ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร

พิกัด: 17°12′40″N 102°26′48″E / 17.21111°N 102.44667°E / 17.21111; 102.44667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
Nongbua Pittayakarn School
ที่ตั้ง
แผนที่
273/1 หมู่ 10 คุ้มบ้านศรีสง่าเมือง
ถนนยุทธศาสตร์อุดรธานี-เลย ตำบลลำภู

39000
พิกัด17°12′40″N 102°26′48″E / 17.21111°N 102.44667°E / 17.21111; 102.44667
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัด
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์ ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต
(ปัญญาเป็นเครื่องนำทางชีวิตในโลก)
สถาปนา3 เมษายน 2514 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย-หนองบัวลำภู
สหวิทยาเขตบัวบาน
ผู้อำนวยการดร.สุขเกษม พาพินิจ
ครู/อาจารย์218 คน
จำนวนนักเรียน3,602คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
ประเทศเกาหลี ภาษาเกาหลี
สี  ชมพู
  ฟ้า
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร (อังกฤษ: Nongbua Pittayakarn School; อักษรย่อ: น.พ. — NPK) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดหนองบัวลำภูเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สหวิทยาเขตบัวบาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดหนองบัวลำภู[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันมีอายุกว่า 53 ปี[ต้องการอ้างอิง]

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ที่มีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นได้แก่ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ โรงเรียนนาวังศึกษาวิช โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์และโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร และยังเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร[2]

ประวัติโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่คุ้มศรีสง่าเมือง ถนนยุทธศาสตร์ อุดรธานี-เลย เขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2514 รับสมัครนักเรียนสหศึกษาเปิดสอนระดับมัธยมศึกษา ในปีแรก ๆ อาศัยเรียนที่โรงเรียนหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในสมัยนั้น อาคารถาวรหลังแรกของโรงเรียนสร้างขึ้นเมื่อปี 2516 (ปัจจุบัน คือ อาคาร 3) เป็นอาคารแบบ 216 โดยในครั้งแรกนั้นมีเฉพาะส่วนกลางของอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน มีเนื้อที่ทั้งหมด 34 ไร่ ครู-อาจารย์ 3 คน นักเรียน 90 คน ต่อมาภายหลังได้ต่อเติมเต็มรูปแบบและมีอาคารหลังอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา[3]

ในปีการศึกษา 2518 กระทรวงศึกษาธิการได้สั่งยุบและรวมโรงเรียนหนองบัวลำภู สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ทำให้เนื้อที่เพิ่มเป็น 59 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 มีครูอาจารย์ รวม 19 คน นักการภารโรง 2 คน โรงเรียนได้เข้าโครงการ คมช รุ่นที่ 13 ในปี พ.ศ. 2519 และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2521 และปี 2535 ได้เข้าร่วม โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา

ก่อนการจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูมีฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เมื่อมีพระราชบัญญัติประกาศจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารจึงมีฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดหนองบัวลำภู

ในปัจจุบันโรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเปิดสอน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 99 ห้องเรียน เป็นนักเรียนประมาณ 3,602 คน ลูกจ้างประจำ 12 คน ครูอาจารย์ประมาณ 218 คน ภายใต้การนำของท่านผู้อำนวยการ ดร.สุขเกษม พาพินิจ

ในช่วง นายบุญมา ภูเงิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงเรียนลำดับที่ 1 ของจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวัดจากผลการทดสอบระดับชาติโดยใช้ค่าเฉลี่ยของโรงเรียนเป็นมาตรฐาน [4]

ข้อมูลทั่วไป

ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 15:18:17/17:16:16 รวม 99 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 218 คน [5] นักเรียนประมาณ 3,602 คน[2] มีอาคารเรียนถาวร 6 หลัง(ไม่รวมอาคารปทุมมาลย์ภิรมย์ 1 อาคารอำนวยการ) สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้

