Raitai
- 2. ชื่อพื้นเมือง ไผ่รวก ภาคเหนือเรียก ไม้ฮวก ชื่อวิทยาศาสตร์ Thyrsostachys slamensis Gamble ชื่อวงศ์ GRAMINEAE การปลูก ไผ่รวกเป็นไผ่ลำเล็ก ขึ้นชิดแน่นทึบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 9.5 ซม . สูง 5-10 เมตร ไม่มีหนาม หน้าใบมีขนเล็กๆ กาบหุ้ม กาบหน่อ สีขาว ลำปล้อง แต่ละปล้อง ยาว 7-23 ซม . ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มักขึ้นเองตามป่าราบและบนเขาสูงๆ แพร่พันธุ์ด้วยหน่อ ซึ่งแทงออกมาจากโคนต้น
- 3. ลำต้นอ่อน มีขนแหลมเล็ก ๆ สีขาว มีกาบหุ้มลำ มีความสูงของลำต้น 1 – 6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 2 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางจะแปรผันตามขนาดของลำต้น ลำต้น ลักษณะของลำต้น ขึ้นเป็นกอ รูปร่างทรงพุ่มไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับขนาดของกอ ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบ ลื่น มีวงใต้ข้อสีขาว ต้นแก่ จะมีข้อหนา มีรอยตกกระเป็นจุด ๆ สากมือ
- 4. ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้อง ความยาวของปล้องในส่วนโคนลำต้นจะมีช่วงสั้น และจะยาวขึ้นในช่วงกลางลำต้น ความยาวของปล้อง ตั้งแต่ 2 – 30 เซนติเมตร จำนวนปล้อง 12 – 23 ปล้อง จำนวนลำต้น ในแต่ละกอ 6 – 32 ลำต้น ดังใบงานเรื่อง ความหนาแน่นของลำต้นไผ่รวก ความสูงของลำต้นไผ่รวก ขนาดลำต้นของไผ่รวก การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นไผ่รวก และจำนวนปล้องของลำต้นไผ่รวก
- 5. ใบ ลักษณะของใบ ใบเดี่ยวสีเขียว เรียวแหลมยาว ด้านหลังใบ มีขนอ่อน เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกนิ่ม ส่วนท้องใบจะสาก ระคายมือ ก้านใบสั้น ครีบใบเล็ก ขอบใบ มีหนามเล็ก ๆ และคม รู้สึกได้เมื่อสัมผัส และเมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นมี เส้นใบ 4-6 เส้น
- 6. ใบแก่จะมีสีเหลือง และในฤดูแล้ง จะร่วงจนหมดต้น ใบมีความหนา 0.055 – 0.13 มิลลิเมตร ความกว้างของใบ 0.5 –1.5 เซนติเมตร ความยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบไผ่รวกที่แตกออกมาก่อน จะมี ขนาดใหญ่ที่สุด และใบที่แตกออกมาทีหลังจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ
- 7. ราก มีสีขาวแกมเหลืองรากของไผ่รวกมี 2 ชนิดคือ รากฝอย และ รากแขนง รากฝอยมีขนาดเล็กมาก เป็นฝอย เรียวยาว แบ่งเป็น รากฝอยที่อยู่เหนือดิน และ รากฝอยที่อยู่ใต้ดิน รากฝอยที่อยู่เหนือดิน พบมากตามข้อ มีรากสั้น พบระหว่างข้อที่ 1 – 3
- 8. รากฝอยที่อยู่ใต้ดิน ยาวกว่ารากฝอยที่อยู่เหนือดิน ทำหน้าที่ ดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน มีลักษณะเป็นเส้นใยเกาะตัวหนากว่ารากฝอยที่อยู่เหนือดิน รากแขนง แตกออกจากรากฝอย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05 – 0.15 เซนติเมตร ลักษณะเรียวยาว
