ปาน พึ่งสุจริต
ปาน พึ่งสุจริต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน และอดีตรองเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ
ปาน พึ่งสุจริต | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 จังหวัดอุตรดิตถ์ |
เสียชีวิต | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (67 ปี) เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | สาวิตรี พึ่งสุจริต |
ประวัติ
แก้ปาน พึ่งสุจริต เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ที่ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของนายชั้น กับนางทองใบ พึ่งสุจริต[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก และปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) และระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อปี พ.ศ. 2517
ครอบครัว
แก้ด้านครอบครัวสมรสกับ นางสาวิตรี พึ่งสุจริต มีบุตร 3 คน ได้แก่ ร้อยตำรวจเอก ภูมินทร์ พึ่งสุจริต, ร้อยตำรวจโท ภูธร พึ่งสุจริต, นายวันเฉลิมฯ พึ่งสุจริต
ปาน พึ่งสุจริต ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[2]
การทำงาน
แก้งานด้านการศึกษา
แก้ปาน พึ่งสุจริต เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ต่อมาจึงย้ายมาประจำที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)[3]
งานการเมือง
แก้ปาน พึ่งสุจริต ผันตัวเองจากงานการศึกษา มาดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2540[4] และในปี พ.ศ. 2543[5] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (วัฒนา อัศวเหม) ในปี พ.ศ. 2542[6]
ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคราษฎร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรองหัวหน้าพรรค[7] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคมาตุภูมิ[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ[9] มีบทบาทสำคัญหลายครั้ง เช่น การเป็นตัวแทนของพรรคมาตุภูมิในการประชุมจัดสรรตำแหน่งกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ลูก'ปาน พึ่งสุจริต'ไม่เชื่อพ่อฆ่าตัวตาย
- ↑ "คิดถึงมหาบุรุษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2540 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง นายสาคร พรหมภักดี นายปาน พึ่งสุจริต)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 65/2543 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายปาน พึ่งสุจริต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- ↑ คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๕๐/๒๕๔๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายปาน พึ่งสุจริต)
- ↑ พรรคเพื่อแผ่นดิน ส่อถูกยุบ กกต.แจก ใบแดง ส.ส.ร้อยเอ็ด
- ↑ พรรคมาตุภูมิ เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ข่าว เอ็มไทย
- ↑ แกะรอยใครคือถุงเงินหมื่นล้านพรรค“บิ๊กบัง” ปูทางเก้าอี้นายกฯ?
- ↑ พรรคการเมืองยังจัดสรรตำแหน่ง ปธ.กมธ.ไม่ลงตัว,พรรคเล็กรวมตัวขอ 1 ตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๓, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๗