ภาษาแอลเบเนีย
ภาษาแอลเบเนีย (แอลเบเนีย: shqip, ออกเสียง [ʃcip] ; หรือ gjuha shqipe, ออกเสียง [ˈɟuha ˈʃcipɛ]) เป็นภาษาและสาขาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งอยู่ในกลุ่มพาเลโอ-บอลข่าน[9] ภาษาแอลเบเนียมาตรฐานเป็นภาษาราชการในประเทศแอลเบเนียกับคอซอวอ และภาษาราชการร่วมในประเทศมาซิโดเนียเหนือกับมอนเตเนโกร เช่นเดียวกันสถานะภาษาชนกลุ่มน้อยในอิตาลี, โครเอเชีย, โรมาเนีย และเซอร์เบีย และยังมีผู้พูดในประเทศกรีซและชาวแอลเบเนียพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา, ยุโรป และโอเชียเนีย[2][10] ทั้งหมดอาจมีผู้พูดมากถึง 7.5 ล้านคน[2] ภาษานี้ประกอบด้วยสาขาต่างหากภายในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาสมัยใหม่อื่น ๆ[11]
ภาษาแอลเบเนีย | |
---|---|
| |
ออกเสียง | [ʃcip] [ˈɟuha ˈʃcipɛ] |
ประเทศที่มีการพูด | |
ชาติพันธุ์ | ชาวแอลเบเนีย |
จำนวนผู้พูด | 7.5 ล้านคน (2017)[1][2] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
รูปแบบก่อนหน้า | แอลเบเนียดั้งเดิม
|
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
|
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | |
ผู้วางระเบียบ | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | sq |
ISO 639-2 | alb (B) sqi (T) |
ISO 639-3 | sqi – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: aae – Arbëreshaat – Arvanitikaaln – Ghegals – Tosk |
Linguasphere | 55-AAA-aaa to 55-AAA-ahe (25 วิธภาษา) |
ภาษาย่อยของภาษาแอลเบเนียในยุโรปใต้[8](แผนที่นี้ไม่ได้ระบุว่าภาษาใดเป้นภาษาชนกลุ่มใหญ่หรือชนกลุ่มน้อย) | |
การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์
แก้ภาษาแอลเบเนียมีผู้พูดประมาณหกล้านคนในภูมิภาคบอลข่าน ส่วนมากในประเทศแอลเบเนีย คอซอวอ มาซิโดเนียเหนือ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และกรีซ[1] อย่างไรก็ตาม การที่มีชุมชนเก่าแก่ในอิตาลีและชาวชาวแอลเบเนียพลัดถิ่นเลยทำให้จำนวนผู้พูดภาษาแอลเบเนียทั่วโลกมากกว่าที่มีอยู่ในยุโรปตอนใต้และจำนวนผู้พูดคิดเป็นประมาณ 7.5 ล้านคน[1][2]
ในทวีปยุโรป
แก้ภาษาแอลเบเนียเป็นภาษาราชการในประเทศแอลเบเนียกับคอซอวอ และเป็นภาษาราชการร่วมในประเทศมาซิโดเนียเหนือกับมอนเตเนโกร[12][13] ภาษาแอลเบเนียเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการรับรองในประเทศโครเอเชีย, อิตาลี, โรมาเนีย และเซอร์เบีย นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้โดยชนกลุ่มน้อยในประเทศกรีซ โดยเฉพาะในหน่วยภูมิภาค Thesprotia กับ Preveza และในบางหมู่บ้านในหน่วยภูมิภาค Ioannina กับ Florina[14]
ภาษาแอลเบเนียยังเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดแพร่หลายมากเป็นอันดับสองจากบรรดาพลเมืองต่างชาติในประเทศอิตาลี[15] เนื่องด้วยการอพยพเข้าอิตาลีของชาวแอลเบเนีย
ภาษาแอลเบเนียกลายเป็ยภาษาราชการในประเทศาซิโดเนียเหนือในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2019[16]
ในทวีปอเมริกา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในทวีปโอเชียเนีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาย่อย
แก้ภาษาแอลเบเนียมีภาษาย่อยที่ชัดเจน 2 ภาษา คือ ตอสก์ที่พูดในภาคใต้ กับเกกที่พูดในภาคเหนือ[17] ภาษาแอลเบเนียมาตรฐานอิงจากภาษาย่อยตอสก์ โดยมีแม่น้ำชกุมบินเป็นเส้นแบ่งหยาบ ๆ ระหว่าง 2 ภาษาย่อย[18]
อักขรวิธี
แก้ภาษาแอลเบเนียใช้ชุดตัวอักษรหลายแบบตั้งแต่มีบันทึกการเขียนแรกสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประวัติอักขรวิธีภาษาแอลเบเนียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการมุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมและความรู้ภาษาต่างประเทศบางภาษาในหมู่นักเขียนชาวแอลเบเนีย[19] ชุดตัวอักษรแอลเบเนียเป็นชุดตัวอักษรละตินที่มีการเพิ่มอักษร <ë>, <ç> และทวิอักษร 10 ตัว คือ: dh, th, xh, gj, nj, ng, ll, rr, zh และ sh
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Rusakov 2017, p. 552.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Klein, Jared; Brian, Joseph; Fritz, Matthias (2018). Handbook of Comparative and Historical Indo-European Linguistics. Walter de Gruyter. p. 1800. ISBN 9783110542431.
