ข้ามไปเนื้อหา

โมเสส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมเสส
โมเสสกับบัญญัติสิบประการ ภาพโดยฟิลลีป เดอ ช็องปาญ
เกิดโกเชน, อียิปต์ตอนล่าง, จักรวรรดิอียิปต์
เสียชีวิตเทือกเขาเนโบ, โมอับ
สัญชาติยิว
มีชื่อเสียงจากศาสดา
คู่สมรส
บุตร
บิดามารดา
ญาติ
โมเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์
โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ
รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล

โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์จากภาษาอาหรับ) (อังกฤษ: Moses; ฮีบรู: מֹשֶׁה; อาหรับ: موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสนาบาไฮ

ศาสนาอับราฮัม

[แก้]

ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์

[แก้]

อัตชีวประวัติของโมเสสที่ได้บันทึกไว้ในคัมภีร์โทราห์และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (หมวดเบญจบรรณห้าเล่มแรกที่เชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้เรียบเรียงขึ้น)

ต้นตระกูลของ​โม‌เสส​

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
เลวี
 
 
 
Melcha
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เกอร์โชน
 
โคอาท
 
เมรารี
 
โยเคเบด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อัมราม
 
อิสฮาร์
 
เฮโบรน
 
อุสซีเอล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มิเรียม
 
อาโรน
 
โมเสส
 
 
 

คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า โมเสสเกิดในเผ่าเลวี บิดาชื่อ อับราม มารดาชื่อ โยเคเบด มีพี่ชาย คือ อาโรน[2] ก่อนหน้าโมเสสเกิด ฟาโรห์แห่งอียิปต์(รัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1) เห็นว่าชาวยิวมีจำนวนมากและแข็งแกร่ง จึงต้องการลดปริมาณชาวยิวลง โดยมีคำสั่งให้อิสราเอลนำเด็กเกิดใหม่ที่เป็นเพศชาย ทิ้งลงแม่น้ำไนล์ แต่มารดาของโมเสสได้ซ่อนโมเสสไว้ จนกระทั่งถึงวัยที่ไม่สามารถจะหลบซ่อนได้อีก มารดาจึงนำโมเสสใส่ตะกร้าวางไว้ในกอไม้ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ เมื่อธิดาฟาโรห์ลงมาสรงน้ำ จึงเจอทารกน้อยโมเสส จึงนำไปเลี้ยงดู โมเสสได้โตขึ้นมาโดยมีมารดาเป็นแม่นมของตนเอง

โมเสส แปลว่า ฉุดขึ้นมา

โม‌เสส​หนี​ไป​มี‌เดียน

[แก้]

เมื่อ​โม‌เสส​โต​ขึ้น ท่าน​ไป​หา​พวก​พี่‍น้อง เห็น​พวก‍เขา​ต้อง​ทำ​งาน​หนัก โม‌เสส​เห็น​คน​อียิปต์​คน​หนึ่ง​กำลัง​ตี​คน​ฮีบรู ซึ่ง​เป็น​ชน‍ชาติ​เดียว​กับ​ตน ท่าน​มอง​ซ้าย​มอง​ขวา​เห็น​ว่า​ไม่‍มี​ใคร​อยู่ จึง​ฆ่า​คน​อียิปต์​นั้น แล้ว​ซ่อน​ศพ​ไว้​ใน​ทราย เมื่อ​โม‌เสส​ออก​ไป​อีก​ใน​วัน‍รุ่ง‍ขึ้น ก็​เห็น​คน​ฮีบรู​สอง​คน​ต่อ‍สู้​กัน​อยู่ จึง​ตัก‍เตือน​คน​ที่​ทำ​ผิด​นั้น​ว่า “ท่าน​ตี​พี่‍น้อง​ของ​ท่าน​เอง​ทำไม?” เขา​ตอบ​ว่า “ใคร​ตั้ง​เจ้า​ให้​เป็น​เจ้า‍นาย​และ​เป็น​ตุลา‌การ​ปก‍ครอง​เรา? เจ้า​ตั้ง‍ใจ​จะ​ฆ่า​ตัว​ข้า​เหมือน​ที่​ได้​ฆ่า​คน​อียิปต์​คน​นั้น​หรือ?” โม‌เสส​ก็​กลัว คิด​ว่า “เรื่อง​นั้น​คง​รู้​กัน​ทั่ว​แล้ว​แน่ ๆ”

