ไก่ป่า
ไก่ป่า | |
---|---|
เพศผู้ (♂) | |
เพศเมีย (♀) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | อันดับไก่ |
วงศ์: | วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา |
สกุล: | Gallus (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Gallus gallus |
ชื่อทวินาม | |
Gallus gallus (Linnaeus, 1758) | |
ไก่ป่า (สีน้ำตาล) | |
ชื่อพ้อง | |
Phasianus gallus Linnaeus, 1758 |
ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gallus gallus) อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้
อนุกรมวิธาน
[แก้]ชนิดย่อยของ Gallus gallus มีจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึง:[2]
- G. g. gallus – จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- G. g. bankiva – จากเกาะชวาและเกาะสุมาตรา
- G. g. jabouillei – จากเวียดนาม
- G. g. murghi – จากบังกลาเทศ, อินเดีย และปากีสถาน
- G. g. spadiceus – จากพม่าและไทย
| |||||||||||||||||||||
แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของชนิดในสกุล Gallus[3][4] |
พฤติกรรม
[แก้]อาศัยตามป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง และป่ารอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นป่า ตัวผู้ไม่ชอบร้องเหมือนตัวเมีย ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้คุมตัวเมียหลายตัว ตัวผู้มักขันเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าและพลบค่ำ หากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน บินได้ไม่ไกลและไม่สูงมาก
ไก่ป่าผสมพันธุ์ในฤดูร้อน สร้างรังอยู่ตามพื้นดินตามกอหญ้า กอไผ่ วางไข่ 6 - 12 ฟอง ระยะฟักไข่ 21 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีขนอุยสีเหลืองสลับลายดำทั่วลำตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหากินได้ทันที โดยทั่วไปไก่ป่าเพศผู้จะเริ่มสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี แต่ในเพศเมียจะสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี โดยมีช่วงการผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม ในช่วงนี้ไก่ป่าเพศผู้จะมีสีสันสวยงามมาก
ในประเทศไทย
[แก้]สำหรับในประเทศไทยแล้วพบไก่ป่า 2 ชนิดย่อย คือ
1. ไก่ป่าตุ้มหูขาว (Gallus gallus gallus) มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคตะวันออกของไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา
2. ไก่ป่าตุ้มหูแดง (Gallus gallus spadiceus) พบการกระจายพันธุ์ในพม่า, มณฑลยูนาน ในประเทศจีน ในประเทศไทย ยกเว้นทางภาคตะวันออก, ลาวบางส่วน, มาเลเซีย และทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
ทั้งสองชนิดย่อยมีข้อแตกต่างตรงที่ไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นจะมีลักษณะของขนบริเวณคอยาว และเนื้อบริเวณติ่งหูมีขนาดใหญ่มีแต้มสีขาว ส่วนในไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นลักษณะของขนคอจะยาวปานกลาง เนื้อบริเวณตุ้มหูมีขนาดเล็กและมักจะมีสีแดง[5]ซึ่งตามหลักฐานทางชีวโมเลกุล แล้วพบว่าไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านทั้งหลาย[6]
สถานภาพ
[แก้]ปัจจุบัน ไก่ป่าจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2016). "Gallus gallus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22679199A92806965. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22679199A92806965.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Gallus gallus (Linnaeus, 1758) - subspecies". Species 2000 & ITIS Catalogue of Life. Species 2000: Naturalis, Leiden, the Netherlands. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
- ↑ Lawal, R.A.; และคณะ (2020). "The wild species genome ancestry of domestic chickens". BMC Biology. 18 (13): 13. doi:10.1186/s12915-020-0738-1. PMC 7014787. PMID 32050971.
- ↑ Tiley, G.P.; Pandey, A.; Kimball, R.T.; Braun, E.L.; Burleigh, J.G. (2020). "Whole genome phylogeny of Gallus: introgression and data‑type effects". Avian Research. 11 (7). doi:10.1186/s40657-020-00194-w.
- ↑ Delacour, J. (1997). The pheasants of the world. 2nd ed. English: Spur Publication and the world Pheasant Association. pp. 160-178.
- ↑ Fumihito, A., Miyake, T. and Sumi, S. 1994. One subspecies of the red junglefowl (Gallus gallus gallus) suffices as the matriarchic ancestor of all domestic breeds. Proc. Nat. Acad. Sci. 91: 12505 – 12509.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- View the galGal4 genome assembly in the UCSC Genome Browser.