Academia.eduAcademia.edu

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม อโวคาโด้

3 การตรวจเอกสาร อะโวกาโด อะโวกาโด Persea americana Mill. (Luaraceae ) จัดเปนไมผลเขตกึ่งรอน มีถนิ่ กําเนิด ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง พบครั้งแรกในเม็กซิโกและเปรู ปจจุบนั ปลูกมากที่สดุ ในเขตกึ่งรอน และเขตรอน เชน อาฟริกาใต ออสเตรเลียและอิสราเอล (Purseglove, 1974) ลักษณะทั่วไป ตน อะโวกาโดเปนไมผลยืนตนที่มีใบสีเขียวตลอดปตนโตเต็มที่สูง 9.1-19.8 เมตร (Crane et al.,1998) ถาปลูกในดินดีหนาดินลึกอาจสูงไดถึง 20 เมตร (Purseglove, 1974) เปนไมเนื้อออน กิง่ เปราะ ทรงตนแตกตางกันมาก มีทงั้ ทรงตนตรง ลําตนอวบใหญ เปลือกลําตนขรุขระ สีนา้ํ ตาล ออน มีรองตามยาวของกิ่ง (ฉลองชัย, 2534) ทรงพุมมีขนาดตั้งแตเปนพุมเตี้ยจนถึงขนาดใหญ (วิจิตร, 2533) ใบ ใบเรียงสลับบนกิ่ง กานใบสั้น รูปใบยาว ปลายใบเรียวแหลมถึงแหลมปาน ใบเปนแบบ ใบเดี่ยวสีเขียวเขมเปนมัน ใบดานลางสีจางกวาใบดานบน ใบมีขนาดยาวประมาณ 8-40 เซนติเมตร และกวางประมาณ 5-18 เซนติเมตร กานใบยาว 3-8 เซนติเมตร ใบจะเรียงอยูหนาแนน ที่สวนปลายของกิ่งฝอย (ฉลองชัย, 2534; Crane et al.,1998) ดอก เปนดอกสมบูรณเพศ ออกเปนชอแบบแพนิเคิล (Gaillard and Godefroy, 1995) ตรงปลายกิ่งมีดอกเปนจํานวนมาก แตละดอกมีขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง กานชูดอกสั้น ดอก ประกอบดวยกลีบดอก 3 กลีบและกลีบเลี้ยง 3 กลีบ อับเกสรตัวผู 9 อัน แบงเปน 2 วง วงนอก 6 วง ใน 3 มีรังไขที่มไี ข 1 ฟองและตอมน้ําหวานสีสมที่ฐานรังไข (ฉลองชัย, 2534) การบานและหุบของ ดอกแบงเปน 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ดอกจะบานครั้งแรกในตอนเชา เกสรตัวเมียพรอมที่จะรับการ ผสม แตอบั ละอองเกสรตัวผูยังไมแตก ดอกจะหุบในตอนเย็นและดอกจะบานอีกครั้งหนึ่งในตอน บายของวันรุงขึ้นอับละอองเกสรจะแตกใหเรณูปลิวไปผสมได สวนแบบที่ 2 ดอกจะบานครั้งแรกใน ตอนบายเกสรตัวเมียพรอมที่จะรับการผสม แตอับละอองเกสรตัวผูยังไมแตกจนกวาดอกจะบาน อีกครั้งหนึ่งในตอนเชาวันรุงขึ้น (Cobley and Steele, 1976) 4 ผล ผลอะโวกาโดเปนแบบผลเดี่ยว มีรูปผลตางๆกัน เชน รูปรางแบบผลฝรั่ง ผลรูปไข ผล กลมหรือยาวคลายกับมะเขือยาวแตสวนใหญจะมีรูปรางเปนรูปไขหรือทรงกลม ผิวของผลอาจจะ เรียบเปนมันหรือขรุขระ เปลือกหนาและเหนียว บางพันธุเปราะ (ฉลองชัย, 2534) สีผิวของผลมีตั้ง แตสีเขียวปนเหลือง เขียวแกจนถึงสีมวงคล้ํา (วิจติ ร, 2533) ขนาดผลยาวแตกตางกันตั้งแต 7-20 เซนติเมตร มีนา้ํ หนักผลตั้งแต 50-1,050 กรัม (Gaillard and Godefroy, 1995) เนื้อผลจะมีสี เหลืองออนถึงเหลืองเขม เมล็ด ผลอะโวกาโดมีเพียง 1 เมล็ด เมล็ดขนาดใหญ รูปรางคลายลูกขาง หรือกลมแปน หรือแหลม มีเปลือกหุมเมล็ด 2 ชั้น เมล็ดมีใบเลี้ยง 1 คู ขนาดใหญหนาสีขาวครีม ผิวของใบเลี้ยง อาจเรียบหรือขรุขระ (Cobley and Steele, 