เฟอร์รุชโช ลัมโบร์กีนี
เฟอร์รุชโช ลัมโบร์กีนี | |
---|---|
เกิด | 28 เมษายน ค.ศ. 1916 Cento ราชอาณาจักรอิตาลี |
เสียชีวิต | 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เปรูจา ประเทศอิตาลี | (76 ปี)
ศิษย์เก่า | Istituto Fratelli Taddia |
อาชีพ | ช่างกล, นักผลิตไวน์, นักอุตสาหกรรม, ผู้ประกอบการ |
ตำแหน่ง | [1] |
คู่สมรส | ภรรยาคนแรก: Clelia Monti (เสียชีวิต ค.ศ. 1947), มารดาของ Tonino ภรรยาคนที่ 2: Anna Borgatti (หย่า) ภรรยาคนที่ 3: Maria Theresa Cane, มารดาของ Patrizia |
บุตร | 2 |
ลายมือชื่อ | |
เฟอร์รุชโช ลัมโบร์กีนี (อิตาลี: Ferruccio Lamborghini; 28 เมษายน ค.ศ, 1916 – 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นนักอุตสาหกรรมชาวอิตาลี
เขาเกิดในตระกูลชาวนา เขาได้มีความสนใจในด้านเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดัดแปลงเครื่องจักรกลที่ใช้ในไร่นา จนพ่อเห็นถึงความพยายามของลูกชายจึงส่งไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมจักรกล หลังจากที่เรียนจบไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เขารับใช้ชาติทำงานให้กับฐานทัพอากาศอิตาลี หลังสงครามสิ้นสุด เขาได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิด และเริ่มต้นซ่อมแซมรถแทรกเตอร์ของอิตาลี ที่ใช้อะไหล่จากยวดยานของทหาร และนี่เองคือจุดเริ่มต้นในการตั้งโรงงานแทรกเตอร์ในชื่อว่า "Lamborghini Trattori S.p.A." ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ กลายเป็นบริษัทผลิตรถแทร็กเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี และยังเป็นเจ้าของกิจการเครื่องปรับอากาศอีกด้วย
ลัมโบร์กีนี เริ่มมีฐานะมั่งคั่งและยังคงไม่ลืมความฝันในวัยเด็กของเขา จึงเริ่มซื้อ อัลฟา โรเมโอ, มาเซราติ, จากัวร์, แอสตัน มาร์ติน, เชฟโรเลต และ เฟอร์รารี่ รถยนต์เหล่านี้กำเนิดขึ้นในยุค 1950-1960 มีเครื่องยนต์ที่ให้แรงม้ามากกว่ารถทั่วไปและควบคุมได้ยาก
เขาผลิตรถ ภายใต้ชื่อ ออโตโมบิล ลัมโบร์กีนี ( Automobile Lamborghini ) ในช่วงปี 1962 ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ของวงการรถสปอร์ตในยุโรป ให้ได้ตื่นตะลึงกับรูปแบบของตัวรถลัมโบร์กีนี และเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ การวางตำแหน่งเครื่อง และการบังคับควบคุมที่วิศวกรและนักขับทดสอบของบริษัทร่วมกันคิดค้นและพัตนา จนเสร็จสมบูรณ์เป็น ลัมโบร์กีนี 350 จีทีวี ( Lamborghini 350 GTV )
เขาได้ขายกิจการรถแทร็กเตอร์และรถไถนาของ ลัมโบร์กีนี ให้กับบริษัท "เซม" ( Same ) ผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร จากนั้นไม่นานบริษัทได้ประสบกับปัญหาทางการเงินจนถึงขั้นล้มละลายลงในปี 1977 และถูกซื้อโดยพี่น้องตระกูล มิมรัน( Mimran ) แต่เมื่อมารับช่วงต่อ กิจการก็ยังคงติดขัด จึงถูกขายต่อให้กับบริษัท ไครสเลอร์ แต่ก็ยังเกิดปัญหา จึงถูกขายต่ออีกทอดไปยังกลุ่มทุนจากอินโดนีเซีย และท้ายที่สุดบริษัท ออดี้ เอจี ก็ได้ทำให้ ลัมโบร์กีนี กลับมามั่นคงอีกครั้งจากการดูแลพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์จากวิศวกรและทีมงานจากเยอรมัน ที่มีความมุ่งมั่นบวกกับเงินทุนมหาศาลทำให้หวนสู่วงการซูเปอร์คาร์อีกครั้งในนามของ กัลลาร์โด และ มูร์เซียลาโก ซึ่งเป็นการผสานนวัตกรรมของ ลัมโบร์กีนี และ ออดี้ เข้าด้วยกัน ทำให้ขายได้มากกว่า 9,000 คันในเวลานั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lyons et al. 1988, p. 12.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Lyons, Pete; The Auto Editors of Consumer Guide (9 June 1988). The Complete Book of Lamborghini (Hardcover ed.). Woodstock, New York: Beekman House. ISBN 9780854297351.
{{cite book}}
:|last2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)