วิสรรชนีย์ หรือ นมนาง (ะ) ใช้เป็นสระ อะ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ และ อัวะ

อักษรไทย
-ะ
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

อนึ่ง คำว่า "ประวิสรรชนีย์" เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์[1] นี้ (ประ หมายถึง ทำเป็นจุดๆ)

วิสรรชนีย์เป็นเครื่องหมายที่มีใช้ในตระกูลอักษรพราหมี ตั้งแต่หลังสมัยพระเจ้าอโศก (ในราวราชวงศ์กษัตรปะ) โดยมีลักษณะเป็นเครื่องหมายวงกลมขนาดเล็กสองวง คล้ายเครื่องหมาย : (colon)

คำว่า "วิสรรชนีย์" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "วิสรฺชนีย" विसर्जनीय (ในสมัยหลังนิยมเรียกว่า วิสรฺค विसर्ग[2]) หมายถึงเครื่องหมายที่ใช้เพื่อแทนเสียงลมหายใจมาก โดยวางไว้หลังสระ[3] เช่น "दुःख, रामः" เมื่อถ่ายทอดเป็นอักษรไทย นิยมใช้เครื่องหมาย "ะ" เป็น "ทุะข, รามะ" เป็นต้น สำหรับระบบการเขียน IAST ใช้ "ḥ", ระบบ Harvard-Kyoto ใช้ H, และอักษรเทวนาครีใช้ "ः"

การประสมรูป

แก้
การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
(พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ –ะ อะ (ไม่มีตัวสะกด) /aʔ/
(พยัญชนะต้น) + ไม้หันอากาศ + ตัววอ + วิสรรชนีย์ –ัวะ อัวะ /uaʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ เ–ะ เอะ (ไม่มีตัวสะกด) /eʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ลากข้าง + วิสรรชนีย์ เ–าะ เอาะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɔʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอี + ตัวยอ + วิสรรชนีย์ เ–ียะ เอียะ /iaʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอือ + ตัวออ + วิสรรชนีย์ เ–ือะ เอือะ /ɯaʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ตัวออ + วิสรรชนีย์ เ–อะ เออะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɤʔ/
สระแอ + (พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ แ–ะ แอะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɛʔ/
ไม้โอ + (พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ โ–ะ โอะ (ไม่มีตัวสะกด) /oʔ/

อ้างอิง

แก้