ข้ามไปเนื้อหา

กลีเซอ 581 ซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Gliese 581 c
ดาวเคราะห์นอกระบบ รายชื่อ

ภาพในจินตนาการของกลีเซอ 581 ซี
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์ Gliese 581
กลุ่มดาว Libra
ไรต์แอสเซนชัน (α) 15h 19m 26s
เดคลิเนชัน (δ) −07° 43′ 20″
ความส่องสว่างปรากฏ (mV) 10.55
ระยะห่าง20.3 ± 0.3 ly
(6.2 ± 0.1 pc)
ชนิดสเปกตรัม M3V
มวล (m) 0.31 M
รัศมี (r) 0.29 R
อุณหภูมิ (T) 3480 ± 48 K
ความเป็นโลหะ [Fe/H] -0.33 ± 0.12
อายุ 7 – 11 พันล้านปี
องค์ประกอบวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง JD 2451409.762[1]
กึ่งแกนเอก(a) 0.072993 ± 0.000022[1] AU
ความเยื้องศูนย์กลาง (e) 0[1]
คาบการโคจร(P)12.9191 ± 0.0058[1] d
(0.03537 y)
มุมกวาดเฉลี่ย (M) 33 ± 19[1]°
ครึ่งแอมพลิจูด (K) 3.30 ± 0.19[1] m/s
ลักษณะทางกายภาพ
มวลอย่างต่ำ(m sin i)5.6 ± 0.3[1] M
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ April 4, 2007
April 24, 2007 (announced)
ค้นพบโดย Stéphane Udry et al.
วิธีตรวจจับ Radial velocity
สถานที่ที่ค้นพบ ชิลี La Silla Observatory
สถานะการค้นพบ Published
อ้างอิงกับฐานข้อมูลอื่น
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
ข้อมูล
ซิมแบดข้อมูล

กลีเซอ 581 ซี (อังกฤษ: Gliese 581 c) หรือ Gl 581 c เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 581 ในกลุ่มดาวคันชั่ง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20.5 ปีแสง ชื่อกลีเซอ 581 เป็นชื่อดาวฤกษ์ในบัญชีดาวของ วิลเฮล์ม กลีเซอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน

กายภาพ

[แก้]

นักดาราศาสตร์คะเนกันว่ามันมีมวลสารมากกว่าโลกประมาณห้าเท่า เท่าที่สำรวจ กลีเซอ 581 ซี มีรัศมีใหญ่กว่าโลกน่าจะประมาณ 50% น่าจะมีแรงโน้มถ่วงบนพื้นดาวเคราะห์มากกว่าบนโลกประมาณ 2.2 เท่า ตอนแรก ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกสันนิษฐานว่าอยู่ในเขตอาศัยได้ แต่ ณ ตอนนี้ได้คิดว่าดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะคล้ายคลึงกับดาวศุกร์มากกว่า

วงโคจร

[แก้]

กลีเซอ 581 ซี มีคาบการโคจร (หรือ "ปี" หนึ่งของดาวเคราะห์) ประมาณสิบสามวันของโลก วงโคจรของมันใกล้ดาวฤกษ์ที่ศูนย์กลางมากกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ประมาณ 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะทางประมาณ 11 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 150 ล้านกิโลเมตร

การค้นพบ

[แก้]

ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยทีมของ สตีเฟน ยูดรี (Stéphane Udry) ของที่ศูนย์สังเกตการณ์เจนีวา ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้ประกาศการค้นพบในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูง (HARPS) ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ซึ่งติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อีเอสโอขนาด 3.6 เมตร ในหอดูดาวลาซิลลา ประเทศชิลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Vogt, S. S.; และคณะ (2010). "The Lick-Carnegie Exoplanet Survey: A 3.1 M_Earth Planet in the Habitable Zone of the Nearby M3V Star Gliese 581". arXiv:1009.5733 [astro-ph.EP].