ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยาง
ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยาง 평양 국제비행장 | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารผู้โดยสาร 2 | |||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลเกาหลีเหนือ | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | Ryongbung-ri เขตซูนัน เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ | ||||||||||||||
ฐานการบิน | แอร์โครยอ | ||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 34 เมตร / 111 ฟุต | ||||||||||||||
พิกัด | 39°13′26″N 125°40′12″E / 39.22389°N 125.67000°E | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ข้อมูล: U.S. DoD FLIP[1] |
ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยาง | |
โชซ็อนกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Pyeongyang Gukje Bihaengjang |
เอ็มอาร์ | P'yŏngyang Kukche Pihaengchang |
ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยาง (เกาหลี: 평양 국제비행장; ฮันจา: 平壤國際飛行場; อาร์อาร์: Pyeongyang Gukje Bihaengjang; เอ็มอาร์: P'yŏngyang Kukche Pihaengchang) (IATA: FNJ, ICAO: ZKPY) มีอีกชื่อว่า ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน (เกาหลี: 평양 순안 국제공항)[2] เป็นท่าอากาศยานนานาชาติหลักที่ให้บริการในเขตกรุงเปียงยาง เมืองหลวงเกาหลีเหนือ ตั้งอยู่ในเขตซูนัน เป็นฐานการบินหลักของสายการบินประจำชาติ แอร์โครยอ ท่าอากาศยานปิดบริหารในระดับนานาชาติเมื่อ ค.ศ. 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3] และเปิดบริการใหม่ใน ค.ศ. 2023 ด้วยการบริการของแอร์โครยอระหว่างปักกิ่งกับวลาดีวอสตอค[4]
ประวัติ
การเปิดใช้งานช่วงแรก ๆ
ท่าอากาศยานเปียงยางแห่งแรก ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแทดง แต่ถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง จึงสร้างท่าอากาศยานใหม่ ซึ่งก็คือท่าอากาศยานซูนัน ในย่านชานเมืองขึ้น
ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ เรจินัลด์ ทอมป์สัน ได้บันทึกว่า เป็นท่าอากาศยานที่วุ่นวายมาก เนื่องจากมีเครื่องบินของกองทัพสหรัฐอเมริกาคอยขนส่งเสบียงและอาวุธในช่วงสงครามระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ต่อมาท่าอากาศยานได้ประสบมหาอุทกภัย เนื่องจากอเมริการะเบิดเขื่อนท็อกซันในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ทำให้ต้องมีการฟื้นฟูท่าอากาศยานใหม่
การพัฒนาการในคริสต์ทศวรรษ 2000
ในปี ค.ศ. 2000 สายการบินแอโรฟลอต ได้ยกเลิกเที่ยวบินจากมอสโกและคาบารอฟสก์ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 สายการบินไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ได้เปิดเที่ยวบินจากปักกิ่งเฉพาะฤดูท่องเที่ยวเท่านั้น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 แอร์ไชนา ได้กลับมาเปิดเที่ยวบินไปปักกิ่ง สัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนโคเรียนแอร์ และเอเชียนาแอร์ไลน์ ก็ได้เปิดเที่ยวบินจากโซล-อินช็อนและเมืองยังยัง แต่ได้ยกเลิกในภายหลัง
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ได้เปิดใช้งาน ตั้งอยู่ด้านข้างอาคารเก่า ซึ่งทันสมัยกว่าอาคารเก่ามาก โดยอาคารใหม่นี้ใช้เป็นอาคารศุลกากร และเป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ส่วนอาคารเก่าได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 2012[5]
สิ่งอำนวยความสะดวก
อาคารผู้โดยสาร
- อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
- อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
อาคารขาเข้า
- จุดรับกระเป๋าบนสายพาน และจุดรับฝากโทรศัพท์มือถือ
- ร้านขายดอกไม้
- ธนาคารเกาหลี (เปิดเวลา 9-18 นาฬิกา)
- สถานบันเทิง (เปิดเวลา 9-18 นาฬิกา)
- เคาน์เตอร์ผู้โดยสารขาเข้า
- พื้นที่ศุลกากร และเอ็กซเรย์
อาคารขาออก
- ร้านหนังสือ (เปิดเวลา 10 นาฬิกา)
