ข้ามไปเนื้อหา

โมกษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นสิทธะในศาสนาเชน แสดงถึงผู้ที่เข้าสู่โมกษะของเชน

โมกษะ (ชื่ออื่น ๆ เช่น วิโมกษะ, วิมุขติ, มุขติ)[1] เป็นคำศัพท์ในศาสนาฮินดู พุทธ ซิกข์ และ เชน หมายถึงรูปแบบต่าง ๆ ของการปลดปล่อย (emancipation), การตรัสรู้ (enlightment), การเป็นอิสระ (liberation) และการปล่อยไป (release)[2] ในเชิงโมกขวิทยา (soteriology) และเชิงอวสานวิทยา (eschatology) หมายถึงอิสระจากสังสารวัฏ คือวงจรแห่งการเกิดและตาย[3] ในขณะที่ความหมายในเชิงญาณวิทยา (epistemology) และในเชิงจิตวิทยา "โมกษะ" หมายถึงอิสระจากความไม่รู้ (ignorance) คือ การเข้าใจตัวเอง รู้จักตัวเอง และปรับปรุงตัวเอง[4]

ตามคติของฮินดู โมกษะคือแนวคิดแกนกลาง[5] และเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ซึ่งต้องผ่านขั้นสามขั้นในชีวิต คือ ธรรมะ (ชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและความเหมาะสม), อรรถะ (ความเจริญทางวัตถุ เงินทอง ชีวิตที่มั่นคง ความหมายของชีวิต) และ กาม (ความสุขทางใจและอารมณ์ที่เบิกบาน)[6] ทั้งหมดทั้งสี่แนวคิดนี้ เรียกรวมกันว่า "ปุรุษารถะ (Puruṣārtha)[7]

บางครั้งคำว่าโมกษะ อาจใช้แทนกันกับคำว่า นิพพาน ได้ทั่วไป[8] อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคำมีความหมายและมุมมองที่แตกต่างกันไปตามนิกายและลัทธิในศาสนาฮินดู เชน และพุทธ[9] คำว่านิพพานจะพบมากในศาสนาพุทธ[10] ส่วนคำว่าโมกษะจะพบทั่วไปในศาสนาฮินดู[11]

ศาสนาฮินดู

[แก้]

ในคัมภีร์เก่าแก่ของฮินดูบางฉบับใช้คำว่าโมกษะปะปนไปกับคำว่าเกวลญาณ (Keval jnana) หรือ ไกวัลย์ (kaivalya), อปวรรค (Apavarga), นิหสรียสะ (Nihsreyasa), บรมบท (Paramapada), พรหมภาวะ (Brahmabhava), พรหมญาณ (Brahmajnana) และ พราหมีสถิติ (Brahmi sthiti) ส่วนเอกสารใหม่ ๆ บางครั้งใช้คำว่า นิรวาน (นิพพาน) ซึ่งเป็นนิยามในศาสนาพุทธด้วย[12][13] หกลัทธิหลักดั้งเดิมของฮินดูมีการโต้เถียงกันมาช้านานถึงประเด็นว่า การเข้าถึงโมกษะนั้นจะเกิดขึ้นได้ในชาติภพนี้หรือในอีกชาติภพถัดไป[14]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

คำว่า "โมกษะ" ในศาสนาพุทธ แต่มีคำที่เทียบเคียงกันได้คือ "โมกขธรรม" "วิโมกข์"[15]

ศาสนาเชน

[แก้]

