จักรพรรดิซันโจ
จักรพรรดิซันโจ 三条天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์โดยคาโน สึเนโนบุ, ยุคเอโดะ | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1011 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1016 | ||||
ราชาภิเษก | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1011 | ||||
ก่อนหน้า | อิจิโจ | ||||
ถัดไป | โกะ-อิจิโจ | ||||
ประสูติ | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 976 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1017 ซันโจอิง (三条院) เฮอังเกียว (เกียวโต) | (41 ปี)||||
ฝังพระศพ | คิตายามะ โนะ มิซาซางิ (北山陵; เกียวโต) | ||||
ชายา | |||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเรเซ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ โชชิ [ja] |
จักรพรรดิซันโจ (ญี่ปุ่น: 三条天皇; โรมาจิ: Sanjō-tennō; 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 976 – 5 มิถุนายน ค.ศ. 1017) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 67[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]
รัชสมัยของซันโจอยู่ในช่วง ค.ศ. 1011 ถึง 1016[3]
พระราชประวัติ
ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ซันโจมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า อิยาซาดะ-ชินโน[5] พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในพระนาม ซูเกซาดะ-ชินโน[6] และโอกิซาดะ-ชินโน (居貞親王)[7]
อิยาซาดะเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิเรเซ[6] พระองค์เป็นพระอนุชาร่วมพระราชยิดาของจักรพรรดิคาซัง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์แรกของเรเซ[8] พระราชมารดาของอิยาซาดะคือฟูจิวาระ โนะ โชชิ (藤原超子; ?-982) ธิดาในเซ็ชโช ฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ โชชิได้รับการเลื่อนขั้นหลังสวรรคตเป็น พระพันปีหลวง (Zō-Kōtaigō, 贈皇太后)[9]
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของซันโจ
หลังพระราชมารดาสวรรคตตอนพระชนมายุ 7 พรรษา ฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ พระอัยกา (ตา) ได้อุปการะพระองค์ที่คฤหาสน์ของคาเนอิเอะ
หลังจากนั้นในวันที่ 16 เดือน 7 ปี คันนะ ที่ 1 ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 986 เจ้าชายอิยะซะดะได้รับสถาปนาให้เป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์ในรัชสมัย จักรพรรดิอิจิโจ จักรพรรดิองค์ที่ 66 ขณะมีพระชนมายุเพียง 10 พรรษา
ในวันที่ 13 เดือน 6 ปี คันโค ที่ 8 ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1011 จักรพรรดิอิชิโจได้สละราชบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอิยะซะดะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิซันโจ ขณะพระชนมายุได้ 35 พรรษาหลังจากนั้นไม่นานได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง และได้มีการสถาปนาเจ้าชายอัตสึฮิระพระราชโอรสองค์ใหญ่ในอดีตจักรพรรดิอิจิโจเป็นรัชทายาท
ใน ค.ศ. 1012 จักรพรรดิซันโจได้เสกสมรสกับ ฟุจิวะระ โนะ เคนชิ บุตรสาวคนที่ 2 ของ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ผู้เป็นพระมาตุลา (น้า) ต่อมาจักรพรรดินีเคนชิองค์นี้ได้ประสูติพระธิดาคือ เจ้าหญิงเทชิ ซึ่งต่อมาได้เป็นจักรพรรดินีใน จักรพรรดิโกะ-ซุซะกุ
จากนั้นใน ค.ศ. 1016 จักรพรรดิซันโจพระประชวรหนักถึงขั้นพระเนตรมืดบอดจึงสละราชบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอัตสึฮิระที่รัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-อิจิโจ เมื่อวันที่ 29 เดือน 1 ปี โชวะ ที่ 5 ตรงกับวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1016 แต่มีเงื่อนไขกับมิชินะงะผู้เป็นเซ็สโซว่าจะต้องสถาปนาเจ้าชายอัตสึอะกิระผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ให้เป็นรัชทายาท
อดีตจักรพรรดิซันโจได้เสด็จออกผนวชเมื่อวันที่ 29 เดือน 4 ปี คันนิง ที่ 1 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1017 แต่หลังจากออกผนวชได้ไม่นานก็พระประชวรหนักและเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เดือน 5 ปี คันนิง ที่ 1 ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1017 ขณะพระชนมายุเพียง 41 พรรษา
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
- จักรพรรดินี (โคโง): ฟูจิวาระ โนะ เซชิ (藤原娍子) ธิดาคนแรกของฟูจิวาระ โนะ นาริโตกิ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายอัตสึอากิระ (敦明親王; 994–1051) มกุฎราชกุมารของจักรพรรดิโกะ-อิจิโจ; ภายหลังเป็น โคะ-อิจิโจอิง (小一条院)
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายอัตสึโนริ (敦儀親王; 997–1054)
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายอัตสึฮิระ (敦平親王; 999–1049)
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงมาซาโกะ (当子内親王; 1001–1023) ไซโอคนที่ 37 แห่งศาลเจ้าอิเซะ (1012–1016)
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงชิชิ (ไม่ทราบรูปสะกดจริง) (禔子内親王; 1003–1048) สมรสกับฟูจิวาระ โนะ โนริมิจิ
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายโมโรอากิระ (師明親王; 1005–1085) ภายหลังเป็นเจ้าชายนักบวชเซชิง (性信入道親王) หัวหน้านักบวชคนที่ 2 แห่งวัดนินนาจิ
- จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ เค็นชิ (藤原妍子) ธิดาคนที่ 2 ของฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงเทชิ (禎子内親王) ภายหลังเป็นพระพันปีหลวงโยเมมงอิง (陽明門院) จักรพรรดินี (โคโง) ในจักรพรรดิโกะ-ซูซากุ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ ยาซูโกะ (藤原綏子; 974–1004) ธิดาคนที่ 3 ในฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ เก็นชิ (藤原原子; ป. 980–1002) ธิดาคนที่ 2 ของฟูจิวาระ โนะ มิจิตากะ
พระราชพงศาวลี
พงศาวลีของจักรพรรดิซันโจ[10] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 三条天皇 (67)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 74.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 307; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 195; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 154-155., p. 154, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Brown, p. 307; Varley, p. 195.
- ↑ 6.0 6.1 Titsingh, p. 154.
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 8.
- ↑ Brown, pp. 300–307.
- ↑ Brown, p. 307.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
ข้อมูล
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842