จังหวัดกำแพงเพชร

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก กำแพงเพชร)

กำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 4 ของภาคกลาง รองจากจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับที่ 54 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเก่าแก่หลายแห่ง เช่น เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคณฑี เป็นต้น[3] มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย เช่น อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และยังเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกอีกด้วย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดตาก

จังหวัดกำแพงเพชร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Kamphaeng Phet
คำขวัญ: 
กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯ ล้ำค่า
ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ
เลื่องลือมรดกโลก
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกำแพงเพชรเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกำแพงเพชรเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกำแพงเพชรเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายชาธิป รุจนเสรี
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด8,607.490 ตร.กม. (3,323.370 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 22
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด704,948 คน
 • อันดับอันดับที่ 37
 • ความหนาแน่น82.74 คน/ตร.กม. (214.3 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 54
รหัส ISO 3166TH-62
ชื่อไทยอื่น ๆชากังราว, นครชุม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สีเสียดแก่น
 • ดอกไม้พิกุล
 • สัตว์น้ำปลาตะพากเหลือง
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร หมู่ที่ 6 ถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
 • โทรศัพท์0 5570 5004
 • โทรสาร0 5570 5099
เว็บไซต์www.kamphaengphet.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภาคกลาง โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย เพราะมีแม่น้ำปิงไหลผ่านจังหวัดเป็นระยะทาง 104 กิโลเมตร โดยจะมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ เป็นเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศตะวันตก จังหวัดกำแพงเพชรได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุม ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนทำให้มีฝนตกทั่วไป [4]

ประวัติศาสตร์

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ"[ต้องการอ้างอิง]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกระบบกินเมืองและระบบหัวเมืองแบบเก่า และกำหนดให้ใช้ระบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเป็นการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย แบ่งเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ได้มีการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ประมาณ พ.ศ. 2438 โดยมี "เมืองกำแพงเพ็ชร" (ตามการสะกดเดิม) เป็นส่วนหนึ่งของมณฑล เช่นเดียวกับเมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เมืองมโนรมย์ เมืองพยุหะคีรี เมืองสรรคบุรี เมืองตาก และเมืองอุทัยธานี[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด ทำให้เมืองกำแพงเพ็ชร เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "จังหวัดกำแพงเพ็ชร" จังหวัดกำแพงเพ็ชรเมื่อ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 4 อำเภอ 1 กิ่ง (กิ่งอำเภอ) ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพ็ชร อำเภออุ้มผาง อำเภอพรานกระต่าย อำเภอขาณุ (ปัจจุบันคืออำเภอคลองขลุง) และกิ่งแสนตอ (ปัจจุบันคืออำเภอขาณุวรลักษบุรี)[6] ต่อมาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2468 ได้ยุบอำเภออุ้มผางลงเป็นกิ่งอุ้มผาง และโอนไปขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[7] ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ โดยให้จังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครสวรรค์เดิมย้ายไปอยู่ในการปกครองของมณฑลอยุธยา ยกเว้นจังหวัดกำแพงเพ็ชร จังหวัดตาก ที่ย้ายไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก[8]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น ทำให้มณฑลทั้งหมดถูกล้มเลิกไป จังหวัดจึงกลายเป็นเขตการปกครองระดับสูงที่สุดของประเทศไทย และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดเป็น "จังหวัดกำแพงเพชร" จนถึงปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดกำแพงเพชรมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลางตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 362 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 8,607.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,379,688 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศ

 
ลำน้ำคลองขลุง

จังหวัดกำแพงเพชรมีแม่น้ำปิงไหลผ่านเป็นระยะทางยาวประมาณ 104 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

  • ลักษณะที่ 1 เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างแบบตะพักลุ่มน้ำ (Alluvial Terrace) มีระดับความสูงประมาณ 43-107 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกและใต้ของจังหวัด
  • ลักษณะที่ 2 เป็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับที่ราบ พบเห็นบริเวณด้านเหนือ และตอนกลางของจังหวัด
  • ลักษณะที่ 3 เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งแร่ธาตุ และต้นน้ำลำธารต่างๆ ที่สำคัญ เช่น คลองวังเจ้า คลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทร ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

โดยสรุปแล้ว ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ด้านตะวันตกเป็นภูเขาสูงลาดลงมา ทางด้านตะวันออก ลักษณะดินเป็นดินปนทรายเหมาะแก่การทำนา และปลูกพืชไร่

ภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศของจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุม ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนทำให้มีฝนตกทั่วไป สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมมีอากาศร้อนอบอ้าว ทั่วไป โดยเฉพาะในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี
  • ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง เดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดคือ เดือนธันวาคมและมกราคม [4]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: รูปกำแพงมีเพชรฝังอยู่ในใบเสมา
  • ธงประจำจังหวัด: เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง
  • คำขวัญประจำจังหวัด: กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพิกุล (Mimusops elengi)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: สีเสียดแก่น (Acadia catechu)