1976) ในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยพบวาอะโวกาโดแทงชอดอกตั้งแตเดือนตุลาคมถึง กุมภาพันธ พวกที่แทงชอดอกเร็ว ไดแก พันธุรูเฮิลร โพลล็อก คาโน ดอกจะบานในเดือน พฤศจิกายนถึงธันวาคม พวกที่แทงชอดอกเร็วปานกลางจะมีดอกบานปลายเดือนธันวาคมถึงกลาง เดือนมกราคม พวกที่แทงชอดอกชาจะบานในชวงเดือนมกราคมถึงปลายกุมภาพันธ เชน ลินดา บูธ-7 และบูธ-8 (ฉลองชัย, 2534) ลักษณะประจําพันธุของอะโวกาโดพันธุ Buccanaer อะโวกาโดพันธุ Buccanaer ผลมีรูปรางเปนรูปไข ผิวผลขรุขระเล็กนอย สีผิวผลเปนสีเขียว สีเนื้อเปนสีเหลือง ขนาดผลกวางประมาณ 8.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12 เซนติเมตร มีน้ําหนักผลประมาณ 300 กรัม มีไขมันประมาณ 12-18 เปอรเซ็นต มีรสชาติที่ดมี าก ลักษณะการบาน ของดอกเปนแบบที่ 2 คือ ดอกจะบานครั้งแรกในตอนบายเกสรตัวเมียพรอมที่จะรับการผสม แตอับ ละอองเกสรตัวผูยงั ไมแตกจนกวาดอกจะบานอีกครั้งหนึ่งในตอนเชาวันรุงขึ้น (Cobley and Steele, 1976) ชวงระยะผลแกผลจะไมรวงและมีระยะเก็บเกี่ยวผลในชวงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม (Babpraserth and Subhadrabandhu, 2000) เผาอะโวกาโดทางพืชสวน อะโวกาโดโดยทั่วไปแบงออกไดเปน 3 เผาดังนี้ 5 1. เผากัวเตมาลัน ชอบอากาศคอนขางเย็นทนตอความหนาวเย็นปานกลาง ทนความเค็ม ปานกลาง ใบไมมีกลิ่นแอนนีส ใบดานลางไมมีใย ใบขนาดใหญสีเขียวเขม ใบออนสีนา้ํ ตาลแดง ผลสีเขียวเขม ขั้วผลขรุขระ เปลือกผลหนา 1/16 ถึง 1/4 นิ้ว เนื้อหนา (ฉลองชัย, 2534) ผลมีขนาด กลางถึงใหญ น้าํ หนักผล 250-600 กรัม ผิวผลขรุขระ เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดจะอยู ในชอแนน และมีไขมันประมาณ 8-15 เปอรเซ็นต ในแตละผล ระยะเวลาตั้งแตดอกบานจนถึงผล แก 9-12 เดือน (Saurindra, 2000) ไดแก พันธุ ลินดา, แฮสส, รีด, เทเลอร เปนตน (Gaillard and Godefroy, 1995) 2. เผาแม็กซิกัน เปนเผาที่มีความทนทานตออากาศเย็นที่สุด ไมชอบดินเกลือหรือดินเค็ม ตนใหญสูงใบมีกลิ่นแอนนีส ใบเล็กสีเขียวดานลางของใบมีใย ผลขนาดเล็กน้ําหนักไมเกิน 250 กรัม ผิวผลสีมวงเมื่อแกหรือสุก เปลือกผลบางไมเกิน 1/32 นิ้ว ผิวผลเรียบ เมล็ดขนาดใหญ เปลือก หุม เมล็ดบางอาจแยกหรือติดกับผิว ใบเลี้ยงซึ่งมีลักษณะเรียบ (ฉลองชัย, 2534) เมล็ดอยูในโพรง เมล็ดอยางหลวมๆ เนื้อมีไขมันสูงที่สุดมากกวา 30 เปอรเซ็นต อายุตั้งแตดอกบานถึงผลแกใชเวลา 6-8 เดือน (Saurindra, 2000) ไดแก พันธุ โทพา โทพา, ดุค, เม็กซิโคลา เปนตน (Gaillard and Godefroy, 1995) 3. เผาเวสอินเดียน ชอบอากาศรอนไมทนทานอากาศหนาวเย็นมาก ทนทานดินเกลือหรือ ดินเค็ม ใบไมมีกลิ่นแอนนีส ใบขนาดใหญ ใบแกสีเขียวออน ยอดออนสีเขียวออนหรือน้ําตาลออน ผลรูปรางตางกัน ผิวผลสีเขียวอมเหลือง น้ําหนักผล 250-1,050 กรัม เปลือกผลบาง 2/32 นิ้ว (ฉลองชัย, 2534) ผิวผลเรียบเปนมัน เมล็ดใหญอยูในโพรงเมล็ดอยางหลวมๆ เปลือกหุมเมล็ดหนา เนื้อมีไขมันต่ํา 3-10 เปอรเซ็นต และมีรสหวานเล็กนอย อายุตั้งแตดอกบานถึงผลแกใชเวลา 9 เดือน (Saurindra, 2000) ไดแก พันธุ พีเตอรสัน, พอลล็อค, วอลดิน เปนตน (Gaillard and Godefroy, 1995) 6 ตารางที่ 1 คุณคาทางอาหารในเนื้ออะโวกาโดตอ 100 กรัม คุณคาทางอาหาร Cal. Unit Protein (g) Fat (g) Total carbohydrates (g) Crude fibre (g) Ca (mg) Cl (mg) Cu (mg) Fe (mg) Mg (mg) Mn (mg) P (mg) Na (mg) S (mg) Vit.A as carotene (mg) Ascorbic acid (mg) Niacin (mg) Riboflavin (mg) Thiamine (mg) ทีม่ า: Saurindra (2000) ปริมาณ 245.00 1.70 26.40 5.10 1.80 10.00 11.00 0.45 0.60 35.00 4.21 38.00 368.00 28.50 0.17 16.00 1.10 0.13 0.06 7 สภาพดินฟาอากาศที่เหมาะสม อะโวกาโดเปนพืชเขตรอนและกึ่งรอนที่มีความตองการดินฟาอากาศ ดังตอไปนี้คือ 1. ดิน ไมผลชนิดนี้เจริญเติบโตไดดีในดินหลายประเภท แตดินที่เหมาะแกการปลูกตอง เปนดินที่มีการระบายน้ําดี ดินอุดมสมบูรณ และเนื้อดินลึก ดินในที่ราบลุมภาคกลางของไทยซึ่งมี น้าํ ใตดนิ ต่ํากวาผิวดินไมถึงหนึ่งเมตร แมวาจะยกรองปลูกตนอะโวกาโดก็มีอายุไมยืน เนื่องจากไม ทนตอน้ําทวม นอกจากนี้ถาดินมีความชื้นสูงเกินความตองการจะทําใหการถายเทอากาศในดินไม ดี เปนสาเหตุใหเกิดโรครากเนาได (ฉลองชัย, 2534) ซึง่ ควรมีเนื้อดินลึก 1.5 เมตรและดินไมควรมี หินกรวดมากกวา 10-15 เปอรเซ็นต เพราะจะทําใหเปนอุปสรรคตอการเพาะปลูกและดูแลรักษา (Gaillard and Godefroy, 1995) ดินที่เหมาะสมควรมีระดับ pH ระหวาง 5-7 (Samson, 1982) 2. อุณหภูมิ อุณหภูมิจะมีความแตกตางกันไปในแตละทองถิ่นที่ปลูกอะโวกาโดโดยมี อุณหภูมิระหวาง 12.8-28.3 องศาเซลเซียส (Samson, 1982) อุณหภูมิในประเทศไทยไมเปน อุปสรรคตอการปลูกอะโวกาโด เพราะมีอุณหภูมิสงู ถาอุณหภูมิ –2.7 องศาเซลเซียส ตนอะโวกาโด ที่มีอายุนอ ยๆก็อาจตายไดหรือถาติดผลอยูทําใหผลรวงได แตตนใหญอายุมากมักไมไดรับอันตราย มากนัก และถาอุณหภูมิตา่ํ กวา 15.5 องศาเซลเซียสเปนเวลานานจะทําใหผลเล็กลง (ฉลองชัย, 2534) 3. ปริมาณน้ําฝน โดยทั่วไปตนอะโวกาโดควรไดรับน้ําอยางต่ําปละ 750-1,000 มิลลิเมตร ในกรณีขาดฝนจําเปนตองมีการชลประทานเขาชวย ตองคอยสังเกตชวงการใหนา้ํ หรือขาดน้ํา เพราะเมื่อขาดน้ําใบอะโวกาโดจะไมเหี่ยวหรือมวนงอใหเห็น แตจะสลัดใบรวงหลนทันที โดยเฉพาะ ในชวงดอกบานและติดผลเปนชวงที่ตองการน้ําชลประทาน ถาฝนไมตกควรใหน้ํา 7-10 วันตอครั้ง (ฉลองชัย, 2534) 4. ลม ตนอะโวกาโดเปนไมเนื้อออน กิ่งเปราะหักงาย การตัดแตงกิ่งใหเตี้ยและใหพมุ โปรง จะชวยไดพอสมควร ลมที่พัดกระโชกแรงจึงเปนอันตรายตอตน ดอกและผลของอะโวกาโด โดย เฉพาะในสภาพที่มีลมพัดแรงและมีแสงแดดจาทําใหเกสรตัวเมียแหงผสมไมติด ดังนั้นในที่ไมมี 8 แนวปองกันลมตามธรรมชาติ ตองปลูกไมกันลมเพื่อปองกันการเสียหาย (Gaillard and Godefroy, 1995) 5. แสง ตนอะโวกาโดตองการแสงในปริมาณมาก โดยในพื้นที่หนึ่งๆ ตองการแสงมากกวา 2000 ชัว่ โมงตอป อยางไรก็ตามความเขมของแสงที่มากเกินไปจะทําใหเกิดการไหมเกรียมของใบ, ผล, กิง่ หรือตนได ซึง่ ควรปองกันโดยการนําน้ําปูนขาวมาทาที่ลําตนและในขณะที่ตน ยังเล็กอยูควร ทําที่กาํ บังแดด (Gaillard and Godefroy, 1995) 6. ฤดูปลูก อะโวกาโดปลูกไดทุกฤดูถามีน้ําเพียงพอ นิยมปลูกในชวงตนฤดูฝน ซึง่ จะ ประหยัดคาใชจายในการชลประทาน เพราะมีฝนตกลงมาชวย ถาฝนตกชุกมากๆตองระมัดระวังไม ใหนา้ํ ขังตน ถาปลูกในฤดูแลงก็ตองปองกันแสงแดดเผาสวนของเปลือกลําตนหรือกิ่งกานของอะโวกาโดดวย ในตางประเทศจะใชพลาสติกคลุมปองกันโคนตนจากแสงแดดและสัตวกัดแทะเปลือก (ฉลองชัย, 2534) สวนประกอบทางเคมี ในผลอะโวกาโดจะมีน้ําเปนสวนประกอบประมาณ 65-80 เปอรเซ็นต มีนา้ํ ตาลประมาณ 1 เปอรเซ็นต ปริมาณโปรตีนประมาณ 1-4 เปอรเซ็นต วิตามินบีคอมเพล็กซ วิตามินเอและวิตามิน อี นอกจากนี้ยงั ประกอบดวยแรธาตุที่เปนประโยชนตอรางกายอีกหลายอยาง และในผลอะโวกาโด จะมีนา้ํ มันระหวาง 3-30 เปอรเซ็นต ซึ่งเปนสวนที่สําคัญ น้ํามันนี้มีสว นประกอบคลายน้ํามัน มะกอกเปนน้ํามันที่ยอ ยงาย อะโวกาโดเปนพืชที่ใหคุณคาทางพลังงานสูงกวาพืชอื่น ในแคลิฟอร เนียไดคดิ พลังงานที่ไดจากอะโวกาโดประมาณ 1,000-1,375 แคลอรี่ตอปอนด (Purseglove, 1974) การใชประโยชนจากผลอะโวกาโด เนื้อของอะโวกาโดมีน้ํามันมาก แตเปนประเภทไมอิ่มตัว ไมมีคอเลสเตอรอลและมีนา้ํ ตาล นอยมาก จึงมีปริมาณคารโบไฮเดรตต่ํา ผูปว ยเบาหวานก็สามารถรับประทานได (สุรพงษ, 2537) อะโวกาโดนิยมรับประทานเปนผลไมสด รับประทานกับไอศกรีม, น้ําตาล, นมขน, ใสในสลัดหรือ ทําเคก ในอาหารเม็กซิโกบางชนิดใชอะโวกาโดแทนเนย (ระพีพรรณ, 2544) ในประเทศไทยมีการ 9 นําอะโวกาโดมารับประทานกับน้ําพริกโดยหั่นเปนคําๆ หรือทําน้ําพริกอะโวกาโดโดยใชแทนกะป (สุรพงษ, 2537) นอกจากนี้อะโวกาโดยังมีวิตามินอีซงึ่ ชวยบํารุงผิวและเสนผม มีวติ ามินเคที่จะมี บทบาทในการชวยปองกันการเกิดมะเร็ง หรือนําเนื้อของอะโวกาโดมาสกัดน้ํามันทําเครื่องสําอางค ก็ได (ระพีพรรณ, 2544) การออกดอกและการติดผล อะโวกาโดเปนไมผลที่สามารถออกดอกติดผลไดสม่ําเสมอทุกปแตหากสวนที่ไมไดมีการดู แลรักษาและอยูใ นสภาพแวดลอมที่ไมเหมาะสม โอกาสในการออกดอกติดผลก็จะนอยลง โดย ปจจัยที่มีความจําเปนตอการออกดอกและติดผลของอะโวกาโดมีดังนี้ 1. อายุและขนาดของตน อะโวกาโดเริ่มออกดอกเมื่ออายุได 3 ป สําหรับตนที่ไดจากการ เสียบยอด แตตน จะยังมีขนาดเล็กผลผลิตที่ไดยังนอย เมื่อตนอะโวกาโดในปที่ 6-7 ถือวาเปนชวงที่ ตนมีความสมบูรณมากที่สุด ซึง่ จะใหผลผลิตได 700-1,000 ผลตอตน (นิรนาม, 2545) แตถา เปนตนที่ไดจากการเพาะเมล็ดตองใชเวลาอยางนอย 6-7 ป ถึงจะใหผลผลิต (ฉลองชัย, 2534) 2. อุณหภูมิ อะโวกาโดตองการอุณหภูมิตา่ํ เพื่อชักนําใหออกดอก ทัง้ นี้ถาไดรับอุณหภูมิต่ํา และระยะเวลายาวนานจะออกดอกมากขึ้น โดยอุณหภูมิต่ําสุดไมควรต่ํากวา 7 องศาเซลเซียส และ อุณหภูมิไมควรสูงเกินกวา 19-20 องศาเซลเซียส จนกระทั่งออกดอก ซึง่ อุณหภูมิที่สงู กวา 36 องศาเซลเซียส จะทําใหดอกเหี่ยวรวมทั้งอับเรณูแหงทําใหไมเกิดการปฏิสนธิ จึงไมตดิ ผล ถึงแมจะ มีการปฏิสนธิไดสมบูรณเปนผลแตผลที่ไดก็จะรวงและไมพัฒนาตอไปและถาอุณหภูมิในชวงการ เจริญเติบโตของผลสูงเกินกวา 45 องศาเซลเซียส จะทําใหผลแตกอยางรวดเร็ว (Gaillard and Godefroy, 1995) 3. น้ํา อะโวกาโดโดยทั่วไปตองการปริมาณน้ําประมาณ 1,200-1,600 มิลลิลติ ร ในแตละ ป โดยมีความตองการน้ําแตกตางกันไปในแตละชวงของการเจริญเติบโต ซึง่ ในชวงกอนออกดอก จะงดการใหน้ําแตในชวงที่ดอกกําลังพัฒนาจะใหน้ําตอไปเรื่อยๆจนกระทั่งติดผลและใหนา้ํ ตอไป จนกระทั่งผลสมบูรณเต็มที่จนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยว (Gaillard and Godefroy, 1995) 10 4. ความชื้น อะโวกาโดตองการความชื้นสัมพัทธประมาณ 70-80 เปอรเซ็นต ในชวงของ การออกดอกและติดผลโดยความชื้นในระดับนี้จะทําใหการเจริญเติบโตของผลดีมาก แตถา ความชื้นสูงมากกวาระดับนี้สงผลใหโรคและแมลงเขาทําลายทั้งที่ใบและผลไดงา ย เชน โรคแอนแทรคโนส (Gaillard and Godefroy, 1995) 5. ธาตุอาหาร ตนอะโวกาโดที่มีปริมาณธาตุอาหารสะสมในระดับที่เหมาะสมจะสามารถ ออกดอกและติดผลไดดีซึ่ง ธาตุอาหารที่สําคัญ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและ แมกนีเซียม โดยปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอกับอะโวกาโดที่ไดจากการวิเคราะหในใบพบวาธาตุ ไนโตรเจนที่เพียงพออยูที่ระดับ 1.8-2.2 เปอรเซ็นต (Lahav et al., 1987) ธาตุฟอสฟอรัสที่เพียงพอ อยูทรี่ ะดับ 0.08-0.25 เปอรเซ็นต ธาตุโพแทสเซียมที่เพียงพออยูที่ระดับ 0.75-2.0 เปอรเซ็นต และ ธาตุแมกนีเซียมที่เพียงพออยูที่ระดับ 0.25-0.80 เปอรเซ็นต (Anthony, 2000) โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนถือวาเปนธาตุพื้นฐานที่มีความสําคัญกับอะโวกาโดมากที่สดุ เมื่อ ไดรับในอัตราทีเ่ หมาะสม คือมีบทบาทในการเจริญเติบโตของตน กิ่งกานใบ การออกดอก เพิ่ม จํานวนผลผลิตรวมทั้งเพิ่มขนาดของผล (Embleton and Jones, 1972; ดุสิต, 2535) Popenoe (1920) พบวาการใชปยุ ไนโตรเจนกับตนอะโวกาโดมีความจําเปนมากซึ่งทําให เพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินสงผลใหผลผลิตเพิ่มมากขึ้น Embleton and Jones (1972) กลาววาปุยไนโตรเจนมีความจําเปนอยางยิ่งกับอะโวกาโด พันธุแฮสส เมื่อใหปยุ ไนโตรเจน 0.25-4.0 ปอนดตอตน จะสงผลใหผลผลิตและจํานวนผลตอตน รวมทั้งขนาดผลของอะโวกาโดเพิ่มมากขึ้นและหากปริมาณธาตุไนโตรเจนในใบที่วิเคราะหไดลดลง ต่าํ กวา 2 เปอรเซ็นต จะทําใหปริมาณผลผลิตลดลง Lahav et al. (1987) กลาววาหากตนอะโวกาโดไดรับปริมาณไนโตรเจนไมเพียงพอสงผล ใหใบมีขนาดเล็กลง ใบซีด ใบหยุดการเจริญเติบโตและทําใหจาํ นวนผลผลิตรวมทั้งขนาดของผล ลดลงดวยและนอกจากนี้ตนอะโวกาโดจะตายในเวลาอันรวดเร็วในสภาพที่มีนา้ํ แข็งมาเกาะที่ใบ 11 นอกจากธาตุไนโตรเจนที่มีความสําคัญแลวธาตุตางๆก็มีความสําคัญรองลงมาและธาตุ เหลานี้ก็ยังมีสหสัมพันธกันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ เชน การใหธาตุไนโตรเจนในอัตราที่สงู จะเปน การชวยปรับระดับความเปนประโยชนของธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดินใหเหมาะสมแก พืชที่ปลูกไดดีขึ้น (ชัยสิทธิ์ และคณะ, 2541) ธาตุฟอสฟอรัสชวยลดอาการเฝอใบที่เกิดจากการไดรับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปและหาก มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสมากเกินไปทําใหการเจริญทางกิ่งใบลดลงและเรงการสุกของผลไมโดย การไปลดการดูดไนโตรเจน สงเสริมการดูดโพแทสเซียม ธาตุโพแทสเซียมหากพืชไดรับธาตุโพแทสเซียมมากเกินไปจะทําใหพชื แกชา และทําใหการ ดูดธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมของพืชลดลง ธาตุแมกนีเซียมซึ่งหากพืชขาดธาตุแมกนีเซียมจะสังเคราะหโปรตีนไดนอ ยลงแตกลับมี ไนโตรเจนรูปที่ไมใชโปรตีนในใบมากขึ้นรวมทั้งมีการสะสมฟอสฟอรัสในรูปอนินทรียมากขึ้นจึงทํา ใหการสังเคราะหแปงลดลง (วิจติ ร, 2529; ยงยุทธ, 2543; มุกดา, 2544; สุมติ รา, 2544) ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้จึงไดทําการวิเคราะหหาปริมาณธาตุอาหารในใบของอะโวกาโด พันธุ Buccanaer โดยวิเคราะหธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งตางก็ มีสหสัมพันธกนั ในดานตางๆที่มีผลตอการเจริญเติบโตของพืชดวยเพื่อจะไดทราบวาธาตุตา งๆ เหลานี้มีในปริมาณมากนอยแคไหนและมีความสัมพันธกับอะโวกาโดในดานตางๆที่ไดทาํ การ ศึกษาอยางไร ปุย ปุย หมายถึง วัสดุหรือสารที่ใหธาตุอาหารแกพืช ดังนั้นการใสสารชนิดหนึ่งลงไปในดินเพื่อ ใหธาตุอาหารแกพืชที่ปลูกนั้น สารที่ใสลงไปนี้ก็นบั วาเปนปุย (ถวิล, 2531) ซึง่ พบวาพืชตองการปุย ทีใ่ หธาตุไนโตรเจนเปนจํานวนมาก และเปนธาตุอาหารที่พบวาขาดอยูบอยๆ ดังนั้นปุยไนโตรเจน จึงมีความสําคัญยิ่งตอการกสิกรรมเปนอันดับแรก (กิตตินันท, 2542) 12 ปุยไนโตรเจน พืชจะดูดไนโตรเจนไปใชได 3 รูป คือ รูปของไนเตรต แอมโมเนียมและยูเรีย โดยไนเตรต และยูเรียจะตองถูกยอยสลายใหอยูในรูปแอมโมเนียมไอออนแลวเปลี่ยนแปลงไปเปนองคประกอบ ที่สําคัญของ protein, nucleoprotein, chlorophyll, enzyme และสารประกอบอื่นๆ ไนโตรเจนมี สวนในการสรางน้ําหนักแหงหรือการเจริญทางกิ่งกานสาขาแกพืช (ยงยุทธ, 2543) ซึ่งในปจจุบนั มี ปุย ที่ใหธาตุไนโตรเจนมากมายหลายชนิดแตที่นิยมนํามาใชกับพืชมีดังนี้ 1. ปุย แอมโมเนียมซัลเฟต [(NH4)2SO4] สารประกอบแอมโมเนียมซัลเฟตที่บริสทุ ธิ์มี ไนโตรเจน 21 เปอรเซ็นต และมีกํามะถัน 27.5 เปอรเซ็นต สวนในรูปปุยเคมีมีไนโตรเจน 21 เปอรเซ็นต และมีกาํ มะถัน 23 เปอรเซ็นต สารประกอบแอมโมเนียมซัลเฟตที่บริสทุ ธิ์เปนผลึกสีขาว ละเอียด มีสมบัติดดู ความชื้นจากอากาศเพียงเล็กนอยและละลายในน้ําไดดี ซึง่ การใสปุย แอมโมเนียมซัลเฟตติดตอกันเปนเวลานานจะทําใหดินมีสภาพเปนกรด โดยเกิดจากขั้นตอนการ เปลี่ยนรูปจากแอมโมเนียมไปเปนไนเตรต ในสภาวะที่มีความชื้นในดินเหมาะสมและถายเทอากาศ ไดดี ปุย แอมโมเนียมซัลเฟตเมื่อผสมกับสารที่มีฤทธิ์เปนดาง เชน ปูนและปุยแคลเซียมไนเตรตจะ เกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นและมีผลทําใหไนโตรเจนในปุยเกิดการสูญหายได ปุย แอมโมเนียมซัลเฟต อาจจะใชผสมกับปุยยูเรียไดแตจะตองใชทันทีหลังจากที่ไดผสมกันแลว 2. ปุย แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) สารประกอบแอมโมเนียมไนเตรตที่บริสทุ ธิ์มี ไนโตรเจน 35 เปอรเซ็นต แตที่มกี ารผลิตออกมาใชเปนปุยเคมีมีไนโตรเจน 33-34 เปอรเซ็นต ครึ่ง หนึ่งของไนโตรเจนในปุยแอมโมเนียมไนเตรตอยูในรูปแอมโมเนียมและครึ่งหนึ่งอยูในรูปไนเตรต ซึ่ง ปุย แอมโมเนียมไนเตรตดูดความชื้นจากอากาศไดงา ยจึงทําใหมีความยุงยากเกี่ยวกับการใชและ การเก็บรักษาทั้งยังกอใหเกิดผลตกคางเปนกรดในดินเชนเดียวกับปุยแอมโมเนียมซัลเฟต นอกจาก นีแ้ อมโมเนียมไนเตรตเปนสารเคมีที่มสี มบัติเปนวัตถุระเบิด ฉะนั้นในการเก็บรักษาจึงตอง ระมัดระวังเปนพิเศษ 3. ปุย แอมโมเนียมคลอไรด (NH4Cl) มีลกั ษณะเปนผลึกสีขาว มีไนโตรเจน 25 เปอรเซ็นต ซึง่ เปนผลพลอยไดจากโรงงานผลิตโซดาแอช โดยปุยแอมโมเนียมคลอไรดมีสมบัตใิ นการตานทาน การชะละลาย และมีแนวโนมทําใหดินเปนกรดมากกวาปุยแอมโมเนียมซัลเฟตที่มีนา้ํ หนักเทากัน เนื่องจากปุย แอมโมเนียมคลอไรดมีเปอรเซ็นตไนโตรเจนสูงกวาปุยแอมโมเนียมซัลเฟต 13 4. ปุย ยูเรีย [(NH2)2CO] บางทีเรียกวาคารบาไมด เปนปุยไนโตรเจนที่ไมมีไอออนเปนองค ประกอบ มีลกั ษณะเปนเม็ดกลมสีขาว ละลายน้ํางาย ดูดความชื้นในอากาศไดมาก ดังนั้นหากทิ้ง ไวในอากาศจะเปยกชื้นเร็ว ปุย ยูเรียอาจมีสารพิษ biuret ผสมอยูดวย ซึง่ เกิดจากกรรมวิธใี นการ ผลิตจึงควรระวังเมื่อใชในอัตราสูง ปุย นี้มีไนโตรเจนทั้งหมดอยู 44-46 เปอรเซ็นต ซึง่ เมื่อใสปยุ ยูเรีย ลงไปแลวสัมผัสกับความชื้นในดินก็จะเปลี่ยนรูปเปนแอมโมเนียม และในสภาวะที่ดนิ มีอากาศถาย เทอากาศดี แอมโมเนียมก็จะเปลี่ยนรูปเปนไนเตรต โดยขั้นตอนการเปลี่ยนแอมโมเนียมไปเปนไนเตรต สงผลใหดนิ เปนกรดได (กิตตินันท, 2542) ตารางที่ 2 สมบัติที่สําคัญบางประการของปุยไนโตรเจน แอมโมเนียม แอมโมเนียม แอมโมเนียม ซัลเฟต ไนเตรต คลอไรด สูตรทางเคมี (NH2)2CO (NH4)2SO4 NH4NO3 NH4Cl ไนโตรเจนทั้งหมด (% N) 46-48 21 33-34 25-26 ธาตุอนื่ ๆ (%) 23 (S) 66 (Cl) ความชื้นสัมพัทธวิกฤติที่ 20°C 81.0% 81.0% 63.3% 79.2% ความชื้นสัมพัทธวิกฤติที่ 30°C 73.0% 79.2% 50.4% 77.5% การละลาย(กรัม/น้ํา 100 กรัม) 108 (20°C) 70.6 (20°C) 187 (20°C) 37.2 (20°C) สมมูลกรด 80.00 110.00 60.00 128.00 ความหนาแนน 1.33 1.77 1.73 1.53 (กรัม/ลูกบาศกเมตร) สมบัตขิ องปุย ยูเรีย ทีม่ า: ยงยุทธ (2528) ประสิทธิภาพของการใชปยุ ไนโตรเจน (กิตตินันท, 