ข้ามไปเนื้อหา

โยฮัน ก็อทโลพ ไลเดินฟร็อสท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮัน ก็อทโลพ ไลเดินฟร็อสท์
เกิด27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715(1715-11-27)
ร็อสเพอร์เว็นดา เคาน์ตีชต็อลแบร์ค-ชต็อลแบร์ค
เสียชีวิต2 ธันวาคม ค.ศ. 1794(1794-12-02) (79 ปี)
ดืสบวร์ค
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยกีเซิน
มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
มหาวิทยาลัยฮัลเลอ
มีชื่อเสียงจากปรากฏการณ์ไลเดินฟร็อสท์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการแพทย์, เทววิทยา
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยดืสบวร์ค
คลิปวิดีโอแสดงปรากฏการณ์ไลเดินฟร็อสท์

โยฮัน ก็อทโลพ ไลเดินฟร็อสท์ (เยอรมัน: Johann Gottlob Leidenfrost; 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1794) เป็นแพทย์และนักเทววิทยาชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองร็อสเพอร์เว็นดาในเคาน์ตีชต็อลแบร์ค-ชต็อลแบร์ค เป็นบุตรของโยฮัน ไฮน์ริช ไลเดินฟร็อสท์ ครั้งแรกไลเดินฟร็อสท์เรียนเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยกีเซิน แต่ต่อมาเปลี่ยนไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิชและมหาวิทยาลัยฮัลเลอ หลังเรียนจบ ไลเดินฟร็อสท์ใช้เวลาท่องเที่ยวและเป็นแพทย์สนามในสงครามไซลีเชียครั้งที่หนึ่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1743 ไลเดินฟร็อสท์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยดืสบวร์ค สองปีต่อมา ไลเดินฟร็อสท์แต่งงานกับอันนา คอร์เนลีอา คัลค์ฮ็อฟ ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 7 คน[1] นอกจากจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์แล้ว ไลเดินฟร็อสท์ยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัย

ในปี ค.ศ. 1756 ไลเดินฟร็อสท์ได้รับเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งเบอร์ลิน ในปีเดียวกัน ไลเดินฟร็อสท์ได้อธิบายปรากฏการณ์ไลเดินฟร็อสท์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสัมผัสกับพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของของเหลว ทำให้ส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวระเหยเป็นไอน้ำและพยุงให้ของเหลวเคลื่อนที่[2] อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ถูกพูดถึงครั้งแรกโดยแฮร์มัน บูร์ฮาเฟอ[1] ไลเดินฟร็อสท์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1794

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "The Leidenfrost Effect is a Simple Home Science Experiment - Decoded Science". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-12. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2016.
  2. อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อคุณหยดไนโตรเจนเหลวลงในน้ำมันเบนซิน ? - Eduzones

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]