การเมืองการปกครอง

จังหวัดกำแพงเพชรมีรูปแบบการปกครองเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นในประเทศไทย โดยจะแบ่งเป็นสองลักษณะ คือ การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น[9]

การปกครองส่วนภูมิภาค

สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัด โดยจังหวัดต่าง ๆ ประกอบด้วย "อำเภอ" ซึ่งมีนายอำเภอที่มาจากการแต่งตั้งเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมดูแลท้องที่ของอำเภอนั้น ๆ แล้วในแต่ละอำเภอก็จะมี "ตำบล" ซึ่งมีกำนันเป็นผู้ตรวจตราความสงบเรียบร้อยของตำบล และแต่ละตำบลก็จะมี "หมู่บ้าน" ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนของท้องที่นั้น ๆ เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านปกครองและมีหน้าที่ในการเลือกผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเองขึ้นมาเป็นกำนัน

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร

โดยจังหวัดกำแพงเพชรแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 78 ตำบล 823 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

ลำดับ ชื่ออำเภอ
(ภาษาไทย)
ชื่ออำเภอ
(อักษรโรมัน)
จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2566)
1 เมืองกำแพงเพชร Mueang Kamphaeng Phet 16 207,335
2 ไทรงาม Sai Ngam 7 49,697
3 คลองลาน Khlong Lan 4 61,715
4 ขาณุวรลักษบุรี Khanu Woralaksaburi 11 101,107
5 คลองขลุง Khlong Khlung 10 67,553
6 พรานกระต่าย Phran Kratai 10 69,717
7 ลานกระบือ Lan Krabue 7 42,408
8 ทรายทองวัฒนา Sai Thong Wattana 3 22,300
9 ปางศิลาทอง Pang Sila Thong 3 30,014
10 บึงสามัคคี Bueng Samakkhi 4 25,308
11 โกสัมพีนคร Kosamphi Nakhon 3 27,794

การปกครองส่วนท้องถิ่น

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ใช้อำนาจในการสั่งการหรือกำหนดนโยบายเพื่อบริหารราชการภายในจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรคนปัจจุบัน คือ สุนทร รัตนากร จากกลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งภายหลังจากการเลือกตั้งโดยตรง พ.ศ. 2563 และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละอำเภอเป็นผู้ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 30 คน[10]

ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับพื้นฐานนั้น ได้แก่ "เทศบาล" และ "องค์การบริหารส่วนตำบล" ซึ่งเป็นการปกครองในรูปแบบกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น มีนายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้งตามชุมชนหรือหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลท้องที่ของเขตการปกครองนั้น ๆ โดยจังหวัดกำแพงเพชรมีเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 89 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 3 แห่ง, เทศบาลตำบล 22 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 64 แห่ง[11] ซึ่งรายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ดังนี้

  • อำเภอไทรงาม
    • เทศบาลตำบลไทรงาม
  • อำเภอลานกระบือ
    • เทศบาลตำบลลานกระบือ
    • เทศบาลตำบลช่องลม
    • เทศบาลตำบลประชาสุขสันต์
  • อำเภอปางศิลาทอง
    ไม่มีเทศบาล
  • อำเภอโกสัมพีนคร
    ไม่มีเทศบาล

