ประเทศไทยใน พ.ศ. 2557
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 233 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 69 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีนี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ รวมถึงวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น)
- นายกรัฐมนตรี:
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (เพื่อไทย) (จนถึง 7 พฤษภาคม)
- นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (เพื่อไทย, รักษาการ) (7 – 22 พฤษภาคม)
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร, ผู้ใช้อำนาจ) (22 พฤษภาคม – 24 สิงหาคม)
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร) (ตั้งแต่ 24 สิงหาคม)
- คณะผู้ยึดอำนาจปกครอง: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เริ่ม 22 พฤษภาคม)
- หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม)
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เริ่ม 31 กรกฎาคม)
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 17 สิงหาคม)
- วุฒิสภา:
- ประธานวุฒิสภา: นิคม ไวยรัชพานิช (อิสระ) (จนถึง 8 พฤษภาคม)
- ประธานศาลฎีกา: ดิเรก อิงคนินันท์
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครบ 150 ปี
- 8 มกราคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า "การพิจารณาและลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และการที่ผู้ถูกร้องร่วมกันแก้ไขเนื้อหารัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญอันเป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลหรือคณะบุคคลได้อำนาจเพื่อการปกครองประเทศไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ"
- 21 มกราคม – รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) (ไทยรัฐ)
กุมภาพันธ์
แก้- 2 กุมภาพันธ์ – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557
มีนาคม
แก้- 21 มีนาคม – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้เลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและยังมีเขตเลือกตั้งที่ไม่มีการรับสมัครเลือกตั้ง
เมษายน
แก้- 1 เมษายน – วันเริ่มต้นการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลในประเทศไทย โดยมี 4 จังหวัดนำร่องในการออกอากาศเป็นครั้งแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสงขลา
พฤษภาคม
แก้- 5 พฤษภาคม - แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว พ.ศ. 2557
- 7 พฤษภาคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมรัฐมนตรีที่มีมติโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- 9 พฤษภาคม – สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นประธานวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11
- 20 พฤษภาคม – พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยประกาศกฎอัยการศึก มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 03.00 น.
- 22 พฤษภาคม – เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลา 16:30 น. และเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศนานหลายเดือน[1]
- 24 พฤษภาคม – วุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 สิ้นสุดลง
กรกฎาคม
แก้- 11 กรกฎาคม – พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้จัดทำหลัก "ค่านิยม 12 ประการ"[2]
- 22 กรกฎาคม – พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
- 31 กรกฎาคม – พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามคำแนะนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
สิงหาคม
แก้- 21 สิงหาคม – ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 (ไทยรัฐ)
กันยายน
แก้- 1 กันยายน – คณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ มีมติให้ช่อง 3 อนาล็อก ยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2557 เป็นต้นไป
- 11 กันยายน – พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ตำรวจจับกุมกลุ่มคนชุดดำที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามระหว่างการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 10 เมษายน 2553 จำนวน 5 คน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของพลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม ผู้ต้องหารับสารภาพ และว่ายังมีผู้ต้องหาหลบหนีอีก 2 คน พลตำรวจเอกสมยศว่า "ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มีคำถามจากสังคมมาโดยตลอดว่าชายชุดดำมีจริงหรือไม่ วันนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีจริง"
ตุลาคม
แก้- 2 ตุลาคม
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวสามารถผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา
- มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเครื่องปั้นดินเผาบริเวณสระน้ำกลางไร่มันสำปะหลัง บ้านดอนทะยูง หมู่ 10 ต.สารภี อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา (ข่าวสดออนไลน์)
- 7 ตุลาคม – ศาลจังหวัดปัตตานีอ่านคำสั่งในคดีทหารซ้อมทรมานระหว่างควบคุมตัว โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ศาลพิจารณาว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งระงับการกระทำหรือเยียวยาตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ยกคำร้อง