เมื่อ​ฟา‌โรห์​ทรง​ทราบ​เรื่อง​ก็​หา​ช่อง‍ทาง​ประ‌หาร​โม‌เสส แต่​โม‌เสส​หนี​ฟา‌โรห์​ไป​อยู่​ใน​แผ่น‍ดิน​มี‌เดียน เขา​นั่ง‍ลง​ที่​ริม​บ่อ‍น้ำ​แห่ง​หนึ่ง ปุ‌โร‌หิต​ของ​คน​มี‌เดียน​มี​บุตร‍หญิง​เจ็ด​คน หญิง​เหล่า‍นั้น​พา​กัน​มา​ตัก‍น้ำ​ใส่​ราง​ให้​ฝูง‍แพะ‍แกะ​ของ​บิดา​กิน เวลา​นั้น​มี​พวก​คน​เลี้ยง​แกะ​มา​ไล่​หญิง​เหล่า‍นั้น โม‌เสส​จึง​ลุก‍ขึ้น​ช่วย​พวก​นาง และ​ให้​สัตว์​ของ​พวก​นาง​กิน​น้ำ เมื่อ​หญิง​เหล่า‍นั้น​กลับ​ไป​หา​เร‌อู‌เอล​ผู้​เป็น​บิดา ท่าน​ถาม​ว่า “วัน‍นี้​ทำไม​พวก‍เจ้า​จึง​กลับ​เร็ว​นัก?” พวก​นาง​ตอบ​ว่า “มี​ชาย​อียิปต์​คน​หนึ่ง​ช่วย​เรา​พ้น​จาก​มือ​ของ​พวก​คน​เลี้ยง​แกะ ทั้ง​ยัง​ตัก‍น้ำ​ให้​เรา และ​ให้​ฝูง‍แพะ‍แกะ​กิน​ด้วย” บิดา​จึง​ถาม​บุตร‍หญิง​ของ​ท่าน​ว่า “ชาย​คน​นั้น​อยู่​ที่​ไหน? ทำไม​จึง​ทิ้ง​เขา​ไว้​ล่ะ? ไป​เชิญ​เขา​มา​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​สิ” โม‌เสส​ก็​ตก‍ลง‍ใจ​อาศัย​อยู่​กับ​เร‌อู‌เอล แล้ว​เร‌อู‌เอล​ก็​ยก​ศิป‌โป‌ราห์​บุตร‍สาว​ให้​เป็น​ภรรยา​ของ​โม‌เสส นาง​ก็​คลอด‍บุตร‍ชาย​คน​หนึ่ง โม‌เสส​ตั้ง‍ชื่อ​ว่า เกอร์‌โชม เพราะ​ท่าน​กล่าว​ว่า “ข้าพ‌เจ้า​เป็น​คน‍ต่าง‍ด้าว​ใน​ต่าง‍แดน”

หลาย​ปี​ผ่าน​ไป กษัตริย์​อียิปต์​ก็​สิ้น‍พระ‍ชนม์ ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล​ทุกข์​ระทม​เพราะ​การ​เป็น​ทาส จึง​ร้อง‍คร่ำ‍ครวญ เสียง​ร่ำ‍ร้อง‍ขอ​ความ​ช่วย‍เหลือ​เพราะ​การ​เป็น​ทาส​นี้ ดัง​ขึ้น​ไป​ถึง​พระ‍เจ้า พระ‍เจ้า​ทรง​ได้‍ยิน​เสียง​คร่ำ‍ครวญ​ของ​พวก‍เขา จึง​ทรง​ระลึก‍ถึง​พันธ‌สัญญา​ที่​พระ‍องค์​ได้​ทรง​ทำ​ไว้​กับ​อับ‌รา‌ฮัม อิส‌อัค และ​ยา‌โคบ พระ‍เจ้า​ทอด‍พระ‍เนตร​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล แล้ว​พระ‍เจ้า​ทรง​ทราบ​ถึง​สภาพ​ความ​เป็น​ไป​ของ​พวก‍เขา[3]

ทรงเรียกโมเสส

[แก้]

ภายหลังจากฟาโรห์สิ้นพระชนม์ วงศ์วานอิสราเอลก็คร่ำครวญกับพระเจ้า พระองค์จึงทรงระลึกถึงชนชาวอิสราเอล พระองค์จึงทรงไปปรากฏต่อหน้าโมเสส เพื่อเป็นผู้นำอิสราเอลให้ออกจากอียิปต์ ไปยังดินแดนคานาอัน อันเป็นดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับราฮัมว่าจะยกให้แก่พงศ์พันธุ์ของท่าน[4]

เมื่อพระเจ้าทรงเรียกโมเสสนั้น ทรงกระทำหมายสำคัญ 3 ประการเพื่อให้โมเสสตอบรับหน้าที่นี้ หมายสำคัญทั้งสามประการได้แก่

  1. พระเจ้าทรงให้โมเสส โยนไม้เท้าลงบนพื้น และไม้เท้านั้นก็กลายเป็นงู และเมื่อโมเสสจับหางงู งูนั้นก็กลายเป็นไม้เท้าดังเดิม
  2. พระเจ้าทรงให้โมเสส สอดมือไว้ที่อก เมื่อชักมือออกมา มือนั้นก็กลายเป็นเรื้อน และเมื่อสอดมือไว้ที่อกอีกครั้ง มือนั้นก็เป็นปกติ
  3. พระเจ้าทรงให้โมเสสตักน้ำมา และเทลงบนพื้น น้ำนั้นก็กลายเป็นเลือดบนดินนั้น

แต่ถึงกระนั้น โมเสส ก็ยังคงมีข้อต่อรองกับพระเจ้า ด้วยโมเสสบอกว่าตนเองพูดไม่เก่ง เกรงว่าชาวอิสราเอลจะไม่ยอมฟัง พระเจ้า จึงให้อาโรน พี่ชายของโมเสส ซึ่งเป็นคนพูดเก่ง เป็นผู้ช่วยของเขา

ดังนั้นโมเสสจึงได้ลาพ่อตา และเดินทางกลับไปยังอียิปต์ และพบกับอาโรนเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าให้สำเร็จต่อไป เมื่อโมเสสได้ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์ที่อียิปต์ครั้งนี้ โมเสสมีอายุ 80 ปี และอาโรนมีอายุ 83 ปี[5]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • เมื่อโมเสสเข้าเฝ้าฟาโรห์ในครั้งนั้น(ซึ่งอยู่ในรัชสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 2) โมเสสทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลให้ไปนมัสการพระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร (ทะเลทราย) ฟาโรห์มีพระทัยแข็งกระด้าง และไม่ยินยอมให้อิสราเอลไป ในครั้งนั้น โมเสส และ อาโรน จึงได้รับบัญชาจากพระเจ้าในการทำให้เกิดภัยพิบัติแห่งอียิปต์ 10 ประการ จนในที่สุด ฟาโรห์ และเหล่าข้าราชบริพารจึงพากันขับไล่อิสราเอลออกไปจากอียิปต์[6]
  • ก่อนภัยพิบัติครั้งสุดท้าย พระเจ้าทรงให้โมเสสนำอิสราเอลประกอบพิธีปัสคาขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเป็นอิสราเอลไว้ เพื่อในคืนนั้นพระเจ้าจะผ่านเลยบ้านที่มีเลือดแกะปัสคาป้ายอยู่ แต่บ้านชาวอียิปต์พระเจ้าจะทรงนำเอาบุตรหัวปีของพวกเขาไป พิธีปัสคา จึงเป็นพิธีที่อิสราเอลเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์ความเป็นไท ในครั้งนี้[7]
  • เมื่อเดินทางมาริมทะเลแดง กองทัพอียิปต์ก็ติดตามอิสราเอลมา เพื่อตามอิสราเอลกลับไปเป็นทาสดังเดิม ครั้งนี้ พระเจ้าทรงให้โมเสสชูไม้เท้าขึ้นเหนือน้ำ ทำให้ทะเลแดงแหวกออก เป็นทางเดินให้อิสราเอลเดินข้ามไป แต่เมื่อกองทัพอียิปต์จะข้ามตาม ทะเลก็กลับคืนดังเดิม และท่วมกองทัพอียิปต์ตายไปเสียสิ้น
  • เมื่อเดินทางถึงภูเขาซีนาย พระเจ้าทรงเรียกโมเสส ขึ้นไปเข้าเฝ้าพระพักตร์พระองค์ แบบหน้าต่อหน้า และที่ภูเขาซีนายนี่เอง ที่พระเจ้าทรงประทานบัญญัติ 10 ประการมาให้อิสราเอล และประทานกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ให้แก่พวกเขา
  • เมื่อออกเดินทางจากภูเขาซีนาย ก็เข้าสู่เขตแดนคานาอัน ในครั้งนั้น โมเสสส่งผู้สอดแนม จากบรรดาหัวหน้าในคนอิสราเอล จำนวน 12 คน (ตามเผ่าของอิสราเอล) ไปดูลาดเลาในคานาอัน ในจำนวนนั้น ยกเว้น โยชูวา และ คาเล็บ ต่างพากันให้ร้ายแก่แผ่นดินคานาอันนั้น เป็นเหตุให้คนอิสราเอลทั้งหลายไม่ยอมเดินทางเข้าแผ่นดินคานาอันตามที่พระเจ้าทรงบัญชา เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้อิสราเอลต้องใช้ชีวิตอยู่ในทะเลทราย เป็นเวลา 40 ปี นับตามจำนวนวันที่ผู้สอดแนมเดินทางไปดูลาดเลาแผ่นดินนั้น และบรรดาอิสราเอลที่มีอายุเกิน 20 ปีในวันนั้น ยกเว้น โยชูวา และ คาเล็บ ล้วนไม่มีใครได้เข้าไปในแผ่นดินคานาอันเลย[8]
  • ขณะเมื่ออยู่ในทะเลทราย ช่วง 40 ปีอันโหดร้ายนั้น ครั้งหนึ่งเกิดการกันดารน้ำ ชาวอิสราเอลจึงมาต้ดพ้อโมเสส ในครั้งนี้พระเจ้าตรัสสั่งให้โมเสส ออกไป "บอก" ก้อนหินให้หลั่งน้ำ เพื่อได้มีน้ำใช้ แต่ครั้งนั้นอิสราเอลทำให้โมเสส และอาโรนโกรธอย่างมาก จึงใช้ไม้เท้า ตี หินสองครั้ง น้ำจึงไหลออกมา เหตุการณ์ครั้งนั้น พระเจ้านับว่าทั้งสองไม่เชื่อฟังพระองค์ อาโรนและโมเสสจึงไม่ได้สิทธิในการเข้าไปในแผ่นดินคานาอัน[9]

