39A4861718A1F0E734E4BE2E54F0192F2C571FC9_แบบทดสอบไอออนิก

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

1.

การเกิดสารประกอบไอออนิกที่เสถียรควรจะต้องมีพลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี และ


พลังงานแลตทิซเป็นอย่างไร ตามลำดับ
กำหนดให้ IE แทน ค่าพลังงานไอออไนเซชัน
EN แทน ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
EL แทน ค่าพลังงานแลตทิซ
1. ต่ำ ต่ำ และสูง 2. ต่ำ สูง และสูง
3. ต่ำ สูง และต่ำ 4. สูง สูง และต่ำ
5. สูง ต่ำ และสูง
2. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
ก. สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ (M) หมู่ IA IIA และ IIIA มีสูตรโมเลกุลเป็น MCl MCl2 และ MCl3
ตามลำดับ
ข. พันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าของไอออนบวกและไอออนลบ
ค. โลหะที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูงจะสามารถเกิดพันธะไอออนิกได้ง่ายและแข็งแรงกว่าโลหะที่มี
พลังงานไอออไนเซชันต่ำ
ง. สารประกอบไอออนิกมีสถานะเป็นของแข็ง สามารถละลายน้ำและนำไฟฟ้าได้ดี
ข้อใดถูกต้อง
1. ข้อ ก 2. ข้อ ข
3. ข้อ ค 4. ข้อ ง
5. ข้อ ก และ ง
3. สารในข้อใดเป็นสารประกอบไอออนิกทุกสาร
1. BF3 SrCl2 และ AlCl3 2. NaI MgSO4 และ SiO2
3. KCl BeCl2 และ Na2O 4. HCl AgCl และ NaNO3
5. NH4Cl BaCl2 และ K2SO4
4. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. Fe2O3 เรียกว่า ไอร์ออนออกไซด์ และ Cu2O เรียกว่า คอปเปอร์ (II) ออกไซด์
ข. ผลึก NaCl มีลักษณะผลึกแตกต่างจากผลึก CsCl
ค. แรงยึ ด เหนี ่ ยวระหว่ างโมเลกุ ลที่ ม ีประจุไฟฟ้า ทำให้ส ารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและ
จุดเดือดสูง
ง. สารประกอบไอออนิกเกิดจากธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชัน ต่ำกับธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
มาสร้างพันธะกัน
ข้อใดถูกต้อง
1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ก และ ค
3. ข้อ ข และ ง 4. ข้อ ข ค และ ง
5. ถูกต้องทุกข้อ
5. โครงสร้างผลึกของสารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่งมี J เป็นไอออนบวก และ Q เป็นไอออนลบ พบว่ามี
Q ล้อมรอบแต่ละ J อยู่ 4 ไอออน และมี J ล้อมรอบแต่ละ Q อยู่ 2 ไอออน ข้อใดคือประจุของ J และ Q
ตามลำดับ
1. +1 และ –1 2. +2 และ –4
3. +3 และ –2 4. +1 และ –2
5. +4 และ –2
6. ธาตุ ส มมติ A B C และ D มีเลขอะตอมเป็น z–1 z z+1 และ z+2 ตามลำดั บ ถ้ า z = 9 ธาตุคู่ใด
สร้างพันธะไอออนิกได้
1. A และ B 2. A และ C
3. B และ C 4. B และ D
5. C และ D
7. สารประกอบไอออนิกข้อใดมีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด
1. KCl 2. BaO
3. CaO 4. MgO
5. NaCl
8. การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุสมมติ L Q P และ R เป็นดังนี้
L : 1s2 2s2 2p4 Q : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p5
P : 1s2 2s2 2p6 3s1 R : 1s2 2s2 2p6 3s2
สารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้นระหว่างธาตุสมมติทั้ง 4 ควรเป็นข้อใด
1. L2P RL PQ และ R2Q 2. LP RL PQ และ RQ
3. P2L RL PQ และ RQ2 4. LP R2L P2Q และ RQ
5. LP R2L PQ และ R2Q
9. การละลายของเกลือ LiCl(s) ในน้ำ มีขั้นตอนดังนี้

LiCl(s) Li+(g) + Cl–(g) ….. (1)


Li+(g) + Cl–(g) Li+(aq) + Cl–(aq) ….. (2)
LiCl(s) Li+(aq) + Cl–(aq) ….. (3)

ถ้ามีค่าพลังงานแลตทิซ 834 กิโลจูลต่อโมล ค่าพลังงานไฮเดรชัน 884 กิโลจูลต่อโมล ปฏิกิริยาทั้ง 3


ปฏิกิริยาเป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายพลังงาน และพลังงานของปฏิกิริยารวมมีค่ากี่กิโลจูลต่อโมล ตามลำดับ
1. คายพลังงาน ดูดพลังงาน ดูดพลังงาน และ 50
2. ดูดพลังงาน คายพลังงาน คายพลังงาน และ 50
3. ดูดพลังงาน ดูดพลังงาน ดูดพลังงาน และ 1,718
4. ดูดพลังงาน คายพลังงาน คายพลังงาน และ 1,718
5. คายพลังงาน คายพลังงาน คายพลังงาน และ 1,718
10. เมื่อหยดสารละลาย A ลงในสารละลาย B จะได้ตะกอนขาวของสาร C และเมื่อหยดสารละลาย D ลงใน
สารละลาย A จะไม่เกิดตะกอนชนิดใด ๆ สาร A B C และ D ชุดใดสอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
1. Ba(NO3)2 NaCl BaCl2 และ NaOH
2. Ca(NO3)2 Na2SO4 NaNO3 และ NaCl
3. Ca(NO3)2 Na3PO4 Ca3(PO4)2 และ KCl
4. Ba(NO3)2 Na2SO4 BaSO4 และ Na2CO3
5. Ca(NO3)2 Na3PO4 Ca3(PO4)2 และ NaNO3
11. เมื่อละลาย Na3PO4 12.4 กรัม ในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วเทสารละลายที่ได้ลงในสารละลาย
AgNO3 เข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร จำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปรากฏว่ามีตะกอนสีเหลืองเกิดขึ้น
ถ้าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความสามารถในการละลายของเกลือต่าง ๆ เป็นดังนี้

เกลือ การละลาย (g/น้ำ 100 g)


AgNO3 245
NaNO3 92
Na3PO4 15
Ag3PO4 0.006

สมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือข้อใด

1. Na3PO4 + 3AgNO3 Ag3PO4 + 3NaNO3


2. Na3PO4(aq) + 3AgNO3(aq) Ag3PO4(s) + 3NaNO3(aq)
3. 3Ag+(aq) + PO34− (aq) ⎯H⎯→ 2O
Ag3PO4(s)
4. Ag+(aq) + PO34− (aq) AgPO4(s)
5. 3Na+(aq) + PO34− (aq) ⎯H⎯→ 2O
Na3PO4(s)
12. พิจารณาปฏิกิริยาของสารต่อไปนี้
ก. CdCl2(aq) + (NH4)2S(aq) ข. Cu(NO3)2(aq) + Na2CO2(aq)
ค. H2SO4(aq) + MgCO3(s)
ปฏิกิริยาข้อใดมีตะกอนเกิดขึ้น
1. ข้อ ก 2. ข้อ ก และ ข
3. ข้อ ก และ ค 4. ข้อ ข และ ค
5. ถูกต้องทุกข้อ

You might also like