เหรียญจักรพรรดิมาลา
เหรียญจักรพรรดิมาลา ใช้อักษรย่อว่า ร.จ.พ. เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสำหรับข้าราชการพลเรือน[1] สถาปนาขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปีมะเส็ง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เนื่องในการพระราชพิธีรัชดาภิเษก สมโภชสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[2]
เหรียญจักรพรรดิมาลา | |
---|---|
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ร.จ.พ. |
ประเภท | เหรียญบำเหน็จในราชการ |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2436 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการพลเรือน |
มอบเพื่อ | สำหรับบุคคลที่มีคุณงามความดี ข้าราชการพลเรือนที่รับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปี |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายล่าสุด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ |
รองมา | เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1 |
เสมอ | เหรียญจักรมาลา |
หมายเหตุ | พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา จะไม่ได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา |
ลักษณะของเหรียญ
แก้เหรียญจักรพรรดิมาลาเมื่อแรกสถาปนาในปี พ.ศ. 2436 มีลักษณะตามที่กำหนดในภายหลัง ตามความในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 ซึ่งตราขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 ดังนี้
"เหรียญจักรพรรดิมาลานี้มีสัณฐานเปนรูปจักร ด้านน่ามีพระบรมราชสาทิศฉายาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิไชยมงกุฎ ยอดมีรัศมีแลพวงมาไลใบไชยพฤกษ์วงโดยรอบ ที่ขอบจักรมีอักษร แสดงพระบรมราชนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช สยามินทร์" ด้านหลังที่ขอบจักร มีอักษรแสดงคุณของผู้ที่จะได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ได้ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า "สำหรับปรนนิบัติราชการดี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒" ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า "พระราชทานแก่" แลจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานลงในกลางเหรียญที่ใต้พวงมาไล อันมีช่อดอกไม้รับรองอยู่นั้น เหรียญนี้จะได้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมชมภู ห้อยกับเข็มอันมีอักษรจารึกว่า "ราชสุปรีย์" สำหรับติดที่รังดุมเสื้อ ณ อกข้างซ้าย"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขรูปแบบเหรียญจักรพรรดิมาลาให้มีลักษณะใกล้เคียงกับเหรียญจักรมาลาซึ่งพระราชทานสำหรับข้าราชการฝ่ายทหาร ปรากฏความตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 ว่า
"เหรียญจักรพรรดิมาลาเทียบเหรียญจักรมาลาของทหาร เปนเหรียญเงินมีสัณฐานเปนรูปจักร์ ด้านหน้ามีรูปพระครุฑพาหอยู่ในวงจักร์ ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร์ มีอักษรจาฤกรอบวงว่า "บำเหน็จแห่งความยั่งยืนแลมั่นคงในราชการ" ข้างบนเหรียญมีเข็มวชิราวุธห้อยกับแพรแถบสีแดง ขอบสีเหลืองกับสีเขียว มีเข็มเงินเบื้องบนแพรแถบจาฤกอักษร ราชสุปรีย สำหรับติดที่อกเสื้อข้างซ้าย"
ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงลักษณะของเหรียญจักรพรรดิมาลาอีกครั้ง โดยยังคงลักษณะของเหรียญเดิมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 เกือบทั้งหมด แต่ไม่มีเข็มคำว่า "ราชสุปรีย" ประดับที่ตอนบนของแพรแถบเหรียญ ตามความบรรยายในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ดังนี้
"เหรียญจักรพรรดิมาลามีลักษณะเป็นเหรียญเงินกลมรูปจักร ด้านหน้ามีรูปครุฑพ่าห์อยู่ในวงจักร ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร จารึกอักษรโดยรอบว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืนและมั่นคงในราชการ” เบื้องบนเหรียญมีเครื่องหมายพระวชิราวุธห้อยกับแพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร สีแดงขอบสีเหลืองกับสีเขียว ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย"
-
เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 ด้านหน้าและด้านหลัง (ในที่นี้ไม่แสดงแพรแถบ)
-
เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ด้านหน้า
-
เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ด้านหลัง
การพระราชทาน และการส่งคืน/การเรียกคืน
แก้- สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี การนับเวลาราชการ ให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกัน แต่ถ้าผู้นั้นเข้ารับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
- ทหารหรือตำรวจ ที่รับราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี หากยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับพระราชทานเหรียญจักรมาลาก็ให้ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาแทน
- พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ประดับ
- ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญนี้จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกรด้วย
- ถ้าผู้ได้รับพระราชทาน หรือทายาทโดยธรรม ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนดสามสิบวัน จะต้องใช้ราคาของเหรียญแก่ทางราชการตามราคาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
ผู้ที่ได้รับพระราชทาน
แก้- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
- สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี
- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
- เจ้าแก้วนวรัฐ
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
- หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช
- หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
- หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
- หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
- หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
- เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
- หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
- หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
- หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์พุฒิพงศ์ วรวุฒิ
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
- หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์
- หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์
- หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
- หม่อมหลวงชูชาติ กำภู
- กรุณา ต่อเติม
- กว้าง รอบคอบ
- กิตติ ประเสริฐศิลป์
- กิตติ สีหนนทน์
- เกษม วัฒนชัย
- แก้วขวัญ วัชโรทัย
- ขวัญแก้ว วัชโรทัย
- จรวยพร ธรณินทร์
- จรัส สุวรรณเวลา
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
- จิระ แนบสนิท
- จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
- พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
- ชลัยรัตน์ อ่ำมาก
- ชัยเกษม นิติสิริ
- ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์
- ชุติมา พยุหกฤษ
- เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
- เชิดชัย เป้าทอง
- ดิเรก อิงคนินันท์
- เตช บุนนาค
- เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
- ทิพาวดี เมฆสวรรค์
- ธงทอง จันทรางศุ
- ธาดา รุ่งเป้า
- ธีระ สูตะบุตร
- ธีระชัย อุกฤษฎ์มโนรถ
- นราพร จันทร์โอชา
- บรรเจิด พุ่มชา
- บัญญัติ สุชีวะ
- บุญชู ศิริจินดากุล
- ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
- ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน
- ประภาศน์ อวยชัย
- หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)
- ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์
- ปิยะสกล สกลสัตยาทร
- เผ่าทอง ทองเจือ
- พงศ์ศักดิ์ หนูพันธ์
- เพชร์ อินทร์มงคล
- พนิตา กำภู ณ อยุธยา
- พรเพชร วิชิตชลชัย
- พลากร สุวรรณรัฐ
- พันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์
- ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา
- ภาวิช ทองโรจน์
- มนตรี ยอดปัญญา
- มีพาศน์ โปตระนันทน์
- มีชัย ฤชุพันธุ์
- ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
- รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
- รัชทิน จันทร์เจริญ
- ลักษณ์พร เข้มขัน
- ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ
- วาสนา กันแตง
- วิจิตร ศรีสอ้าน
- วิชัย ริ้วตระกูล
- วิรัช ลิ้มวิชัย
- วิศาล เสรีรักษ์
- วิษณุ เครืองาม
- วีระพล ตั้งสุวรรณ
- วีรพงษ์ รามางกูร
- ศุภชัย ภู่งาม
- สกลจิตต์ พนมวัน ณ อยุธยา
- สบโชค สุขารมณ์
- สมคิด เลิศไพฑูรย์
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์
- สมศักดิ์ เตชะโกสิต
- สวรส สุทธิประภา
- สัญญา ธรรมศักดิ์
- พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- สายสุรี จุติกุล
- สุกรี คชเสนี
- สุจิตรา เสนานุช
- สุทธิพล ทวีชัยการ
- สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
- สุเทพ เกริกไกรสีห์
- โสภณ รัตนากร
- ไสยวิชญ์ วรวินิต
- หยุด แสงอุทัย
- อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
- อภินันท์ ปวนะฤทธิ์
- อรุณี เป้าทอง
- อักขราทร จุฬารัตน
- อาสา สารสิน
- อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
- เอื้อ สุนทรสนาน
- อำพน กิตติอำพน
- อำพล เสนาณรงค์
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนที่ 62
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม ๑๒ ตอน ๔๙ หน้า ๔๘๐