กองทัพมาเลเซีย
กองทัพมาเลเซีย | |
---|---|
Angkatan Tentera Malaysia | |
ตราประจำกองทัพมาเลเซีย | |
ธงประจำกองทัพมาเลเซีย | |
ก่อตั้ง | 16 กันยายน พ.ศ. 2506 |
เหล่า | กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ |
กองบัญชาการ | กัวลาลัมเปอร์ |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการสูงสุด | ยังดีเปอร์ตวนอากง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | ดร. อาฮ์หมัด ซาอิด ฮามิดี |
ผู้บัญชาการกองทัพ | พลเอก Tan Sri Dato' Sri Zulkefli Mohd. Zin |
รายจ่าย | |
งบประมาณ | 3.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ |
ร้อยละต่อจีดีพี | 1.9% (2011) |
อุตสาหกรรม | |
แหล่งผลิตในประเทศ | Airod SME Ordnance Malaysian Marine and Heavy Engineering Malaysian International Shipping Corporation Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd |
แหล่งผลิตนอกประเทศ | สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวีเดน แคนาดา โปแลนด์ แอฟริกาใต้ จีน เกาหลีใต้ สเปน ตุรกี บราซิล คิวบา (Rarely) |
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
ประวัติ | ประวัติศาสตร์ทางทหารของมาเลเซีย |
ยศ | ยศทหาร เครื่องอิสริยาภรณ์ |
กองทัพมาเลเซีย (อังกฤษ: Malaysian Armed Forces มลายู: Angkatan Tentera Malaysia-ATM) เป็นกองทัพของสหพันธรัฐมาเลเซีย สังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยสามเหล่าทัพคือ กองทัพบก, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ และ กองกำลังกึ่งทหาร
ประวัติ
[แก้]กองทัพของมาเลเซียเกิดขึ้นจากการก่อตัวของกองกำลังท้องถิ่น ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างที่สหพันธรัฐมาลายาและสิงคโปร์ยังเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ก่อนที่ต่อมาได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2500 โดยมีบทบาทคือการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติรวมถึงภัยคุกคามต่างๆ
ช่วงการปลดแอก
[แก้]ในช่วงของการปลดแอกในปี พ.ศ. 2500 กองทัพมาลายาและกองกำลังของเครือจักรภพแห่งชาติได้ถูกว่าจ้างเป็นการฉุกเฉิน จากการก่อความไม่สงบของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดย ชิน เผง หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กลุ่มของคอมมิวนิสต์ในมลายาขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากจีน จากการเป็นปลดแอกของมาลายาทำให้พื้นที่ในการก่อความไม่สงบลดลง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2503 ชิน เผง จึงได้สั่งยุติการสู้รบ
3 ปีภายหลังวิกฤติการณ์มาลายา มาลายา, สิงคโปร์, ซาราวัก และ บอร์เนียวเหนือ ได้ถูกรวมกันเป็น "สหพันธรัฐมาเลเซีย" ซึ่งถูกต่อต้านทางการทหารอย่างยิ่งจากนายซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในขณะนั้น การเผชิญหน้าได้เกิดขึ้นในป่าของเกาะบอร์เนียว แต่ก็ยังถือเป็นความขัดแย้งระดับต่ำ ต่อมากองทัพมาเลเซียได้รับความช่วยเหลืออีกครั้งจากเครือจักรภพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2509 ซึ่งซูการ์โนถูกโค่นล้มและความขัดแย้งถือเป็นที่สิ้นสุด