ข้ามไปเนื้อหา

โทรจิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทดลอง Ganzfeld (Ganzfeld experiment) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงโทรจิต ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดการทำซ้ำและการควบคุมที่ไม่ดี [1][2]

โทรจิต (อังกฤษ: telepathy) เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยไม่ใช้ช่องทางทางประสาทสัมผัสหรือไม่มีปฏิกิริยาทางกายเลย และทึกทักกันว่าทำได้จริง แม้มีการศึกษาค้นคว้ามากมายเพื่อยกระดับ ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์ซึ่งโทรจิต แต่นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า โทรจิตมิใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง[3][4] อนึ่ง ในระยะหลัง ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นเทคโนโลยีที่เรียก "การอ่านภาพจากประสาท" (neuroimaging) ซึ่งช่วยให้อ่านใจในรูปแบบง่าย ๆ ได้

คำภาษาอังกฤษ "telepathy" นั้นเฟรเดริก วิลเลียม เฮนรี ไมเออส์ (Frederic William Henry Myers) นักวิชาการซึ่งก่อตั้งสมาคมวิจัยพลังจิต (Society for Psychical Research) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 1882[5] และนับแต่นั้นจนปัจจุบันก็ได้รับความนิยมเป็นอันมากยิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้กันก่อนหน้าว่า "การถ่ายโอนความคิด" (thought-transference)[5][6] เช่นเดียวกับโทรจิตเองที่เป็นหัวเรื่องยอดนิยมในบันเทิงคดียุคปัจจุบันและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ซึ่งตัวละครบรรดาที่เป็นยอดมนุษย์และยอดวายร้ายนั้นมีความสามารถส่งโทรจิตได้กันทั้งสิ้น

จุดเริ่มต้นของแนวคิด

[แก้]

ตามคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ เช่น รอเจอร์ ลัคเฮิร์ส (Roger Luckhurst) และ เจเน็ต ออพเพนไฮม์ (Janet Oppenheim) แนวคิดเรื่องโทรจิตในอารยธรรมตะวันตกสามารถสืบค้นย้อนหลังไปได้ถึงปลายศตวรรษที่ 19 และได้มีการก่อตั้งสมาคมวิจัยทางจิต (Society for Psychical Research) ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น [7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marks, David; Kammann, Richard. (2000). The Psychology of the Psychic. Prometheus Books. pp. 97-106. ISBN 1-57392-798-8
  2. Hyman, Ray. Evaluating Parapsychological Claims. In Robert J. Sternberg, Henry L. Roediger, Diane F. Halpern. (2007). Critical Thinking in Psychology. Cambridge University Press. pp. 216-231. ISBN 978-0521608343
  3. Jan Dalkvist (1994). Telepathic group communication of emotions as a function of belief in telepathy. Dept. of Psychology, Stockholm University. สืบค้นเมื่อ 5 October 2011. Within the scientific community however, the claim that psi anomalies exist or may exist is in general regarded with skepticism. One reason for this difference between the scientist and the non scientist is that the former relies on on his own experiences and anecdotal reports of psi phenomena, whereas the scientist at least officially requires replicable results from well controlled experiments to believe in such phenomena - results which according to the prevailing view among scientists, do not exist.
  4. Willem B. Drees (28 November 1998). Religion, Science and Naturalism. Cambridge University Press. pp. 242–. ISBN 978-0-521-64562-1. สืบค้นเมื่อ 5 October 2011. Let me take the example of claims in parapsychology regarding telepathy across spatial or temporal distances, apparently without a mediating physical process. Such claims are at odds with the scientific consensus.
  5. 5.0 5.1 Carroll, Robert Todd (2005). "The Skeptic's Dictionary; Telepathy". SkepDic.com. สืบค้นเมื่อ 2006-09-13.
  6. Glossary of Parapsychological terms - Telepathy เก็บถาวร 2006-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนParapsychological Association. Retrieved December 19, 2006.
  7. Oppenheim, Janet. (1985). The Other World: Spiritualism and Psychical Research in England, 1850–1914. Cambridge University Press. pp. 135–249. ISBN 978-0521265058
  8. Luckhurst, Roger. (2002). The Invention of Telepathy, 1870–1901. Oxford University Press. pp. 9–51. ISBN 978-0199249626