ยง ภู่วรวรรณ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นแพทย์ชาวไทย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
ยง ภู่วรวรรณ | |
---|---|
ยง ในปี พ.ศ. 2550 | |
เกิด | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
มีชื่อเสียงจาก | ที่ปรึกษาสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย |
รางวัล | รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล–บี. บราวน์ (2546) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2540) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | วิทยาตับในกุมารเวชศาสตร์ วิทยาไวรัส |
สถาบันที่ทำงาน | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
เขาได้รับการยอมรับในสาขาวิทยาตับเด็ก, ไวรัสตับอักเสบ และได้รับการเชื่อถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนก H5N1 ในประเทศไทย[2] ต่อมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนได้รับฉายาว่า "มือปราบโควิด"[3] ในระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาทในการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นไปโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ[4] และยังมีการแจ้งความต่อผู้วิจารณ์ และต่อมาศาลได้ตัดสินผู้วิจารณ์ ได้นำข้อมูลเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษทั้งจำคุก 2 ปี และปรับ 2 แสนบาทและชดใช้ความเสียหาย 300,000 บาท[5]
ในเรื่องข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยเขามีผลงานวิชาทางวิชาการ ได้ลงพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนมาก[6] ผลงานเป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลก ออกเป็นคำแนะนำการใช้วัคซีนโควิด[7] และผลงานวิจัยวัคซีนดังกล่าวได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในระดับดีมาก[8]
ประวัติ
แก้ยงเกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นแฝดผู้น้องของยืน ภู่วรวรรณ ตามข้อมูลจริงไม่เคยมีบุตรสาว หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมของแม่ ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จบการศึกษามัธยมจากพระปฐมวิทยาลัย และ มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หลังจากนั้น เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชศาสตร์ (2518-2521) จากนั้นบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และได้ไปฝึกอบรมเป็น research fellow ที่ King’s College Hospital Medical School กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
เขาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบาดทางเดินอาหาร คลินิกศูนย์กุมารเวชเฉพาะทาง โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล[9] เขาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก และหัวหน้าโครงการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยระดับโลกที่มีการอ้างอิงสูงสุดในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists”[10] โดยมีการอ้างอิงมากกว่า 26000 ครั้ง และ H index 75[11]
บทบาททางการแพทย์และสาธารณสุข
แก้เมื่อครั้งที่มีการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ยงเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] ใน พ.ศ. 2564 ขณะการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เขาถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาททางด้านนโยบาย โดยเฉพาะการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กถึงแม้มีข้อมูลการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากมาย[13][14] และสนับสนุนการตัดสินใจรอการสั่งซื้อวัคซีนไปจนถึงปี 2565 โดยอ้างว่าควรรอให้ตลาดเป็นของผู้ซื้อเพื่อให้ซื้อวัคซีนได้ในราคาถูก[15] ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนวัคซีนซิโนแวกอย่างต่อเนื่อง[16][17] แนะนำให้ฉีดวัคซีนซิโนแวกหรือซิโนฟาร์มสามเข็มเพื่อป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าว่า "จะทำให้ภูมิต้านทานสูงเป็นน้อง ๆ ของไฟเซอร์" "เพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา"[18][19] แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในขณะนั้น[20] แต่ต่อมายงได้ออกมาปฏิเสธว่าตนไม่เคยพูดและข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม[21] ปัจจุบันมีข้อมูลการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ[22][23][24] สนับสนุนการขยายเวลาการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาเข็มที่สองออกไปเป็น 16 สัปดาห์ขัดกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกซึ่งระบุระยะการฉีดระหว่างโดสแรกและโดสที่สองไว้ที่ 8–12 สัปดาห์[25] หรือเปิดเผยผลงานวิจัยที่มีขนาดตัวอย่างเพียง 2 รายจนเป็นที่ถกเถียงถึงความน่าเชื่อถือของงานวิจัยดังกล่าว[26][27] มีการเสนอให้ลงชื่อถอดถอนออกจากการเป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก[4] ในขณะเดียวกันก็มีการร่วมลงชื่อสนับสนุนให้กำลังใจมากมาย[28] ในปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ศ.11 หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก[29]
ความคิดเห็นส่วนตัวของเขาต่อโควิด-19 ตามที่ปรากฏในสื่อ เช่น โควิด-19 คงไม่รุนแรงไปกว่าไข้หวัดใหญ่ปี 2009,[30] วัคซีนแบบเชื้อตายเช่นซิโนแวค มีความปลอดภัยว่าวัคซีนแบบ mRNA[31][32] และอาจป้องกันไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ดีกว่า,[33] วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนก้า สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%,[34][35] ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน,[36] วัคซีนเชื้อตายเป็นวัคซีนปูพื้นที่ดีกว่าชนิด mRNA[37], หรือการให้วัคซีนเชื้อตายร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นอาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์[38]
