ข้ามไปเนื้อหา

กัณวีร์ สืบแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัณวีร์ สืบแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 220 วัน)
เลขาธิการพรรคเป็นธรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 มกราคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 333 วัน)
ก่อนหน้าสรยุทธ เพ็ชรตระกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (48 ปี)
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยสร้างไทย (2564–2566)
เป็นธรรม (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจุนโก๊ะ โนมูระ
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กัณวีร์ สืบแสง ต.ช. ต.ม. (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น นล[1] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม[2]

ประวัติ

[แก้]

กัณวีร์ มีชื่อเล่นว่า นล หรือ เอ๋ จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยออเรกอน

กัณวีร์สมรสกับจุนโก๊ะ โนมูระ หญิงชาวญี่ปุ่น ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่โครงการสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ มีบุตรด้วยกันสองคน[3][4]

ทั้งนี้กัณวีร์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายแพทย์ เจริญ สืบแสง กับจรูญ สืบแสง ประการใด หากแต่มีนามสกุลที่พ้องกัน[5][6][7]

การทำงาน

[แก้]

กัณวีร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ผู้ลี้ภัย ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เคยทำงานสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ปี 2546-2552 ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเตรียมพร้อม สำนักความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ (จังหวัดชายแดนภาคใต้ การบริหารวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน) นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานภาคสนามใน 8 ประเทศ เช่น ประเทศไทย (แม่ฮ่องสอน), เมียนมา, บังกลาเทศ, ซูดาน, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ปี 2552-2564

ต่อมาเมื่อปี 2565 กัณวีร์เริ่มต้นงานการเมืองกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ได้รับการวางตัวให้เป็นว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตสวนหลวง-ประเวศ กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่ได้ลงสมัคร เขาได้ตัดสินใจลาออกในปีเดียวกัน ก่อนที่จะลงมาทำงานภาคประชาชนเป็นประธานมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ[8]

ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับ "พรรคเป็นธรรม" และในปี 2566 เขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค[9] โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเป็นธรรมได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ นายกัณวีร์ และได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกล ให้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล[10][11]

23 มีนาคม พ.ศ. 2567 มีการจัดการประชุมกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพรัฐสภา ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กัณวีร์ได้รับการเสนอชื่อจากพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะตัวแทนสมาชิกรัฐสภาจากประเทศไทย ให้ดำรงตำแหน่งในกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และได้รับเลือกจากที่ประชุมให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดประวัติกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.คนเดียวพรรคเป็นธรรม ก้าวไกลดึงร่วมรัฐบาล
  2. ประวัติ "กัณวีร์ สืบแสง" ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ หนึ่งเดียวของ "พรรคเป็นธรรม"
  3. "เปิดกรุ "กัณวีร์" รวย 26.4 ล้าน สะสมปืน-นาฬิกาโรเล็กซ์". ผู้จัดการออนไลน์. 27 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เปิดเซฟ 'กัณวีร์' รวย 26 ล้าน ไร้หนี้ แต่ยังผ่อนไอแพด ระบุชัด มีลูกเล็ก 2 คน". มติชนออนไลน์. 27 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ย้อนปม "กัณวีร์" ถูกคุ้ย อ้างเป็นหลาน "หมอเจริญ เพื่อนหะยีสุหลง"". อิศรา. 21 พฤษภาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""กัณวีร์"ยันไม่เคยแอบอ้าง"ตระกูลสืบแสง"เพื่อผลประโยชน์การเมือง". ผู้จัดการออนไลน์. 12 มิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ""เป็นธรรม - กัณวีร์" อ้างเป็นผู้แทนชาวปาตานี...ได้กี่คะแนน?". อิศรา. 25 มิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. รู้จัก ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ปาร์ตี้ลิสต์หนึ่งเดียวจากพรรคเป็นธรรม ที่พิธาชวนร่วมรัฐบาลก้าวไกล
  9. พรรคเป็นธรรมประชุม กก.บห. เลือก ‘ปิติพงศ์ เต็มเจริญ’ นั่ง หน.พรรค มั่นใจได้ 15 ที่นั่ง
  10. พรรคเป็นธรรมคือใคร ทำไม “พิธา” อยากจับมือจัดตั้งรัฐบาลด้วย
  11. ทำความรู้จัก ‘พรรคเป็นธรรม’ ส่องความเป็นมาที่ทำ ‘พิธา’ ชวนร่วมรัฐบาล!
  12. "'กัณวีร์ สืบแสง' นั่ง กมธ.รณรงค์ส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หลังพิธาเสนอชื่อให้ที่ประชุม IPU โหวต". THE STANDARD. 2024-03-24.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๗, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