ข้ามไปเนื้อหา

การทูตสมุดเช็ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทูตสมุดเช็ค (อังกฤษ: checkbook diplomacy หรือ chequebook diplomacy) เป็นศัพท์ที่อธิบายนโยบายการต่างประเทศที่ใช้การให้เงินช่วยเหลือและเงินลงทุนระหว่างประเทศเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์เชิงบวกทางการทูต

สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน

[แก้]

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ศัพท์คำนี้ใช้อธิบายการแข่งขันทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพื่อแย่งชิงการได้รับการยอมรับความเป็นจีนที่แท้จริงจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งพบการทูตลักษณะนี้อย่างเข้มข้นในเขตแปซิฟิก[1]

อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชีย

[แก้]

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการใช้ศัพท์คำนี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการได้รับการยอมรับทางการทูตของรัฐในคอเคซัสใต้ที่แยกตัวออกมาจากประเทศจอร์เจีย อันได้แก่ อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชีย โดยประเทศนาอูรูให้การยอมรับทางการทูตกับทั้งสองประเทศโดยแลกกับเงินช่วยเหลือจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากประเทศรัสเซีย ขณะที่ประเทศตูวาลูก็ให้การยอมรับทางการทูตกับทั้งสองประเทศนี้เช่นกัน หลังจากที่มีการจัดส่งน้ำจืดจากอับคาเซีย และเชื่อได้ว่าน่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัสเซียอีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศวานูอาตูให้การรับรองทางการทูตกับอับคาเซีย (โดยไม่รับรองเซาท์ออสซีเชีย) หลังจากที่คาดว่าได้รับเงินช่วยเหลือจากรัสเซียในจำนวนที่รัสเซียให้แก่นาอูรู ปัจจุบันทั้งตูวาลูและวานูอาตูต่างถอนการรับรองทางการทูตดังกล่าว แล้วหันกลับไปสานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจอร์เจีย โดยนาอูรูเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอย่างน้อยประเทศใดประเทศหนึ่ง[2]

อื่น ๆ

[แก้]

มีการใช้ศัพท์คำนี้ในการอธิบายการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศของประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่นระหว่างและหลังจากสงครามอ่าว ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ทำให้ทั้งสองประเทศไม่สามารถส่งกองกำลังแด่พันธมิตรได้ เพราะรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศที่ร่างขึ้นภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติ (มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นและมาตรา 87a ของรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) โดยทั้งสองประเทศอาสาที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากในการทำสงคราม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Young, Audrey (October 19, 2007). "Chequebooks brought out at Pacific forum". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ September 23, 2011.
  2. Bullough, Oliver (2014-04-02). "This Tiny Pacific Island Nation Just Gave Russia a Big Bruise". New Republic. สืบค้นเมื่อ 2016-02-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]