- 9. กิ่ง การแตกกิ่งมีลักษณะแบบผสมเหนือแนว ข้อในกาบหุ้มลำตั้งแต่ปล้องที่ 6 จากโคนต้น สูงจากพื้นอย่างต่ำ 50 เซนติเมตร จำนวนกิ่งจะมีตั้งแต่ 1 – 21 กิ่ง การแตกกิ่งจะเริ่มจากโคนของลำต้นจนถึงยอดกิ่ง มี 2 ลักษณะ คือ กิ่งแขนง และกิ่งย่อย ซึ่งแตกออกจากตา มีลักษณะเป็นข้อปล้อง มีกาบหุ้ม เช่นเดียวกับลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียวสดและเมื่อกิ่งแก่สีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีเขียวเข้ม มีแถบสีเหลืองแกมเขียวตามปล้อง ในกิ่งย่อยจะมีจำนวนใบเฉลี่ย 3 – 9 ใบ
- 10. กาบหุ้มลำ มีลักษณะหนา แข็ง สีของกาบปล้องล่างพบว่ามีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนบนมีสีน้ำตาลอ่อน ปลายกาบมีกระจังสูง 1 – 1.5 เซนติเมตร ฐานกาบ กว้าง 5 – 13 เซนติเมตร ยาว 10 – 14 เซนติเมตร กาบจะหลุดร่วงเมื่อลำเจริญเติบโต เต็มที่ หลุดร่วงค่อนข้างยาก โดยจะหลุดออกจากข้อล่าง ขึ้นข้อบน กาบลำ
- 12. วงชีวิตของไผ่รวก จากการศึกษาการขยายพันธุ์โดยใช้ตอหรือเหง้า พบว่า เหง้าที่นำมาขยายพันธุ์ มีดินติดอยู่หรือไม่ก็ตามจะสามารถขยายพันธุ์ได้ และแตกหน่อใหม่ได้ในเวลาประมาณ 20 วัน รูปแสดงเหง้าของต้นไผ่รวก ที่นำมาขยายพันธุ์ หากต้องการให้ไผ่รวกแตกหน่อนอกฤดูกาลก็สามารถทำได้โดย ให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน รูปแสดงหน่อไผ่รวกที่ออกหน่อนอกฤดูกาล ( ฤดูฝน ) ส่วนการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดของไผ่รวกนั้นไม่ได้ทำการศึกษา เพราะไผ่รวกบริเวณที่ศึกษาไม่มีดอก
- 13. ความสัมพันธ์ระหว่างไผ่รวกกับสัตว์ สัตว์ที่พบบริเวณที่ทำการศึกษาส่วนมากพบสัตว์จำพวกแมงและแมลงต่างๆ เช่น แมลงทับ หนอน แมงมุม ผีเสื้อ เพลี้ย ปลวก ซึ่งสัตว์พวกนี้ใช้ประโยชน์จากไผ่ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและอาหาร
- 14. ความสัมพันธ์ระหว่างไผ่รวกกับพืช ไผ่รวกเป็นพืชที่ขึ้นบริเวณกลางแจ้ง อากาศค่อนข้าง แห้งแล้ง ดังนั้นพืชที่พบส่วนมากเป็นพืชที่สามารถทนสภาพที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ดี เช่น ส้มเกลี้ยง ยอป่า กัญชาป่า สนวน สุพรรณิการ์ แจง มะขาม หญ้าสาปเสือ ฟ้าทะลายโจร ต้นพวยงู เป็นต้น และพืชพวกนี้ใช้ประโยชน์จากดินขุยไผ่ นอกจากนี้ยังพบเห็ดไผ่ขึ้นอยู่บริเวณโคนของไผ่บางกอ ขนาดของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4 เซนติเมตร สูง 4 - 5 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายร่มรูปพัด มีสีน้ำตาลอ่อนสัมผัสแล้วรู้สึกลื่น ในหนึ่งกอไผ่พบ 4 - 8 ดอก ดังรูป
- 15. ความสัมพันธ์ระหว่างไผ่รวกกับจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่พบในบริเวณที่ศึกษา ได้แก่ จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ โดยเฉพาะ จุลินทรีย์ที่ย่อยซากใบไผ่ หลังจากกระบวนการย่อยสลายเสร็จสิ้นลง ทำให้ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก เรียกว่า ดินขุยไผ่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ปลูกพืชต่าง ๆ ได้ จุลินทรีย์ที่พบอีกชนิดหนึ่ง คือ ไลเคนส์ พบติดอยู่กับต้นไม้ บริเวณใกล้เคียงกับกอไผ่ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง ดังรูป