ชีวิตครอบครัว

[แก้]

เมื่อโมเสสไปอาศัยอยู่กับ เรอูเอล ปุโรหิตแห่งเมืองมีเดียนนั้น เยโธร ได้ยก ศิปโปราห์ บุตรสาวของตนให้โมเสส และมีบุตร ชื่อ เกอร์โชม

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

โมเสสใช้เวลาปกครองอิสราเอล และนำอิสราเอลเดินทางผ่านทะเลทราย เป็นเวลา 40 ปี เมื่อท่านอายุได้ 120 ปี ก็สิ้นชีวิต โดยมิได้เข้าไปในแผ่นดินคานาอัน แผ่นดินแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า เพราะการไม่เชื่อฟังพระเจ้าเพียงครั้งเดียว[10] ตามบันทึกพระคัมภีร์กล่าวว่า ศพของโมเสส ถูกฝังไว้ในเขตแดนก่อนเข้าแผ่นดินคานาอันนั่นเอง

ในศาสนาอิสลาม

[แก้]

มูซาถูกกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าบุคคลอื่น ๆ และมีการรายงานชีวิตของท่านมากกว่านบีคนอื่น ๆ[11] ในศาสนาอิสลาม มีการอธิบายมูซาในรูปแบบคล้ายกับศาสดามุฮัมมัด[12] มูซาได้รับการกล่าวถึงเป็นทั้งนะบี (ศาสดา) และเราะซูล (ศาสนทูต) คำหลังใช้เรียกศาสดาที่นำคัมภีร์และธรรมบัญญัติแก่ประชาชนของตน[13][14]

มะกอมอันนะบีมูซา เจริโค

ชื่อมูซาปรากฏในอัลกุรอานถึง 502 ครั้ง เหตุการณ์หลักส่วนใหญ่ในชีวิตของโมเสสที่พบในคัมภีร์ไบเบิลสามารถพบได้ในบทต่าง ๆ (ซูเราะฮ์) ของอัลกุรอาน ยกเว้นเรื่องราวการพบอัลคิฎร์ที่ไม่พบในพระคัมภีร์[11]