บทความของเขาบนวิกิพีเดียภาษาไทยถูกก่อกวนเพิ่มข้อมูลอ้างว่าเขาเป็น "เซลล์ขายวัคซีน Sinovac" ซึ่งต่อมาผู้ก่อเหตุถูกตำรวจจับกุมตัวในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา[39] ในเดือนธันวาคม มีข่าวว่าเขาแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อผู้วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้บนแอพติ๊กต็อก[40]
รางวัล
แก้- ๒๕๓๒ รางวัลผลงานวิจัยดี เรื่อง ไวรัสตับอักเสบและการป้องกัน จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๕๓๔ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น เรื่อง การดูแลทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ผลการศึกษาระยะยาว 5 ปี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๕๓๖ รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม เรื่อง ปัญหาและการป้องกันไวรัสตับอักเสบ จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ๒๕๔๐ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- ๒๕๔๐ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ๒๕๔๐-๒๕๕๐ เมธีวิจัยอาวุโส สกว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ๒๕๔๖ รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย
- ๒๕๔๖ รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) สูงสุด ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย
- ๒๕๔๗ รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมเรื่อง ไข้หวัดนก จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ๒๕๔๙ รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม เรื่อง ไข้หวัดนกในประเทศ จากสำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ๒๕๕๐ รางวัลปาฐกถาประสงค์ ตู้จินดา จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ๒๕๕๐ รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา จากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
- ๒๕๕๑ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสมาคมศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๕๕๕ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- ๒๕๕๔ กุมารแพทย์อาวุโสดีเด่นประจำปี พศ 2554 จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
- ๒๕๕๘ ศาสตราจารย์ยง ภู่วรวรรณ เป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ สํานักวิทยาศาสตร์
- ๒๕๕๘ รางวัลศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๕๕๘ รางวัลแพทย์ต้นแบบของแพทยสภา (Outstanding Achievement Doctor) แพทยสภาแห่งประเทศไทย
- ๒๕๖๒ รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ในการพัฒนางานวัคซีน จากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
- ๒๕๖๒ รางวัลผู้อุทิศตนและเผยแพร่ความรู้ทางพันธุศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ จากสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
- ๒๕๖๓ บุคคลผู้มีธรรมาภิบาล จากคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
- ๒๕๖๓ บุคคลคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์แห่งปี 2020 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- ๒๕๖๔ Innovative for Crisis Individual Award จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
- ๒๕๖๔ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ จากมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- ๒๕๖๔ Outstanding Pediatrician of the Year จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
- ๒๕๖๔ รางวัลผู้ปิดทองหลังพระ จากสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย
- ๒๕๖๔ รางวัลผู้เสียสละเพื่อสังคม จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ๒๕๖๕ กุมารแพทย์ดีเด่นแห่งเอเชีย ประจำปี ๒๕๖๕" (Outstanding Asian Pediatrician Award (OAPA) 2022) จากสมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งเอเชียแปซิฟิก (APPA)
- ๒๕๖๖ รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก เรื่อง “ความปลอดภัยและผลภูมิตุ้นทานจากการให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันในแต่ละสูตรวัคซีนการให้ต่างชนิดกัน การกระตุ้นเข็มสามและภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมต่อเช้อโควิด-19 ในประเทศไทย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- ๒๕๖๖ รางวัลศิษย์เก่าจุฬาดีเด่น ประจำปี 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๕๖๗ รางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2567 รางวัลระดับดีเรื่อง “ระบบการเตือนภัยและคาดการณืการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการตรวจวิเคราะหารปนเปื้อนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมชน” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[41]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[42]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[43]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[44]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[45]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต,2558
- ↑ "ได้รับการยอมรับวิชาแพทย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
- ↑ ""หมอยง" มือปราบโควิด-19!! กระสุนเหล็กเพียงนัดเดียวที่คนไทยยังเชื่อมั่น". mgronline.com.