ทั้ง "โมกษะ" และ "นิรวาน" (นิพพาน) คือคำที่มีความหมายเดียวกันในศาสนาเชนและเป็นคำเดียวกัน[12][16] บางครั้งคัมภีร์เชนจะใช้คำว่า "เกวลญาณ" และเรียกวิญญาณที่หลุดพ้นว่า "เกวลิน"[17] ในศาสนาเชน โมกษะเป็นเป้าหมายสูงสุด และให้นิยามโมกษะคือการหลุดพ้นเชิงจิตวิญญาณจากกรรมะทั้งปวง[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Soka Gakkai Dictionary of Buddhism, vimoksha". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014.
  2. John Bowker, The Oxford Dictionary of World Religions, Oxford University Press, ISBN 978-0192139658, p. 650
  3. Sharma 2000, p. 113.
  4. See:
    • E. Deutsch, The self in Advaita Vedanta, in Roy Perrett (Editor), Indian philosophy: metaphysics, Volume 3, ISBN 0-8153-3608-X, Taylor and Francis, pp 343-360;
    • T. Chatterjee (2003), Knowledge and Freedom in Indian Philosophy, ISBN 978-0739106921, pp 89-102; Quote - "Moksa means freedom"; "Moksa is founded on atmajnana, which is the knowledge of the self.";
    • Jorge Ferrer, Transpersonal knowledge, in Transpersonal Knowing: Exploring the Horizon of Consciousness (editors: Hart et al.), ISBN 978-0791446157, State University of New York Press, Chapter 10
  5. John Tomer (2002), Human well-being: a new approach based on overall and ordinary functionings, Review of Social Economy, 60(1), pp 23-45; Quote - "The ultimate aim of Hindus is self-liberation or self-realization (moksha)."
  6. See:
    • A. Sharma (1982), The Puruṣārthas: a study in Hindu axiology, Michigan State University, ISBN 9789993624318, pp 9-12; See review by Frank Whaling in Numen, Vol. 31, 1 (Jul., 1984), pp. 140-142;
    • A. Sharma (1999), The Puruṣārthas: An Axiological Exploration of Hinduism, The Journal of Religious Ethics, Vol. 27, No. 2 (Summer, 1999), pp. 223-256;
    • Chris Bartley (2001), Encyclopedia of Asian Philosophy, Editor: Oliver Learman, ISBN 0-415-17281-0, Routledge, Article on Purushartha, pp 443;
    • The Hindu Kama Shastra Society (1925), The Kama Sutra of Vatsyayana, University of Toronto Archives, pp. 8
  7. See:
    • Gavin Flood (1996), The meaning and context of the Purusarthas, in Julius Lipner (Editor) - The Fruits of Our Desiring, ISBN 978-1896209302, pp 11-21;
    • Karl H. Potter (2002), Presuppositions of India's Philosophies, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120807792, pp. 1-29
  8. The Soka Gakkai Dictionary of Buddhism: "Vimoksha [解脱]" (Skt.; Jpn. gedatsu). Emancipation, release, or liberation. The Sanskrit words vimukti, mukti, and moksha also have the same meaning. Vimoksha means release from the bonds of earthly desires, delusion, suffering, and transmigration. While Buddhism sets forth various kinds and stages of emancipation, or enlightenment, the supreme emancipation is nirvana, a state of perfect quietude, freedom, and deliverance. See The Soka Gakkai Dictionary of Buddhism, vimoksha เก็บถาวร 22 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. See:
    • Loy, David (1982), Enlightenment in Buddhism and Advaita Vedanta: Are Nirvana and Moksha the Same?, International Philosophical Quarterly, 23 (1), pp 65–74;
    • T. Chatterjea (2003), Knowledge and Freedom in Indian Philosophy, ISBN 978-0739106921, pp 89; Quote - "In different philosophical systems moksa appears in different names, such as apavarga, nihsreyasa, nirvana, kaivalya, mukti, etc. These concepts differ from one another in detail."
  10. Peter Harvey (2013), An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices, ISBN 978-0521859424, Cambridge University Press
  11. Knut Jacobsen, in The Continuum Companion to Hindu Studies (Editor: Jessica Frazier), ISBN 978-0-8264-9966-0, pp 74-83
  12. 12.0 12.1 Jaini, Padmanabh (2000). Collected Papers on Jaina Studies. Delhi: Motilal Banarsidass Publ. ISBN 81-208-1691-9.: "Moksa and Nirvana are synonymous in Jainism". p.168
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ davidloy
  14. A. Sharma (2000), Classical Hindu Thought: An Introduction, Oxford University Press, ISBN 978-0195644418, pp 117
  15. Gombrich, The Conditioned genesis of Buddhism, chapter four: "How Insight Worstened Concentration"
  16. Michael Carrithers, Caroline Humphrey (1991) The Assembly of listeners: Jains in society Cambridge University Press. ISBN 0521365058: "Nirvana: A synonym for liberation, release, moksa." p.297
  17. 17.0 17.1 Paul Dundas (2003). The Jains. Routledge. pp. 104–105. ISBN 978-0415266055.