ในส่วนเรื่องราวที่พบในอัลกุรอาน พระเจ้าสั่งให้โยเคเบดวางโมเสสลงในหีบและปล่อยให้ไหลไปตามแม่น้ำไนล์ ปล่อยให้อยู่ในความคุ้มครองของพระเจ้า[11][15] อาซิยะฮ์ พระมเหสีฟาโรห์ พบโมเสสลอยอยู่ในแม่น้ำไนล์ พระองค์ทรงโน้มน้าวให้ฟาโรห์รับเขาเป็นลูกชาย เนื่องจากทั้งคู่ไม่มีลูก[16][17][18]

กุรอานยังเน้นย้ำถึงภารกิจของโมเสสในการเชิญฟาโรห์ให้ยอมรับดำรัสจากพระเจ้า[19] และให้ปลดปล่อยวงศ์วานอิสราเอล[11][20] และในอัลกุรอานยังระบุอีกว่า โมเสสส่งเสริมให้วงศ์วานอิสราเอลเข้าไปในคะนาอัน แต่พวกเขาไม่เต็มใจที่จะต่อสู้กับชาวคะนาอัน โดยกลัวความพ่ายแพ้ โมเสสจึงขอต่ออัลลอฮ์ให้แยกตนกับอาโรนจากวงศ์วานอิสราเอลผู้ละเมิด ซึ่งภายหลังกลุ่มชนอิสราเอลต้องร่อนเร่เป็นเวลา 40 ปี[21]

มีฮะดีษหนึ่งที่ระบุถึงการพบปะกับระหว่างมูซากับมุฮัมมัดบนชั้นฟ้า ส่งผลให้ชาวมุสลิมถือปฏิบัติละหมาด 5 เวลาทุกวัน[22] ฮัสตัน สมิธกล่าวว่า สิ่งนี้เป็น "หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของมุฮัมมัด"[23]

ตามธรรมเนียมอิสลามบางส่วน เชื่อว่ามีการฝังร่างของมูซาที่มะกอมอันนะบีมูซา ใกล้เจริโค[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Numbers 12:1
  2. อพยพ 6:20, พระคริสตธรรมคัมภีร์
  3. อพยพ 2:11-25 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  4. อพยพ บทที่ 3 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  5. อพยพ 3-4 และ 7:6-7 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  6. ดูเพิ่มใน ภัยพิบัติแห่งอียิปต์
  7. ดูเพิ่มใน พิธีปัสคา
  8. กันดารวิถี บทที่ 13 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  9. กันดารวิถี บทที่ 20 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  10. เฉลยธรรมบัญญัติ 31:1-7 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Keeler 2005, pp. 55–66.
  12. Keeler 2005, pp. 55–56, describes Moses from the Muslim perspective:

    Among prophets, Moses has been described as the one "whose career as a messenger of God, lawgiver and leader of his community most closely parallels and foreshadows that of Muhammad", and as "the figure that in the Koran was presented to Muhammad above all others as the supreme model of saviour and ruler of a community, the man chosen to present both knowledge of the one God, and a divinely revealed system of law". We find him clearly in this role of Muhammad's forebear in a well-known tradition of the miraculous ascension of the Prophet, where Moses advises Muhammad from his own experience as messenger and lawgiver.

  13. Azadpur, M. (2009). "Charity and the Good Life: On Islamic Prophetic Ethics". Crisis, Call, and Leadership in the Abrahamic Traditions. New York: Palgrave Macmillan. pp. 153–167.
  14. Keeler 2005, p. 55.
  15. อัลกุรอาน 28:7
  16. อัลกุรอาน 28:9
  17. Wheeler, Brannon M. (2002). Prophets in the Quran: an introduction to the Quran and Muslim exegesis. Continuum. ISBN 0-8264-4957-3.
  18. Shahada Sharelle Abdul Haqq (2012). Noble Women of Faith: Asiya, Mary, Khadija, Fatima (illustrated ed.). Tughra Books. ISBN 978-1-59784-268-6.
  19. อัลกุรอาน 79:17–19
  20. อัลกุรอาน 20:47–48
  21. อัลกุรอาน 5:20
  22. "Sahih al-Bukhari, Book 97, Hadith 142". Sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  23. Smith, Huston (1991), The World's Religions, Harper Collins, p. 245, ISBN 978-0-06-250811-9.
  24. Samuel Curtiss (2005). Primitive Semitic Religion Today. Kessinger. pp. 163–4. ISBN 1-4179-7346-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]