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1  พระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
2  พระยารามรณรงค์สงคราม (นาค)
3  พระยารามรณรงค์สงคราม (บัว)
4  พระยารามรณรงค์สงคราม (เถื่อน)
5  พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย)
6  พระยารามรณรงค์สงคราม (เกิด)
7  พระอินทรเดช (บัว รามโกมุท)
8  พระยารามรณรงค์สงคราม (อ่อง)
9  พระยามหานุภาพ
10  พระยารามรณรงค์สงคราม (อุ่น รามสูต)
11  พระยารามรณรงค์สงคราม (หรุ่น อินทรสูต)
12  พระยาวิเชียรปราการ (ฉาย อัมพะเศวต) พ.ศ. 2449
13  พระยากำแพงพลล้าน (ชื้น คชภูมิ)
14  พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์)
15  พระผดุงภูมิพิพัฒน์ (สิน สุคันธคุล)
16  พระรังสรรค์สารกิจ (เทียน กาญจนประกร)  พ.ศ. 2469–2470
17  พระยาสำราญนฤปกิจ (เชื้อ โรจนวิภาติ)  พ.ศ. 2470–2470
18  หลวงศรีนฤนาท (ม.ล.สวาสดิ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา)  พ.ศ. 2470–2471
19  พระยาภักดีดินแดน (เชื่อม มุสิกวัต)  พ.ศ. 2472–2478
20  หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์  พ.ศ. 2478–2482
21  หลวงปริวรรตวรจิตร (จันทร์ เจริญชัย)  พ.ศ. 2482–2484
22  พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์)  พ.ศ. 2484–2486
23  นายใหญ่ สิมะสิงห์  พ.ศ. 2486–2488
24  หลวงนครคุณปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์)  พ.ศ. 2488–2489
25  นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต  พ.ศ. 2490–2490
26  หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น เขียนอาภรณ์)  พ.ศ. 2490 มิ.ย. – ธ.ค.
27  นายสุวรรณ รื่นยศ  พ.ศ. 2490–2493
28  นายจรัส ธารีสาร  พ.ศ. 2493–2498
29  นายนารถ มนตเสวี  พ.ศ. 2498–2499
30  นายสนิท จุฑะรพ​  พ.ศ. 2499–2500
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
31  นายลิขิต สัตยายุทย์  พ.ศ. 2500–2500
32  ขุนอักษรสารสิทธิ์  พ.ศ. 2500–2501
33  นายขณห์ นกแก้ว  พ.ศ. 2501–2502
34  นายพัฒน์ พินทุโยธิน  พ.ศ. 2503–2507
35  ร.ต.ท.ปิ่น สหัสโชติ  พ.ศ. 2507–2512
36  นายบุญรอด โชตะมังษะ  พ.ศ. 2512–2514
37  นายรำไพ นิมิตกุล  พ.ศ. 2514–2519
38  นายกาจ รักษ์มณี  พ.ศ. 2519–2521
39  นายประกิต อุตตะโมต  พ.ศ. 2521–2522
40  นายฉลอง วงษา  พ.ศ. 2522–2523
41  นายจำนง ยังเทียน  พ.ศ. 2523–2525
42  นายเชาว์วัศ สุดลาภา  พ.ศ. 2525–2527
43  นายชาญ พันธุมรัตน์  พ.ศ. 2527–2531
44  พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ  พ.ศ. 2531–2532
45  ร.ต.ทวี ผดุงรัตน์  พ.ศ. 2532–2533
46  ร.อ.อริยะ อุปารมี  พ.ศ. 2533–2534
47  ร.ต.สมนึก เกิดเกษ  พ.ศ. 2534–2536
48  นายศิวะ แสงมณี  พ.ศ. 2536–2540
49  นายกฤษณ์ ธีระชัยชยุติ  พ.ศ. 2540–2541
50  นายยงยุทธ ตะโกพร  พ.ศ. 2541–2544
51  นายกฤช อาทิตย์แก้ว  พ.ศ. 2544–2547
52  นายไพศาล รัตนพัลลภ  พ.ศ. 2547–2549
53  นายวิทยา ผิวผ่อง     พ.ศ. 2549–2551
54  นายวันชัย อุดมสิน  พ.ศ. 2551–2552
55  นายวันชัย สุทิน  พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน 2556
56  นายสุรพล วาณิชเสนี  1 ตุลาคม 2556 – 1 กุมภาพันธ์ 2558
57  นายธานี ธัญญาโภชน์  2 กุมภาพันธ์ 2558 – 30 กันยายน 2560
58  นายธัชชัย สีสุวรรณ  1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
59  นายเชาวลิตร แสงอุทัย  1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2565
60  นายชาธิป รุจนเสรี  1 ตุลาคม 2565 – ปัจจุบัน

การศึกษา

จังหวัดกำแพงเพชร มีสถาบันการศึกษาหลากหลายแห่ง ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ดังนี้

มัธยมศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

ประถมศึกษา

อาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
  • วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี กำแพงเพชร
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
  • วิทยาลัยการอาชีพขาณุวรลักษบุรี

อุดมศึกษา

การขนส่ง

รถยนต์

จากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดกำแพงเพชรได้หลายเส้นทาง คือ

ทางหลวงแผ่นดิน

 
วงเวียนต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร

ทางหลวงสายสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรมีดังนี้

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ

งานประเพณี

 
ประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
  • ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง
  • ประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
  • งานเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร
  • งานแข่งขันเรือยาวประเพณีลำน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • งานเทศกาลกินกุ้งก้ามกราม

สถานที่สำคัญ

 
ช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

บุคคลที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
  3. [1] เก็บถาวร 2021-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ข้อมูลจังหวัด - ประวัติความเป็นมา.
  4. 4.0 4.1 [2], สภาพภูมิอากาศของจังหวัดกำแพงเพชร.
  5. พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 14-15; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 172, 549-551.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-01.
  7. [3] เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบแยกและตั้งอำเภอในมณฑลนครสวรรค์
  8. "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 29 กุมภาพันธ์ 1932. สืบค้นเมื่อ 2024-06-03.{{cite journal}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. สุเทพ เอี่ยมคง (2557). "การบริหารราชการแผ่นดิน". สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "สมาชิกสภา". องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2024.
  11. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2024.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

16°28′N 99°31′E / 16.47°N 99.52°E / 16.47; 99.52