2542) 1. คุณสมบัติของปุย ปุยไนโตรเจนเกือบทุกชนิดมีคุณสมบัติประจําตัว คือ ละลายน้ําไดดี ที่สุดและเคลื่อนตัวไดดีในดิน พืชจะนําไปใชประโยชนไดทันทีภายหลังการใสปยุ แลว การสูญเสีย ของปุยจึงเกิดขึ้นไดมากและรวดเร็ว ภายใตสภาพที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ดินที่มี 14 ระบายน้ําดี มี pH อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ปุย ไนโตรเจนที่ใสลงไปในดินก็จะถูกเปลี่ยน ไปอยูในรูปของไนเตรตอยางรวดเร็ว ดินสวนใหญไมยึดเหนี่ยวไนเตรต ปุย จึงมีการชะลางสูง 2. ความเปนกรดเปนดางของดิน การใหปยุ ไนโตรเจนบางชนิดทําใหธาตุที่มปี ฏิกิริยาเปน ดางในดินถูกชะลางไปและการเปลี่ยนไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมไปเปนรูปไนเตรตจึงเปนผล ใหดนิ เปนกรดเพิ่มขึ้น 3. การใสปยุ ที่เหมาะสม เพื่อใหปยุ เปนประโยชนตอพืชมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการใสไนเตรตในดินน้ําขังซึ่งอาจทําใหเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปของกาซแอมโมเนีย การใสปยุ ในรูป แอมโมเนียมทางผิวดินในดินดางก็อาจสูญเสียในรูปกาซแอมโมเนีย พืชตองการไนโตรเจนชวงการดํารงชีพแตกตางกัน สําหรับในระยะแรกที่เพิ่งงอกและตนยัง ออนอยูจะมีการเจริญเติบโตทางใบมาก พืชจะมีความตองการเปนปริมาณมาก ในระยะหลังการ เจริญทางใบแลว พืชตองการในอัตรานอยลง ดังนั้นการใสปยุ อยางมีประสิทธิภาพ คือ เลือกใสใน เวลาที่ถกู ตอง นัน่ คือ การใสในระยะแรกๆ ที่พืชตองการนําอาหารนี้ไปชวยเรงการเจริญเติบโตทาง ใบและกิ่งกาน การใสปยุ ไนโตรเจนนิยมแบงใส 2-3 ครั้ง เพื่อชวยการเจริญในระยะแรกและเพื่อเรง การเจริญในระยะที่สองและเพื่อรักษาระดับธาตุอาหารในระยะที่สาม ขอควรระวังในการใชปยุ ยูเรีย 1. อันตรายอาจเกิดขึ้นไดกับเมล็ดหรือตนออน เนื่องจากใสปยุ ไนโตรเจนใกลเกินไป สาร พิษ biuret ในยูเรียอาจเปนอันตรายได (ปกติไมควรเกิน 0.25 เปอรเซ็นต) 2. ระยะความลึกของการใสปยุ ที่ถือวาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดี คือ ใสลกึ กวาเมล็ด พืชราว 2 นิว้ และอยูดานขาง 2 นิ้ว โดยใสพรอมกับการปลูก (กิตตินันท, 2542) 3. ถาใหปยุ ทางใบควรระวังอยาใหสารละลายเขมขนมากเกินไป เพราะอาจทําใหใบไหม ได โดยสารละลายของยูเรียที่เขมขนประมาณ 0.5-2 เปอรเซ็นต ใชฉีดใหกับพืชไดหลายชนิด เชน ขาว มันเทศและไมผลหลายชนิด (ชัยสิทธิ์ และคณะ, 2541) 15 เนื่องจากปุย ยูเรียใหธาตุไนโตรเจนสูงถึง 44-46 เปอรเซ็นตและยังเปนปุยที่มีราคาถูกกวา ปุย แอมโมเนียมซัลเฟตและปุยไนโตรเจนชนิดอื่นๆที่เปนของแข็ง นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับพืชใน ขณะที่พืชตองการและพืชสามารถดูดไปใชไดทันทีในเวลาอันรวดเร็ว (กิตตินนั ท, 2542) จากเหตุผลดังกลาวจึงไดทําการศึกษาหาปริมาณของปุยไนโตรเจน (ยูเรีย) ในอัตราที่ เหมาะสมตออะโวกาโดเพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพตอไป