แคมอล-โอล-โมล์ก
แคมอล-ออล-มอล์ก | |
---|---|
ภาพถ่ายบุคคลของแคมอลออลมอล์ก โดย ออนทูวอน แซฟรูกีน (1851–1933) | |
เกิด | โมฮัมเมด การ์ฟาร์รี 29 กันยายน ค.ศ. 1848 คอชอน อิหร่านยุคแกแจร์ |
เสียชีวิต | 18 สิงหาคม ค.ศ. 1940 นีชอปูร์ อิหร่านยุคแปฮ์ลอวี | (91 ปี)
สุสาน | อนุสรณ์ศพของแคมอลออลมอล์ก |
สัญชาติ | อิหร่าน |
มีชื่อเสียงจาก | จิตรกรรม |
คู่สมรส | Zahra Khanoom (สมรส 1884; เสียชีวิต 1919) |
บุตร | 2 |
โมแฮมเมด แฆฟฟอรี (เปอร์เซีย: محمد غفاری; Mohammad Ghaffari; 29 กันยายน 1848 — 18 สิงหาคม 1940) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ แคมอล-โอล-โมล์ก (کمالالمُلک, Kamal-ol-Molk, ความสมบูรณ์แบบในแผ่นดิน) เป็นจิตรกรชาวอิหร่าน สมาชิกตระกูลแฆฟฟอรีในคอชอน
แฆฟฟอรีเกิดที่คอชอนในปี 1848 ในตระกูลที่มีธรรมเนียมศิลปะสืบทอดกันมา ลุงของเขาคือ มีร์ซอ ข่าน แฆฟฟอรี จิตรกรสมัยศตวรรษที่ 19 ที่ได้รับการยอมรับสูง บิดาของเขาคือ มีร์ซอ โบโซร์ก คอชอนี ศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอิหร่าน[1] เขามีความสนใจในจิตรกรรมและอักษรวิจิตรตั้งแต่เป็นเด็ก รวมถึงเคยวาดรูปโดยใช้ถ่านบนผนังห้อง[2]
เขามีโอกาสได้รู้จักกับนอเซร์แอดดีน ชะฮ์ ฆอจอร์ ชะฮ์ที่สี่ของอิหร่าน ซึ่งชวนเขามาทำงานให้กับราชสำนักของตน ระหว่างนี้เขาได้ปรับปรุงฝีมือขึ้นและได้รับพระราชทานนาม "แคมอล โอล โมล์ก" (ความสมบูรณ์แบบในแผ่นดิน) จากชะฮ์ ระหว่างการทำงานในราชสำนัก ถือเป็นช่วงที่เชาผลิตชิ้นงานชิ้นเอกหลายชิ้น เขาทำงานให้กับราสำนักกระทั่งชะฮ์ถูกลอบปลงพระชนม์ เขาไม่สามารถทำงานในราชสำนักของชะฮ์คนใหม่ โมแซฟแฟร์แอดดีน ชะฮ์ กอจอร์ได้ ในปี 1898 ด้วยวัย 47 ปี เขาออกเดินทางไปยังยุโรปเพื่อพัฒนาฝีมือ[2] เขามีโอกาสได้พบปะศิลปินในยุโรปหลายคน รวมถึงได้คัดลอกภาพเขียนของเรมบรันต์ และเรียนรู้จากการเดินทางเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะมากมายในยุโรป ที่ซึ่งเขาได้อิทธิพลการสร้างสรรค์งานและพัฒนาฝีมือ เขาอยู่ในยุโรปนานสี่ปีก่อนที่ในปี 1902 ก่อนจะเดินทางกลับอิหร่านและเป็นจิตรกรประจำราชสำนักให้กับชะฮ์ต่อ[3]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ภาพวาดของนอเซร์แอดดีน ชะฮ์ ฆอจอร์
-
วงดนตรี, 1886
-
โถงน้ำพุ วังโกเลสถาน, 1889
-
ขอทาน, 1889
-
ช่างทอง, 1901
-
แอโซดโอลโมล์ก, 1910
-
หมู่บ้านแดมอแวนด์, 1915
-
ภาพเหมือนตนเอง, 1925
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kamal-ol-molk: Eminent Iranian Artist", Iran Review, Online:
- ↑ 2.0 2.1 "KAMĀL-AL-MOLK, MOḤAMMAD ḠAFFĀRI, A. Ashraf with Layla Diba, Encyclopaedia Iranica". Iranicaonline.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-21.
- ↑ Issa, R., Pākbāz,R. and Shayegan, D., Iranian Contemporary Art, Booth-Clibborn Editions, 2001, p. 14