โน แท-อู
โน แท-อู | |
---|---|
노태우 | |
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 6 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 | |
ก่อนหน้า | ช็อน ดู-ฮวัน |
ถัดไป | คิม ยองซัม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แดกู จังหวัดคยองซังเหนือ เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (88 ปี)[1] |
ศาสนา | โปรเตสแตนต์ (เดิมนับถือพุทธ)[2] |
พรรคการเมือง | ยุติธรรมประชาธิปไตยและเสรีนิยมประชาธิปไตย |
คู่สมรส | คิม อก-ซุก |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | 노태우 |
---|---|
ฮันจา | 盧泰愚 |
อาร์อาร์ | No Tae-u |
เอ็มอาร์ | No T'aeu |
นามปากกา | |
ฮันกึล | 용당 |
ฮันจา | 庸堂 |
อาร์อาร์ | Yongdang |
เอ็มอาร์ | Yongdang |
โน แท-อู (อักษรโรมัน: Roh Tae-woo; 4 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564) เป็นอดีตนายพลของกองทัพบกเกาหลีใต้และนักการเมือง เขาเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ลำดับที่ 6 (2531-2536)
โนเป็นเพื่อนกับช็อน ดู-ฮวัน ตั้งแต่อยู่สมัยมัธยมปลายที่เมืองแดกู และในสมัยวัยรุ่นเขายังเป็นผู้เล่นรักบี้ที่ยอดเยี่ยมของสมาคมอีกด้วย[3]
ชีวิตราชการ
[แก้]โน แท-อูเข้ารับราชการกองทัพเมื่อปี พ.ศ. 2498 และเจริญก้าวหน้าตามตำแหน่งในกองทัพอย่างต่อเนื่องและเขาได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเอกในปี พ.ศ. 2522 นอกจากนั้นเขายังเป็นสมาชิกฮานาเฮว ซึ่งเป็นสมาคมลับของทหาร และเขายังเป็นผู้สนับสนุนในการรัฐประหารของ ช็อน ดู-ฮวัน อีกด้วย ซึ่งในปีนั้นชอนได้เป็นผู้นำทางพฤตินัยของประเทศเกาหลีใต้ โนเป็นทหารระดับนายพลซึ่งช่วยเหลือชอนในการนำกองกำลังทหารเข้าปราบปรามในเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู
งานการเมือง
[แก้]โนได้ใช้อำนาจของเขาเพื่อกรุยทางสู่การเป็นประธานาธิบดี เมื่อเขาลาออกจากองทัพเขาเป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลของชอน และสิ่งที่น่าจดจำที่สุดในชีวิตของเขาคือ การเป็นผู้ควบคุมการจัดเตรียมงานโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่จัดขึ้นที่โซล ที่เขาได้เป็นประธานในพิธีเปิด
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530 ชอนได้เสนอชื่อโนเป็นตัวแทนของพรรคยุติธรรมประชาธิปไตย และนี่เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าเป็นการจัดการให้โนได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป และก่อให้เกิดการประท้วงของผู้รักประชาธิปไตยอย่างกว้างขวางทั่วทั้งโซลและเมืองอื่นๆในปี พ.ศ. 2530 ในเหตุการณ์การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเดือนมิถุนายน
เพื่อเป็นการโต้ตอบ โนได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 29 มิถุนายน โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างโปรแกรมการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่อย่างมากมาย,ปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ในการเลือกตั้งนั้น ผู้นำฝ่ายค้านสองคนคือ คิม ยองซัมและคิม แดจุง (ซึ่งต่อมาทั้งสองคนก็ได้เป็นประธานาธิบดี) ไม่สามารถที่จะเอาชนะความแต่งต่างและความแตกแยกของทั้งคู่ได้ ทำให้ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าโน แท-อู จึงทำให้โนชนะคะแนนไปอย่างเฉียดฉิว และกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ชนะการเลือกตั้งไปได้อย่างใสสะอาด
โนเป็นประธานาธิบดีในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 และมีนโยบายทางด้านการต่างประเทศคือ Nordpolitik (นโยบายเกี่ยวกับทางเหนือ) ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่ทำให้มีการขัดแย้งกันกับผู้บริหารชุดก่อน และโนก็รักษาคำพูดด้วยการปฏิรูปประชาธิปไตย โนก็ยังได้พบกับประธานาธิบดีคอราซอน อากีโน เพื่อหารือกันในหลายโอกาสระหว่างฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ในเรื่องเศรษฐกิจ,สังคมและวัฒนธรรมและเพื่อสนับสนุนลีโอพอลโด เซรานเตส นักกีฬาชาวฟิลิปปินส์ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และหารือเกี่ยวกับเรื่องการรวมชาติเพื่อยุติความไม่เป็นมิตรของเกาหลีเหนือที่มีขึ้นภายหลังสงครามเกาหลี
ข้อกล่าวหาทุจริต
[แก้]ในปี พ.ศ. 2536 ประธานาธิบดีคนถัดจากโน คือ คิม ยองซัม ผู้มีนโยบายหลักคือการปราบปรามผู้ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ฉะนั้น โนและช็อน ดู-ฮวันจึงถูกไต่สวนในข้อหารับสินบน แต่ดูเหมือนเป็นการพูดอย่างใจอย่างเพราะก่อนหน้านี้คิม ยองซัมได้ยุบพรรคการเมืองของเขารวมกับพรรคการเมืองของโนเพื่อทำให้คิมได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และอดีตประธานาธิบดีสองคนทั้ง ช็อน ดู-ฮวันและโน แท-อูถูกกล่าวหาเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการขัดขืนคำสั่งและการก่อจลาจลสำหรับบทบาทของพวกเขาในรัฐประหารปี 2522 และเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู ในปี 2523
ทั้งสองถูกพิพากษาว่ามีความผิดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 จากข้อหากบฏ,การก่อจลาจลและการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยชอนถูกตัดสินประหารชีวิต และต่อมาได้ลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต ส่วนโนถูกพิพากษาจำคุก 22 ปี 6 เดือน และต่อมาเขาได้ทำการอุทธรณ์ ศาลได้พิพากษาลดโทษให้เหลือ 17 ปี โดยต่อมาทั้งสองได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดี คิม ยองซัม และออกจากคุกในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2540
อ้างอิง
[แก้]- ↑ South Korea's former president Roh Tae-woo dies at 88 - hospital
- ↑ Hani News The Hankyoreh(2008-09-03). Retrieved on 2008-09-13 (เกาหลี)
- ↑ Famous Ruggers by Wes Clark and others, retrieved 19 August 2009