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม – ประวิทย์ รุจิรวงศ์ ประธานสภากรุงเทพมหานครคนที่ 7 (เกิด พ.ศ. 2484)
- 7 มกราคม – วิลาศ น้อมเจริญ นักฟุตบอล (เกิด พ.ศ. 2505)
- 17 มกราคม – ประนอม รัชตพันธุ อดีตกรรมการสโมสรอาสากาชาด (เกิด พ.ศ. 2457)
- 21 มกราคม – ไตรทิพย์สุดา วิเศษกุล (หม่อมเจ้าไตรทิพย์สุดา เกษมสันต์) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2453)
- 23 มกราคม – วุฒิสวาท อนุมานราชธน (หม่อมเจ้าวุฒิสวาท วุฒิชัย) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2473)
- 29 มกราคม – พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เกิด พ.ศ. 2462)
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ – บุญส่ง สมใจ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 30 (เกิด พ.ศ. 2472)
- 6 กุมภาพันธ์ – พระวิโรจน์ ภูริสีโร (วิโรจน์ ณ บางช้าง) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2492)
- 24 กุมภาพันธ์ – คำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2476)
- 28 กุมภาพันธ์ – วิเชียร นีลิกานนท์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2474)
มีนาคม
แก้- 6 มีนาคม
- นที รักษ์พลเมือง ศาสตราจารย์ (เกิด พ.ศ. 2469)
- ศยาพร สิงห์ทอง (เกิด พ.ศ. 2506) นักดนตรีชาวไทย
- 22 มีนาคม – วิเชียร วัฒนคุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนที่ 36 (เกิด พ.ศ. 2473)
เมษายน
แก้- 2 เมษายน – ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 27 (เกิด พ.ศ. 2466)
- 12 เมษายน – เสริมลาภ วสุวัต นักพฤกษศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2473)
- 15 เมษายน – รัชนี ศรีไพรวรรณ ครู (เกิด พ.ศ. 2474)
- 20 เมษายน – หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2477)
- 30 เมษายน – พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคนที่ 30 (เกิด พ.ศ. 2489)
พฤษภาคม
แก้- 3 พฤษภาคม – พินิจ จันทร์สมบูรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2498)
- 22 พฤษภาคม – ชินวุธ สุนทรสีมะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนที่ 63 (เกิด พ.ศ. 2470)
- 24 พฤษภาคม – นิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 37 (เกิด พ.ศ. 2484)
- 30 พฤษภาคม – กาญจนา นาคนันทน์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2464)
- 31 พฤษภาคม – พระครูวิมุตยาภรณ์ (เกิด ปริมุตฺโต) อดีตเจ้าคณะอำเภอองครักษ์ (เกิด พ.ศ. 2463)
มิถุนายน
แก้- 15 มิถุนายน – สมานฉันท์ ชมภูเทพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2486)
- 30 มิถุนายน – อัมพร มีศุข อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2463)
กรกฎาคม
แก้- 4 กรกฎาคม
- เฉลิม ม่วงแพรศรี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2481)
- ปาน พึ่งสุจริต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2489)
- 7 กรกฎาคม – วัชรินทร์ เกตะวันดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 17 (เกิด พ.ศ. 2475)
- 20 กรกฎาคม – กฤติยา ลาดพันนา (พันนา ฤทธิไกร) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2504)
- 22 กรกฎาคม – ถาวร จีระพันธ์ นักกีฬาจักรยาน (เกิด พ.ศ. 2482)
- 24 กรกฎาคม – ประยุทธ จารุมณี ผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 23 (เกิด พ.ศ. 2465)
- 25 กรกฎาคม – กฤตยา ล่ำซำ นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2506)
- 27 กรกฎาคม – พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เกิด พ.ศ. 2459)
สิงหาคม
แก้- 4 สิงหาคม – สุริยนันทนา สุจริตกุล (หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2456)
- 16 สิงหาคม – จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคนที่ 41 (เกิด พ.ศ. 2462)
- 19 สิงหาคม – เจ้าเติมศักดิ์ ณ เชียงใหม่ เจ้านายราชวงศ์เชียงใหม่ (ประสูติ พ.ศ. 2481)
กันยายน
แก้- 3 กันยายน
- ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2482)
- ทองดี มนิสสาร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2488)
- 19 กันยายน – ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 23 กันยายน – คำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2467)
- 28 กันยายน – สวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2462)
- 30 กันยายน – เกียรติพงศ์ กาญจนภี (สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2469)
ตุลาคม
แก้- 6 ตุลาคม – อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองคนที่ 23 (เกิด พ.ศ. 2492)
- 9 ตุลาคม – เคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2473)
พฤศจิกายน
แก้- 9 พฤศจิกายน – กฤษดา อนันตสาคร นักดนตรีไทย (เกิด พ.ศ. 2474)
- 16 พฤศจิกายน – ศวร เภรีวงษ์ (เสือมเหศวร) อดีตอาชญากร (เกิด พ.ศ. 2457)
- 27 พฤศจิกายน
- สง่า อิงคุลานนท์ คุณข้าหลวง (เกิด พ.ศ. 2460)
- สมพล เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2480)
- 29 พฤศจิกายน – ศักดิชัย บำรุงพงศ์ อดีตเอกอัครราชทูต (เกิด พ.ศ. 2461)
ธันวาคม
แก้- 9 ธันวาคม – พระเอื้อม กตฺปฺญฺโญ เจ้าอาวาสวัดบางเนียน (เกิด พ.ศ. 2449)
อ้างอิง
แก้- ↑ "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ'" [Prayuth and military chiefs are controlling state powers]. Komchadluek. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
- ↑ บทกลอนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