การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม
การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมยุคต้น หรือ การพิชิตดินแดนของอิสลามยุคต้น (อังกฤษ: Early Muslim conquests; อาหรับ: الْفُتُوحَاتُ الإسْلَامِيَّة อัลฟุตูฮาต อัลอิสลามียะฮ์)[4] หรือ การพิชิตดินแดนโดยชาวอาหรับ[5] เป็นการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมเริ่มขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของนบีมุฮัมมัดของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ท่านก่อตั้งอาณาจักรทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งขยายต่อเนื่องในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ในช่วงสูงสุดมีการปกครองของอิสลามที่จัดตั้งขึ้นในสามทวีป (เอเชีย, แอฟริกา และยุโรป) James Buchan นักประวัติศาสตร์ชาวสกอต รายงานว่า: "ในด้านความเร็วและขอบเขต การพิชิตของชาวอาหรับครั้งแรกนั้น เทียบเท่ากับการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราช และพวกเขาคงอยู่นานกว่า"[6]
ณ ช่วงสูงสุด ดินแดนที่พิชิตได้มีพื้นที่จากคาบสมุทรไอบีเรีย (ที่เทือกเขาพิเรนีส) ทางตะวันตกถึงอินเดีย (ที่สินธ์) ทางตะวันออก เขตการปกครองของมุสลิมครอบคลุมถึงซิซิลี แอฟริกาเหนือส่วนใหญ่ และตะวันออกกลาง กับคอเคซัสและเอเชียกลาง นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด กิบบอน เขียนไว้ใน ประวัติศาสตร์ของการเสื่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The History of the Decline and Fall of the Roman Empire) ว่า:
ภายใต้การปกครองของประมุขอุมัยยะฮ์องค์สุดท้าย จักรวรรดิอาหรับมีเนื้อที่ที่ใช้เวลาเดินสองร้อยวันตั้งแต่ตะวันออกไปจนถึงตะวันตก - ตั้งแต่ทาร์ทารี (Tartary) และอินเดียไปจนถึงฝั่งทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติก...
การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิซาเซเนียนและการสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สาเหตุของความสำเร็จของการขยายดินแดนเป็นการยากที่จะเข้าใจเพราะเอกสารที่มาจากสมัยที่ว่ามีหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย เฟร็ด แมกกรอว ดอนเนอร์ นักวิชาการชาวอเมริกัน เสนอแนะว่าลักษณะการก่อตั้งของรัฐในคาบสมุทรอาหรับด้วยความสอดคล้องกันทางอุดมการณ์ (เช่น ศาสนา) และการประสานสัมพันธ์ในการเดินทัพเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของมุสลิมในการก่อตั้งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ภายในระยะเวลาหนึ่งศตวรรษ การประมาณเนื้อที่ของจักรวรรดิกาหลิปมุสลิมเชื่อกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 13 ล้านตารางกิโลเมตร[7] นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าในช่วงนั้น จักรวรรดิซาเซเนียนและจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากการสู้รบระหว่างกันเป็นเวลาหลายทศวรรษอยู่แล้ว[8]
มีข้อเสนอแนะว่าชาวยิวและชาวคริสต์ในดินแดนซาเซเนียนกับไบแซนไทน์บางส่วนมีความไม่พึงพอใจและอาจจะยินดีที่มีมุสลิมเข้ามาปลดปล่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาของทั้งสองจักรวรรดิ[9] อย่างไรก็ตาม สมาพันธรัฐอาหรับคริสเตียนอย่างฆ็อสซานเดิมเป็นพันธมิตรกับไบแซนไทน์ และทั้งกองทัพซาเซเนียนกับไบแซนไทน์ต่อสู่กับกองทัพมุสลิมร่วมกันในยุทธการที่อัลฟิรอฎ[10][11] ส่วนในกรณีของอียิปต์ไบแซนไทน์, ปาเลสไตน์ และ ซีเรีย ดินแดนเหล่านี้เพิ่งตกไปเป็นของเปอร์เซียไม่กี่ปีก่อนการพิชิตของมุสลิม
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Nile Green (2016-12-12). Afghanistan's Islam: From Conversion to the Taliban. Cambridge University Press. p. 47. ISBN 9780520294134.
- ↑ 2.0 2.1 M. A. Sabhan (1979-03-08). The 'Abbāsid Revolution. Cambridge University Press. p. 11. ISBN 9780521295345.
- ↑ Pike, John. "Göktürk Empire". www.globalsecurity.org.
- ↑ Kaegi (1995), Donner (2014)
- ↑ Hoyland (2014), Kennedy (2007)
- ↑ Buchan, James (21 July 2007). "Children of empire". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). London. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2022-09-27.
- ↑ Blankinship, Khalid Yahya (1994). The End of the Jihad State, the Reign of Hisham Ibn 'Abd-al Malik and the collapse of the Umayyads. State University of New York Press. p. 37. ISBN 978-0-7914-1827-7.
- ↑ Gardner, Hall; Kobtzeff, Oleg, บ.ก. (2012). The Ashgate Research Companion to War: Origins and Prevention. Ashgate Publishing. pp. 208–209.
- ↑ Rosenwein, Barbara H. (2004). A Short History of the Middle Ages. Ontario. pp. 71–72. ISBN 978-1-55111-290-9.
- ↑ Jandora, John W. (1985). "The battle of the Yarmūk: A reconstruction". Journal of Asian History. 19 (1): 8–21. JSTOR 41930557.
- ↑ Grant, Reg G. (2011). "Yarmuk". 1001 Battles That Changed the Course of World History. p. 108. ISBN 978-0-7893-2233-3.
ข้อมูล
[แก้]- Donner, Fred M. (2014). The Early Islamic Conquests. Princeton University Press.
- Hoyland, Robert G. (2014). In God's Path: The Arab Conquests and the Creation of an Islamic Empire. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-991636-8.
- Kaegi, Walter E. (1995). Byzantium and the Early Islamic Conquests. Cambridge University Press. ISBN 9780521484558.
- Kennedy, Hugh (2007). The Great Arab Conquests: How the Spread of Islam Changed the World We Live In. Philadelphia, Pennsylvania: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-81740-3.