- 16. การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องของประโยชน์ ไผ่ … ต้นไม้สารพัดประโยชน์ ต้นไผ่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน และในปัจจุบันไผ่ก็ยังทรงคุณค่าประโยชน์นานับประการ ไผ่มีประโยชน์ตั้งแต่ใช้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี ของเล่น ภาชนะเครื่องใช้ และหน่อไม้ก็ใช้ประโยชน์ต่อการบริโภคและขายเป็นอาชีพได้ 2. ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ - ด้ามไม้กวาด ด้ามอุปกรณ์การเกษตรและเครื่องครัว 1. ใช้เป็นยารักษาโรค 1.1 ใบ ขับและฟอกโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ 1.2 ตา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้ ไข้กาฬ 1.3 ราก ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ ขับนิ่ว แก้หนอง 1.4 หน่อ แก้ตับหย่อน ม้ามหย่อน เลือดเป็นก้อน
- 17. ทำบันได ฝายุ้งข้าว กระบี่กระบอง ทำแร้วดักหนู ตัดสายสะดือเด็ก ใช้ทำรางใส่อาหารสัตว์ ทำร้านในการปลูกพืช เช่น ฟัก บวบ ทำไม้คาน ทำเครื่องดนตรีไทย ใช้ทำกระดาษจากเปลือกหน่อไม้และ เนื้อหน่อไม้ คันเบ็ด เครื่องเล่น เช่น ไม้ยิงโบ๊ะ ตุ๊กตาไม้ตีลังกา ใช้ไม้รวกแทนเหล็กเส้น เพิ่มความแข็งแรงของคอนกรีต ใช้ทำอุปกรณ์ออกกำลังกายแทนท่อ PVC ทำโต๊ะ เก้าอี้
- 18. ชั้นวางของ แบบจำลองบ้าน ไม้ตะพด กระถางต้นไม้ ไม้เกาหลัง 3. ใช้เป็นอาหาร 3.1 อาหารคาว - แกงเผ็ด - แกงส้ม - แกงเขียวหวาน - แกงปลาหน่อไม้เปรี้ยว ผัดหน่อไม้ใส่ไข่ พะโล้ ห่อหมก เยื่อไผ่น้ำแดง ผักลวกจิ้มน้ำพริก ต้มจืดหน่อไม้ แกงป่า หน่อไม้อบแห้ง ต้มจับฉ่าย ซุปหน่อไม้ แกงเหลือง กระเพาะปลาน้ำแดง แกงไตปลา แกงไก่หน่อไม้ดอง แกงโฮะ แกงคั่วหอยขม ต้มปลาร้าหน่อไม้
- 19. 3.3 อาหารว่าง - ขนมก๋วยท้อ - ขนมแคะ - ซาลาเปาไส้หน่อไม้ - ปอเปี๊ยะทอด - ก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้หน่อไม้ - ขนมกุยช่ายไส้หน่อไม้ - ขนมจีบ 3.2 อาหารหวาน - ขนมหน่อไม้
- 20. การวิเคราะห์ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเชื่อภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี ที่เกี่ยวข้องกับไผ่รวก 1.1 การทำแร้ว ด้วงดักหนู 1.2 การทำหน่อไม้ดองบรรจุขวด 1.3 การทำขนมหน่อไม้ 1.4 การนำไผ่รวกไปใช้แทนเหล็กเส้นเพื่อทำ พื้นคอนกรีต 1.5 การนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาเหล็ก ของช่างตีเหล็ก
- 21. การศึกษาเรื่องไผ่รวก ของโรงเรียนอุทัยวิทยาคม บริเวณเขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ในเขตพื้นที่ 126 ตารางเมตร จำนวน 45 กอ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ไม้ไผ่รวกเขาสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ได้นำมา บูรณาการในการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้ใกล้ชิด กับธรรมชาติ และตระหนักในคุณค่าของไผ่รวกเขาสะแกกรัง ศึกษาถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากไผ่รวก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และดำเนินการศึกษา ด้านพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา นิเวศวิทยา การใช้ประโยชน์ และภูมิปัญญาท้องถื่น สรุปผลการศึกษา