ด็อยท์เชอเว็ลเลอ
ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (เยอรมัน: Deutsche Welle, ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃə ˈvɛlə] ( ฟังเสียง); แปลว่า "คลื่นเยอรมัน" หรือ DW) เป็นบริการกระจายเสียงระหว่างประเทศสาธารณะที่ถือครองโดยรัฐ ซึ่งหนุนด้วยงบประมาณภาษีของรัฐบาลกลางเยอรมนี[4][2][3] บริการมีถึง 30 ภาษา บริการโทรทัศน์ดาวเทียมของ DW มีช่องในภาษาอังกฤษ เยอรมัน, อูรดู, ฮินดี, สเปน, เบงกอล และอาหรับ ผลงานของ DW เป็นไปตามกฎหมายด็อยท์เชอเว็ลเลอ[หมายเหตุ 1][5] ซึ่งก็คือเนื้อหาเป็นอิสระจากอิทธิพลของรัฐบาล DW เป็นสมาชิกของสหภาพการกระจายเสียงแห่งทวีปยุโรป (EBU)[6]
สำนักงานกลางด็อยท์เชอเว็ลเลอที่บ็อนน์ | |
รูปแบบ | บริการกระจายเสียงระหว่างประเทศ |
---|---|
ประเทศ | เยอรมนี |
พื้นที่แพร่ภาพ | ทั่วโลก |
บริษัทในเครือ | เครือข่ายวิทยุโลก |
คำขวัญ | Made for minds[1] |
สำนักงานใหญ่ | บ็อนน์ ประเทศเยอรมนี |
แบบรายการ | |
ภาษา | เยอรมัน, อังกฤษ, สเปน |
ระบบภาพ | 1080i (HDTV) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | รัฐบาลเยอรมนี[2][3] |
บุคลากรหลัก | Peter Limbourg (ผู้อำนวยการทั่วไป) |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 30 พฤษภาคม 1953 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | DW.com |
ออกอากาศ | |
สื่อสตรีมมิง | |
ยูทูบ | ด็อยท์เชอเว็ลเลอ ที่ยูทูบ |
DW นำเสนออัปเดตบทความเป็นประจำในเว็บไซต์ข่าว และดำเนินการสำหรับศูนย์การพัฒนาสื่อต่างประเทศ DW Akademie โดยมีการประกาศเป้าหมายที่ระบุไว้ คือการสร้างข่าวที่เชื่อถือได้ ให้เข้าถึงภาษาเยอรมันและส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชน[7]
DW ได้ออกอากาศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1953 มีสำนักงานกลางที่บ็อนน์ ซึ่งมีการผลิตรายการวิทยุ อย่างไรก็ตาม รายการโทรทัศน์เกือบทั้งหมดผลิตที่เบอร์ลิน ทั้งสองที่ผลิงเนื้อหาข่าวสำหรับเว็บไซต์ DW
ใน ค.ศ. 2019 มีพนักงานประมาณ 1,500 คนและทำงานอิสระ 1,500 คนจาก 60 ประเทศ ทำงานให้กับด็อยท์เชอเว็ลเลอในสำนักงานที่กรุงบอนน์และเบอร์ลิน[8]
ประวัติ
แก้ด็อยท์เชอเว็ลเลอได้ ได้เปิดตัวสถานีวิทยุและโทรทัศน์อย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ผู้กล่าวปราศัยโดยนาย Theodor Heuss ประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมัน (ในขณะนั้น) เป็นการออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ในชื่อ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาราณะแห่งประเทศเยอรมัน ชื่อย่อ ARD และดอยเช่อ เวลเล่อได้เห็นผ้องร่วมกัน ผู้ควมคุมการผลิตอย่างแรกโดยเครือข่ายของ Nordwestdeutscher Rundfunk (WDR) รายการต่าง ๆ ของ ด็อยท์เชอเว็ลเลอจึงให้ WDR เป็นผู้รับผิดชอบ ใน ค.ศ. 1960 ดอยเช่อ เวลเล่อกลายเป็นสื่อมวนชนอิสระ และวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1972 จึงได้ร่วมกับ ARD ซึ่งเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
โลโก้
แก้-
โลโก้ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (ค.ศ. 1995–2012)
-
โลโก้ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน)
ภาษาที่ใช้ในการออกอากาศ
แก้ภาษา | เริ่มต้น | สิ้นสุด | บริการ |
---|---|---|---|
เยอรมัน | 1953[9] | โทรทัศน์ | |
อังกฤษ * | 1954[9] | วิทยุและโทรทัศน์ | |
ฝรั่งเศส * | วิทยุ | ||
สเปน | โทรทัศน์ | ||
โปรตุเกส | วิทยุ | ||
อาหรับ | 1959[10] | โทรทัศน์ | |
เปอร์เซีย | 1962[11] | ||
ตุรกี | |||
รัสเซีย | |||
โปแลนด์ * | |||
เช็ก * | 2000[12] | ||
สโลวัก * | 2000[12] | ||
ฮังการี * | 2000[12] | ||
บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย * | 1992[13] | ||
สวาฮีลี | 1963[11] | วิทยุ | |
เฮาซา | วิทยุ | ||
อินโดนีเซีย (มลายู) | |||
บัลแกเรีย | |||
โรมาเนีย * | |||
สโลวีเนีย | 2000 | ||
กรีก | 1964[11] | วิทยุ | |
ฮินดี | |||
เบงกอล | |||
อูรดู | |||
อิตาลี * | 1998[14] | ||