- ↑ 4.0 4.1 "เดือด ผุดแคมเปญล่าชื่อปลด 'หมอยง' ปมหนุนวัคซีน "ซิโนแวค" เกินจริง". คมชัดลึก. 2021-06-19.
- ↑ "เซียนคีย์บอร์ดโพสต์ด่าหมอยง 5 ปีผ่านไป เจอคุกจริง 2 ปี ปรับ 3 แสน ศาลชี้ "ข้อมูลเท็จ"".
- ↑ "Seroprevalence of antibodies against diphtheria, tetanus, and pertussis across various age groups during the post-COVID-19 pandemic period in Chonburi Province, Thailand".
- ↑ "Interim recommendations for heterologous COVID-19 vaccine schedules".
- ↑ "Safety and Immunogenicity of Different Primary Series of COVID-19 Vaccines, Mix and Match Vaccine Strategy, Booster Vaccination, and Hybrid Immunity in Thailand".
- ↑ "โนโรไวรัส ระบาดหนักในปีนี้". www.bangpakokhospital.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "TOP RANK OF 2% SCIENTISTS BY ELSEVIER (September 2024)". research.chula.ac.th.
- ↑ "Yong Poovorawan". scholar.google.com.
- ↑ "ถอดรหัส "ความรื่นรมย์แห่งชีวิต" ของ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ มือปราบไวรัสเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-09.
- ↑ "Immunogenicity of heterologous inactivated and adenoviral-vectored COVID-19 vaccine: Real-world data".
- ↑ "Safety and immunogenicity of inactivated COVID-19 vaccine in health care workers".
- ↑ "9 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหา/จัดการ วัคซีนโควิด-19 ที่สังคมไทยควรรู้ โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-19.
- ↑ ""หมอยง" ชี้ วัคซีนโควิด-19 "ไฟเซอร์ อิงค์" เข้าถึงยาก". ThaiQuote. 2020-11-12.
- ↑ "'หมอยง'เปรียบวัคซีนเป็นอาวุธสำคัญต่อสู้กับโควิดไทยไม่ควรรอทางตะวันตกย่างเดียว". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ siree7. "หมอยง ชี้ฉีดซิโนแวค 2 เข็มยังไม่พอสู้สายพันธุ์อินเดีย เข็มที่ 3 ต้องมา!!". thebangkokinsight.com.
- ↑ “นพ.ยง” เผยซิโนแวค 3 เข็มอาจได้ผลดีเท่าไฟเซอร์ l คุยให้จบข่าว l 22 มิ.ย. 64, สืบค้นเมื่อ 2021-08-16
- ↑ 57 (2021-06-29). "หมอมานพ ชี้อีกมุม ซิโนแวค เข็ม 3 แรงน้องๆ ไฟเซอร์ ไร้ผลวิจัย-ข้อเท็จจริง รองรับ". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ matichon (2021-08-16). "หมอยง เผยไม่เคยพูดเรื่อง ฉีดซิโนแวค 3 เข็ม ป้องกันเดลต้า ชี้เป็นเฟคนิวส์". มติชนออนไลน์.
- ↑ Ariën, Kevin K.; Heyndrickx, Leo; Michiels, Johan; Vereecken, Katleen; Van Lent, Kurt; Coppens, Sandra; Willems, Betty; Pannus, Pieter; Martens, Geert A.; Van Esbroeck, Marjan; Goossens, Maria E. (2022-03-08). "Three doses of BNT162b2 vaccine confer neutralising antibody capacity against the SARS-CoV-2 Omicron variant". npj Vaccines (ภาษาอังกฤษ). 7 (1): 1–3. doi:10.1038/s41541-022-00459-z. ISSN 2059-0105.
- ↑ Yu, Xiaoling; Qi, Xiangrong; Cao, Yu; Li, Peiyao; Lu, Li; Wang, Pingping; Feng, Yuchen; Yang, Jie; Wei, Huihui; Guo, Lixian; Sun, Mingyue (2022-12-31). "Three doses of an inactivation-based COVID-19 vaccine induces cross-neutralizing immunity against the SARS CoV-2 Omicron variant". Emerging Microbes & Infections (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 749–752. doi:10.1080/22221751.2022.2044271. ISSN 2222-1751. PMC 8903785. PMID 35176972.
