoria comunismului românesc ("On the Shoulders of Marx. An Incursion into the History of Romanian Communism"), Editura Curtea Veche, Bucharest, 2005. ISBN 973-669-175-6
- (โรมาเนีย) Cristina Diac and Florin Mihai, "1939-1944: 23 august, Cronica unui dezastru" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, August 23, 2006.
- Stephen Fischer-Galati, "The New Rumania: from People's Democracy to Socialist Republic", MIT Press, Cambridge, MA, 1967. OCLC 243006
- Constantin Hlihor and Ioan Scurtu, "The Red Army in Romania", Center for Romanian Studies, Iaşi, Portland, OR, 2000. ISBN 973-98392-5-8
- Sergei Khrushchev, Nikita Khrushchev (2004). Memoirs of Nikita Khrushchev. University Park: Pennsylvania State University. ISBN 0-271-02332-5.
- (โรมาเนีย) Cornel Micu, "Armata Roşie ocupă Bucureştiul" เก็บถาวร 2006-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, October 26, 2005.
- Stephen D. Roper, Romania: The Unfinished Revolution, Routledge, London, 2000. ISBN 90-5823-027-9
- Vladimir Tismăneanu, Stalinism for All Seasons: A Political History of Romanian Communism, University of California Press, Berkeley, 2003, ISBN 0-520-23747-1
- Sergiu Verona, "Military Occupation and Diplomacy: Soviet Troops in Romania, 1944-1958", Duke University Press, Durham, NC, 1992, ISBN 0-8223-1171-2
- (โรมาเนีย) Teofil Oroian, "«Umbrela protectoare» a consilierilor sovietici. Armata Roşie în România (Prolonged and Defying Stationing of Soviet Troops in Romania)", in Dosarele Istoriei, 12/2003, pp. 22-28
- (โรมาเนีย) Teofil Oroian, "Scurtă «cronică» a consilierilor (Soviet Counsellors in the Romanian Army. A Brief Historical Perspective)", in Dosarele Istoriei, 12/2003, pp. 28-32
- (โรมาเนีย) Teofil Oroian, "Doctrină, metode şi procedee de luptă de inspiraţie sovietică (War Doctrine, Fighting Methods and Procedures of Soviet Inspiration)", in Dosarele Istoriei, 12/2003, pp. 32–33, 35-41
- (โรมาเนีย) Mircea Tănase, "Relaţii româno-sovietice sub cupola paraşutei (The Paratroopers and the Romanian-Soviet Relations)", in Dosarele Istoriei, 9/2005, pp. 11–16
- (โรมาเนีย) Liviu Ţăranu, "RPR-URSS: Relaţii economice în numele «internaţionalismului proletar» (Communist Romania and Soviet Union: Economic Relations in the 50's)", in Dosarele Istoriei, 9/2005, pp. 23–28
หนังสือเพิ่มเติม
[แก้]- Romania and peace conditions after the Second World War, on the website of Radio Romania International, January 31, 2005
- Review of Verona's book เก็บถาวร 2007-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by J. Calvitt Clarke III, at Jacksonville University.
- (โรมาเนีย) Paula Mihailov Chiciuc, "Practica sovietică a lui 'Veni, vidi, vici'" เก็บถาวร 2007-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, April 25, 2006
- "Paris-WWII Peace Conference-1946: Settling Romania's Western Frontiers" เก็บถาวร 2008-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, at the Honorary Consulate of Romania in Boston, has pictures of the Romanian delegation at the Paris Peace Conference