- พื้นที่ให้ข้อมูลข่าวสาร
- ร้านสินค้าปลอดภาษี
- ร้านขายของที่ระลึก
- ภัตตาคาร (เปิดเวลา 9-18 นาฬิกา)
- สถานบันเทิง (เปิดเวลา 9-18 นาฬิกา)
ผู้โดยสารระหว่างประเทศต้องจ่ายค่าภาษีท่าอากาศยาน 10 ยูโร
ระบบขนส่งสาธารณะ
มีรถแท็กซี่วิ่งระหว่างอาคารผู้โดยสารกับเปียงยาง นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางให้บริการอีกด้วย
ท่าอากาศยาน เปิดทำการเวลา 6-22 นาฬิกาในฤดูร้อน และ 7-21 นาฬิกาในฤดูหนาว
ทางวิ่งและลานจอด
ท่าอากาศยานมีทางวิ่ง 2 ทาง ได้แก่ 01/19 (ฝั่งเหนือ) และ 17/35 (ฝั่งใต้) ระหว่างที่มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ฝั่งใต้ เครื่องจะจอดที่ทางวิ่งฝั่งเหนือเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ทางวิ่งหลัก (01/19) จะมีระบบตรวจจับเครื่องบินที่จะลงจอด
ท่าอากาศยานสามารถรับเครื่องบินได้พร้อมกันถึง 4 ลำ มีลานจอดเครื่องบิน 17 ที่ และยังมีอาคารเก็บเครื่องบินอีก 2 แห่ง
สายการบินและจุดหมายปลายทาง
สำหรับผู้โดยสาร
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
แอร์ไชนา | ปักกิ่ง-แคพิทอล | ระหว่างประเทศ |
แอร์โครยอ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, ปักกิ่ง-แคพิทอล, คาบารอฟสก์, กัวลาลัมเปอร์, มอสโก-เชเรเมเตียโว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เฉิ่นหยาง, วลาดีวอสตอค, หยานจี๋[6][7][8] เฉพาะฤดูกาล: ต้าเหลียน, ฮาร์บิน, คูเวตซิตี, สิงคโปร์-จางี |
ระหว่างประเทศ |
แอร์โครยอ | ช็องจิน, แฮจู, ท็อกซัน, แคซ็อง, คังกเย, คิลชู, นัมโพ, ซัมชิย็อน, ชินอึยจู, วันซาน | ในประเทศ |
มองโกเลียแอร์ไลน์ | ชาร์เตอร์: อูลานบาตาร์[9] | ระหว่างประเทศ |
ขนส่งสินค้า
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง
|
---|---|
แอร์โครยอ | ปักกิ่ง-แคพิทอล, ช็องจิน, แฮจู, ฮัมฮึง, แคซ็อง, คังกเย, คิลชู, มอสโก-เชเรเมเตียโว, นัมโพ, ซัมชิย็อน, ชินอึยจู, เฉิ่นหยาง, วลาดีวอสตอค, วันซาน |
สมุดภาพ
-
อดีตอาคารผู้โดดสาร (2006)
-
ห้องรับรอง ชั้นธุรกิจ
-
ร้านค้าปลอดภาษีและที่นั่ง, เขตการบิน
-
ข้างในอาคารโดยสารในปัจจุบัน
-
แอร์โครยอ ตูโปเลฟ ตู-204-300 (P-632) ที่อาคารผู้โดยสาร 2 ของเปียงยางซูนัน
-
Pyongyang Airport Terminal 2
-
ร้านอาหารและตารางการออกเดินทาง
-
ข้างในอาคารผู้โดดสารในอดีต
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ DoD Flight Information Publication (Enroute) – Supplement Pacific, Australasia and Antarctica. St. Louis, Missouri: National Geospatial-Intelligence Agency. 2021. pp. B-271–B-272.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwad
- ↑ "Satellite images show 'unusual' level of aircraft maintenance in N. Korea". The Economic Times. 2023-05-24. ISSN 0013-0389. สืบค้นเมื่อ 2023-07-16.
- ↑ "Air Koryo plane lands in China, first commercial North Korean flight in 3 years". South China Morning Post. 2023-08-22.
- ↑ "The Koryo Tours Blog". koryogroup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ theinnoplex.com - Air Koryo introduces Yanji to Pyonggyang service[ลิงก์เสีย]
- ↑ "China – Air Koryo introduces Yanji to Pyongyang service – Twikle". twikle.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ "DPRK Independent Tours – YOUNG PIONƎƎЯ TOUЯS". youngpioneertours.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-10. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ "MIAT Mongolian Airlines Launches North Korea Service in October 2013 :: Routesonline". routesonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-28. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sunan International Airport
- 360° virtual tour of the airport – DPRK 360 photography project
- Accident history for FNJ at Aviation Safety Network