จีน | 1965[15] | ||
อามารา | วิทยุ | ||
สันสกฤต | 1966 | 1998 | |
ญี่ปุ่น | 1969[15] | 2000[12] | |
มาซิโดเนีย | |||
ปาทาน | 1970[16] | วิทยุ | |
ดารี | วิทยุ | ||
เซอร์เบีย | 1992[13] | ||
โครเอเชีย | |||
แอลเบเนีย | |||
บอสเนีย | 1997[14] | ||
เดนมาร์ก * | 1965 | 1998[14] | |
นอร์เวย์ * | |||
สวีเดน * | |||
ดัตช์ * | 1967 | ||
ยูเครน | 2000[12] | ||
เบลารุส | 2005[17] | ก่อน ค.ศ. 2011 |
* สนับสนุนบางส่วนโดยด็อยช์ลันด์ฟุงก์ (จนถึง ค.ศ. 1993)
ผู้อำนวยการทั่วไป
แก้ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
- 12 ตุลาคม 1960 – 29 กุมภาพันธ์ 1968: Hans Otto Wesemann
- 1 มีนาคม 1968 – 29 กุมภาพันธ์1980: Walter Steigner
- 1 มีนาคม 1980 – 8 ธันวาคม 1980: Conrad Ahlers
- 19 ธันวาคม 1980 – 30 มิถุนายน 1981: Heinz Fellhauer (รักษาการ)
- 1 กรกฎาคม 1981 – 30 มิถุนายน 1987: Klaus Schütz
- 1 กรกฎาคม 1987 – 30 มิถุนายน 1989: Heinz Fellhauer
- 1 กรกฎาคม 1989 – 31 มีนาคม 2001: Dieter Weirich
- 1 เมษายน 2001 – 30 กันยายน 2001: Reinhard Hartstein (รักษาการ เป็น รองผู้อำนวยการ)
- 1 ตุลาคม 2001 – 30 กันยายน 2013: Erik Bettermann
- 1 ตุลาคม 2013 – ปัจจุบัน : Peter Limbourg
หมายเหตุ
แก้- ↑ Gesetz über die Rundfunkanstalt des Bundesrechts "Deutsche Welle"
อ้างอิง
แก้- ↑ "Made for minds. - DW's new slogan". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Johnson, Ian (21 August 2014). "German Broadcaster Fires Chinese Blogger". The New York Times.
Deutsche Welle is owned by the government, much like the British Broadcasting Corporation or the Voice of America.
- ↑ 3.0 3.1 Shalal, Andrea (14 April 2019). "German state-owned TV says Venezuela blocked its Spanish channel". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
- ↑ "What kind of company is Deutsche Welle?". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ "Deutsche Welle Act". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ European Broadcasting Union (EBU) (28 February 2019). "Members". ebu.ch (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ "Profile DW". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
- ↑ "Profil DW" (ภาษาเยอรมัน). Deutsche Welle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ 9.0 9.1 "1950–1954". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "1955–1959". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "1960–1964". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "2000–2005". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ 13.0 13.1 "1990–1994". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "1995–1999". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ 15.0 15.1 "1965–1969". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "1970–1974". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "Broadcasting Democracy to Belarus". Belarus Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2014. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
ข้อมูล
แก้- McPhail, Thomas L. Global Communication: Theories, Stakeholders, and Trends. 2006, Blackwell Publishing. ISBN 1-4051-3427-5.
- Wallis, Roger, and Stanley J. Baran. The Known World of Broadcast News: International News and the Electronic Media. 1990, Routledge. ISBN 0-415-03604-6.
- Wood, James. History of International Broadcasting. 2000, Institution of Engineering and Technology. ISBN 0-85296-920-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- "DW International Weblog Award". The Bobs. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.แม่แบบ:Relevance inline