- ↑ "Language and alphabet Article 13". Constitution of Montenegro. WIPO. 19 October 2007.
Serbian, Bosnian, Albanian and Croatian shall also be in the official use.
- ↑ Franceschini 2014, pp. 533–534 [1]
- ↑ "Application of the Charter in Serbia" (PDF). European Charter for Regional or Minority Languages. 11 June 2013. pp. 4–5, 9.
- ↑ Franceschini, Rita (2014). "Italy and the Italian-Speaking Regions". ใน Fäcke, Christiane (บ.ก.). Manual of Language Acquisition. Walter de Gruyter GmbH. p. 546. ISBN 9783110394146.
- ↑ "Reservations and Declarations for Treaty No.148 – European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
- ↑ Coretta, Stefano; Riverin-Coutlée, Josiane; Kapia, Enkeleida; Nichols, Stephen (2022). "Northern Tosk Albanian". Journal of the International Phonetic Association. Illustration of the IPA: 1–23. doi:10.1017/S0025100322000044. hdl:20.500.11820/ebce2ea3-f955-4fa5-9178-e1626fbae15f.
- ↑ Orel 2000, p. 12 ; Matzinger 2018, p. 1790; Matasović 2019, p. 39 ; Hamp 1963, p. 104; Katicic 2012, p. 184: "And yet we know that it is the continuation of a language spoken in the Balkans already in ancient times. This has been proved by the fact that there are Ancient Greek loan words in Albanian".
- ↑ Fatjona Mejdini (3 May 2013). "Albania Aims to Register its Huge Diaspora". Balkan Insight. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
- ↑ Fortson 2010, p. 446
- ↑ "Constitution of the Republic of Kosovo (with amendments I-XXVI)". Library of Congress.
Article 5 [Languages] 1. The official languages in the Republic of Kosovo are Albanian and Serbian. ...
- ↑ Trandafili, Evis; Meçe, Elinda Kajo; Duka, Enea (2020). Appice, Annalisa; Ceci, Michelangelo; Loglisci, Corrado; Manco, Giuseppe; Masciari, Elio; Ras, Zbigniew W. (บ.ก.). Complex Pattern Mining: New Challenges, Methods and Applications (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. p. 89. ISBN 978-3-030-36617-9.
It [Albanian] is the official language of Albania, the co-official language of Kosovo, and the co-official language of many western municipalities of the Republic of Macedonia. Albanian is also spoken widely in some areas in Greece, southern Montenegro, southern Serbia, and in some towns in southern Italy and Sicily.
- ↑ Euromosaic project (2006). "L'arvanite/albanais en Grèce" (ภาษาฝรั่งเศส). Brussels: European Commission. สืบค้นเมื่อ 5 December 2016.
- ↑ "Linguistic diversity among foreign citizens in Italy". Statistics of Italy. 25 July 2014. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ "Macedonia's Albanian-Language Bill Becomes Law". Radio Free Europe/Radio Liberty. 15 January 2019.
- ↑ Gjinari, Jorgji. Dialektologjia shqiptare
- ↑ The river Shkumbin in central Albania historically forms the boundary between those two dialects, with the population on the north speaking varieties of Geg and the population on the south varieties of Tosk. (page 23) Concise Encyclopedia of Languages of the World By Keith Brown, Sarah Ogilvie Contributor Keith Brown, Sarah Ogilvie Edition: illustrated Published by Elsevier, 2008 ISBN 0-08-087774-5, ISBN 978-0-08-087774-7
- ↑ Lloshi 2008, p. 12.
บรรณานุกรม
แก้- Fortson, Benjamin Wynn IV (2010). Indo-European Language and Culture: An Introduction (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4443-5968-8.
- Hamp, Eric P. (1963). "The Position of Albanian, Ancient IE dialects". ใน Birnbaum, Henrik; Puhvel, Jaan (บ.ก.). Proceedings of the Conference on IE linguistics held at the University of California, Los Angeles, April 25–27, 1963.
- Katicic, Radoslav (2012). Ancient Languages of the Balkans. Walter de Gruyter. ISBN 978-3111568874.
- Lloshi, Xhevat (2008). Rreth alfabetit të shqipes: me rastin e 100-vjetorit të Kongresit të Manastirit. Skopje–Pristina–Tirana: Logos-A. ISBN 9789989582684.
- Matzinger, Joachim (2018). "The Lexicon of Albanian". ใน Klein, Jared; Joseph, Brian; Fritz, Matthias (บ.ก.). Handbook of Comparative and Historical Indo-European Linguistics (ภาษาอังกฤษ). Vol. 3. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-054243-1.
- Rusakov, Alexander (2017). "Albanian". ใน Kapović, Mate; Giacalone Ramat, Anna; Ramat, Paolo (บ.ก.). The Indo-European Languages. Routledge. ISBN 9781317391531.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Albanian Online by Brian Joseph, Angelo Costanzo, and Jonathan Slocum, free online lessons at the Linguistics Research Center at the University of Texas at Austin
- glottothèque – Ancient Indo-European Grammars online, an online collection of introductory videos to Ancient Indo-European languages produced by the University of Göttingen