  • 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
  • 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้
    • 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
      • 1) หลักสูตรโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในชั้น ม.1 - ม.6
    • 3.2 โครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย
      • 1) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 2) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 3) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SC) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 4) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SM) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 5) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program : ICE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 6) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)

ปัจจุบัน โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ร่วมกับ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ โรงเรียนนาวังศึกษาวิชและโรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ และยังเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร

สถานที่ภายในโรงเรียน

หมายเลขอาคาร ชื่ออาคาร ห้องเรียน
1 อาคารปทุมมาลย์ภิรมย์ (อาคารอำนวยการ)
  • สำนักผู้อำนวยการ
  • ห้องการเงิน
  • ห้องประชุมบัวบรรพต
  • ห้องพัสดุ
2 อาคารอุดมสัตบงกช
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • ห้องวิชาการ
  • ห้องแนะแนว
  • ห้องเรียนสีเขียว
  • ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3 อาคารบรรพตโกมล
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ห้องอาเซียน
  • ห้อง E-Classroom สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
4 อาคารวิมลจงกลนี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ห้องวิทยาศาสตร์ 1-2-3
  • ห้องปฏิบัติการชีววิทยา 1-2
  • ห้องธรณีวิทยา/ดาราศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการเคมี 1-2
  • ศูนย์ AFS Thailand
5 อาคารมณีสัตตบุษย์
  • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1
  • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2
  • ห้องประชุมนครเขื่อนขันธ์
  • ห้องสมุด
  • ห้องมินิเธียเตอร์กรุงไทยสานฝัน
6 อาคารพิสุทธิ์อุบล
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีไทย-นาฏศิลป์)
  • ห้องเรียน English integrated study Classroom
  • ห้อง To Be Number One
  • ห้องประชุมกาบแก้วบัวบาน
7 อาคารสุคนธ์บุญฑริก
  • ห้องเรียนMEP
  • ห้องเรียนNPIE
  • ห้องเรียนEIS
  • ห้องเรียนG-MATH
  • ห้องเรียนSMTE
  • ห้องเรียนG-SCIENCE
  • ห้องเรียนIJCK
โรงฝึกงานอุตสาหกรรม
  • ห้องเรียน Independent Study (IS)
อาคารศิลปะ
  • ห้องทัศนศิลป์
  • ห้องดนตรี
โรงฝึกงานอุตสาหกรรมและคหกรรม
  • ห้องโภชนาการ
ห้องกิจการนักเรียน
  • ห้องกิจการนักเรียน
  • คลินิกเสมารักษ์
  • ศูนย์ครอบครัวพอเพียง
  • ห้องสภานักเรียน
  • ห้องประชาสัมพันธ์
  • ห้องโรงฝึกงานอุตสาหกรรม
อาคารพละศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพละศึกษา
  • ลานกีฬาปิงปอง
  • ห้องเรียนสุขศึกษา
ห้องประชุมศรีบัวพิทย์
  • โรงยิมพลศึกษา
อาคารหอประชุมใหม่
  • โรงยิมพลศึกษา
  • สนามบาสเกตบอล
โรงอาหาร
  • โรงอาหาร 1
พยาบาล
  • ห้องพยาบาล

แผนการเรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)
  • ห้องเรียน English integrated study (EIS)
  • ห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ (Genius Math Program : G-MATH)
  • ห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ (Genius Science Program : G-SCIENCE)
  • ห้องเรียนอัจฉริยภาพทางภาษาอังกฤษ (Nongbuapit Intensive English : NPIE)
  • ห้องเรียน Mini English Program (MEP)
  • ห้องเรียนความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา
  • แผนการเรียนปกติ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)
  • ห้องเรียน English integrated study (EIS)
  • ห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ (Genius Math Program : G-MATH)
  • ห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ (Genius Science Program : G-SCIENCE)
  • ห้องเรียนพิเศษภาษาญี่ปุ่น จีน เกาหลี แบบเข้ม (Intensive Japanese Chinese Korean Program : IJCK)
  • ห้องเรียนความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา
  • ห้องเรียนพิเศษเพชรบัวพิทย์ (Diamond NPK Classroom) เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทย์-คณิต)
  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต
  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต (นิติ -รัฐศาสตร์)
  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต (วิทยาศาสตร์พลังสิบ)
  • แผนการเรียนภาษา-คณิต (เน้นภาษาอังกฤษ)
  • แผนการเรียนภาษา-คณิต (เน้นภาษาเกาหลี)
  • แผนการเรียนภาษา-คณิต (เน้นภาษาญี่ปุ่น)
  • แผนการเรียนภาษา-คณิต (เน้นภาษาจีน)
  • แผนการเรียนภาษา-คณิต (เน้นภาษาเวียดนาม)

แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร

  • โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English integrated study Classroom : EIS
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Science-Math Program-SM) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โครงการรวมพลังก้าวสู่ฝัน (เพชรบัวพิทย์) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (รับเฉพาะแผนการเรียนวิทย์-คณิต)
  • โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)

ห้องเรียน English integrated study (EIS)

  • โครงการห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ (Genius Math Program : G-MATH)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ (Genius Science Program : G-SCIENCE)
  • โครงการห้องเรียนอัจฉริยภาพทางภาษาอังกฤษ (Nongbuapit Intensive English : NPIE)
  • โครงการห้องเรียน Mini English Program (MEP)
  • โครงการห้องเรียนความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา

รายนามผู้บริหาร

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายสาลี ธรเสนา ครูใหญ่ พ.จ. พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515
2 นายวีระพงษ์ ชีวะคำนวณ ครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ่ กศ.บ. พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2523
3 นายฉลาด นิเทศ อาจารย์ใหญ่ — ผู้อำนวยการระดับ 8 กศ.บ. พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2529
4 นายณรงค์ ชาติภรต ผู้อำนวยการระดับ 8 กศ.บ. พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535
5 นายสงบ ผลินยศ ผู้อำนวยการระดับ 8 กศ.บ. พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541
6 นางสาวนิวรณ์ สุทธิบุญ ผู้อำนวยการระดับ 9 กศ.ม. พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544
7 นายวีระ พรหมภักดี ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ กศ.ม. พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550
8 นายประสิทธิ์ ศรีเชียงสา ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ศษ.ม. พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2553
9 นายสนิท วงศ์แสงตา ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ กศ.บ. ค.ม.(จุฬา) พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556
10 นางวิลาวัณย์ พรหมโส ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ศษ.ม. พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560
11 ดร.เล็ก ขมิ้นเขียว ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ค.ม.(จุฬา) ปร.ด. พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2562
12 นายบุญมา ภูเงิน ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ศษ.ม. พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563
13 ดร.สุขเกษม พาพินิจ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ศษ.ม. ปร.ด. พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

กิจกรรมโรงเรียน

กีฬาสี บัวพิทย์เกมส์

โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งคณะสีทั้งหมด 8 คณะสีคือ

  •   คณะสีแสด
  •   คณะสีแดง
  •   คณะสีม่วง
  •   คณะสีเขียว
  •   คณะสีเหลือง
  •   คณะสีน้ำเงิน
  •   คณะสีชมพู
  •   คณะสีฟ้า

โดยมีเป้าหมายคือ ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างการแข็งแรงตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมกีฬาภายใน ซึ่งในปีปัจจุบันได้จัดเป็นครั้งที่ 54

รูปภาพ อาคารและสถานที่ต่างๆในโรงเรียน

ศิษย์เก่ามีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1039760327&Area_CODE=101719จำนวนนักเรียน]
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ students
  3. ประวัติโรงเรียน
  4. ลำดับ
  5. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1039760327&Area_CODE=101719

แหล่งข้อมูลอื่น