{{cite journal}}
: CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ Assawakosri, Suvichada; Kanokudom, Sitthichai; Suntronwong, Nungruthai; Auphimai, Chompoonut; Nilyanimit, Pornjarim; Vichaiwattana, Preeyaporn; Thongmee, Thanunrat; Duangchinda, Thaneeya; Chantima, Warangkana; Pakchotanon, Pattarakul; Srimuan, Donchida (2022-10-15). "Neutralizing Activities Against the Omicron Variant After a Heterologous Booster in Healthy Adults Receiving Two Doses of CoronaVac Vaccination". The Journal of Infectious Diseases. 226 (8): 1372–1381. doi:10.1093/infdis/jiac092. ISSN 0022-1899.
- ↑ "คำอธิบายและข้อโต้แย้งเมื่อไทยเว้นระยะฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 16 สัปดาห์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ "หมอไม่ทน ซัดกลับ นพ.ยง หลังบอกฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม บวกแอสตราเซเนกา 1 ภูมิเพิ่ม 30 เท่า". ทีนิวส์. 2021-07-10.
- ↑ "ขนาดตัวอย่างเท่ากับหนึ่งหรือสอง เชื่อไม่ได้หรือ? ข้อกังขาว่าด้วยการกระตุ้นวัคซีนโควิดสลับกันในเข็มที่สาม". mgronline.com. 2021-07-10.
- ↑ "กลุ่มแพทย์ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมล่ารายชื่อสนับสนุนและให้กำลังใจ "หมอยง"". hfocus.org.
- ↑ "หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก". chula.ac.th.
- ↑ "แพทย์ชี้ 'ไวรัสโคโรน่า 2019' จะระบาดไม่ต่างไข้หวัดใหญ่ 2009". bangkokbiznews.com.
- ↑ "วัคซีนป้องกัน COVID-19 มีอะไรบ้าง? ชวนเข้าใจความแตกต่างของวัคซีนแต่ละชนิด". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-07.
- ↑ matichon (2021-06-28). "หมอยง เปิดข้อมูล 4 เทคโนโลยีวัคซีน ชี้ 'เชื้อตาย' ภูมิต้านทาน-ผลข้างเคียง น้อยกว่า mRNA". มติชนออนไลน์.
- ↑ "'หมอยง' ชี้ วัคซีน 'ซิโนแวค' วัคซีนเชื้อตาย ป้องกันได้ดีกว่า โดยเฉพาะการข้ามสายพันธุ์ไวรัส". สยามรัฐ. 2021-03-02.
- ↑ สำนักสารนิเทศ. "อ.ยง ชี้วัคซีนที่ฉีดในประเทศไทย มีประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษได้". pr.moph.go.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ""อ.ยง" ชี้วัคซีนที่ฉีดในประเทศไทย มีประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษได้". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-04-11.
- ↑ "หมอยง แจงปมสลับวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ลั่นไวรัสไม่รู้หรอกเป็นยี่ห้อไหน". www.sanook.com/news.
- ↑ "'หมอยง' ชี้ เริ่มต้นฉีดด้วยวัคซีน mRNA จะกระตุ้นด้วยตัวอื่นยาก". สยามรัฐ. 2021-11-12.
- ↑ 39 (2021-11-30). "'หมอยง' เผยใช้ วัคซีนลูกผสม อาจสู้ไวรัส 'โควิดกลายพันธุ์ โอไมโครอน' ได้". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "รวบหนุ่มวัย 24 แก้ข้อมูลวิกิพีเดีย 'หมอยง' เป็นเซลล์ขาย ซิโนแวค". ข่าวสด. 13 Jul 2021. สืบค้นเมื่อ 13 Jul 2021.
- ↑ "'หมอยง' แจ้งหมิ่นประมาทชาวปทุมฯวัย 27 คลิป TIKTOK วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้". มติชนออนไลน์. 16 December 2021. สืบค้นเมื่อ 18 December 2021.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ยง ภู่วรวรรณ ที่เฟซบุ๊ก
- กลุ่มสมาชิกสำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิต 04/04/2014 (ยง ภู่วรวรรณขึ้นเวทีปราศรัยของ กปปส.)