ข้ามไปเนื้อหา

เพลงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิมโน นาเซียวนัล โดมีนีกาโน
คำแปล: เพลงชาติสาธารณรัฐโดมีนีกัน
Himno Nacional Dominicano
สกอร์ตนตรีเพลงชาติสาธารณรัฐโดมีนีกัน
ชื่ออื่นสเปน: Quisqueyanos Valientes
เนื้อร้องเอมีเลียว ปรูดอม
ทำนองโคเซ รูฟีโน เรเยส เซียงกัส
รับไปใช้30 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
ตัวอย่างเสียง

เพลงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน (สเปน: Himno Nacional Dominicano) เป็นบทเพลงซึ่งประพันธ์ทำนองโดยโคเซ รูฟีโน เรเยส เซียงกัส (José Rufino Reyes Siancas, พ.ศ. 2378 - พ.ศ. 2448) คำร้องโดยเอมีเลียว ปรูดอม (Emilio Prud'homme, พ.ศ. 2399 - พ.ศ. 2475) เพลงนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า "กิสเกยาโนสบาเลียนเตส" (สเปน: Quisqueyanos Valientes) อันมีความหมายว่า "ชาวกิสเกยาผู้กล้าหาญ" ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้มาจากวลีในวรรคแรกสุดของเพลง และได้มีการบรรเลงในฐานะเพลงชาติครั้งแรกที่อาคารองค์กรฟรีเมสันที่มีชื่อว่า อาคารเอสเปรันซาหมายเลข 9 (Esperanza No.9) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2426

เมื่อมีการเผยแพร่เพลงนี้ ปรากฏว่าทำนองเพลงนั้นได้รับความนิยมจากมหาชนอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเนื้อร้องนั้นได้ถูกตั้งคำถามจากบรรดาผู้ทรงความรู้ชาวโดมินิกันจำนวนมากจากความผิดพลาดที่ปรากฏในบทร้องนั้น ต่อในในปี พ.ศ. 2420 ปรูดอมจึงได้ส่งเนื้อร้องเพลงชาติฉบับแก้ไขใหม่ให้ทางการ ซึ่งเนื้อร้องดังกล่าวนี้คือเนื้อร้องที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

หลังจากผ่านการโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนถึงบทร้องที่มีการแก้ไขใหม่ สภาคองเกรสของสาธารณรัฐโดมินิกันจึงได้มีมติด้วยเสียงส่วนมาก ผ่านร่างกฎหมายรับรองเพลงนี้ให้มีฐานะเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2440 แต่ว่าประธานาธิบดีอูลีส เออโร (Ulises Heureaux, พ.ศ. 2389 - 2443) ได้ใช้สิทธิยับยั้งกฎหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุที่ปรูดอมซึ่งเป็นผู้ประพันธ์บทร้องของเพลงนี้เป็นนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับตนเอง ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีเออโรถูกฆาตกรรมในปี พ.ศ. 2443 ภาวะความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ดำเนินต่อเนื่องหลายปีได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางต่อการรับรองฐานะอย่างเป็นทางการของเพลงชาติของสาธารณรัฐโดมินิกัน

เพลงชาติสาธารณรัฐโดมินิกันได้รับการรับรองฐานอย่างเป็นทางการในที่สุด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2477

ในบทเพลงนี้ ผู้แต่งมิได้กล่าวถึงชาวโดมินิกันด้วยคำว่า "Dominican" แต่ใช้คำว่า "ชาวกิสเกยา" (Quisqueyano) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในเชิงกวีและประวัติศาสตร์[1]

บทร้อง

[แก้]

สำนวนดั้งเดิม

[แก้]
ภาษาสเปน คำแปล
¡A probar esto, es mentira Al arma, españoles !
¡ Volad a la lid !
¡ Decir por todo lo alto del cielo
"Vencer o morir"


Nobles hijos de Santo Domingo,
y las canas del mísero anciano,
y cuanto hay de sagrado en lo humano
ultrajó con orgullo procaz.


¡ Al arma, españoles !
¡ Volad a la lid !
¡ Tomad por divisa
"Vencer o morir" !


Mas hoy tiembla convulso, leyendo
de los cielos la justa sentencia,
y amenazan su odiosa existencia
diez mil lanzas que afila el honor.


¡ Compatriotas, el éxito es cierto !...
Libertad con valor conquistemos,
y el cruzado estandarte plantemos
del tirano en la oscura mansión.


¡ Al arma, españoles !
¡ Volad a la lid !
¡ Tomad por divisa
"Vencer o morir" !

ฉบับราชการ

[แก้]
ภาษาสเปน คำแปล

I

Quisqueyanos valientes, alcemos
Nuestro canto con viva emoción,
Y del mundo a la faz ostentemos
Nuestro invicto glorioso pendón.

II

Salve el pueblo que intrépido y fuerte,
A la guerra a morir se lanzó
Cuando en bélico reto de muerte
Sus cadenas de esclavo rompió.

III

Ningún pueblo ser libre merece
Si es esclavo indolente y servil;
Si en su pecho la llama no crece
Que templó el heroismo viril.

IV

Más Quisqueya la indómita y brava
Siempre altiva la frente alzará:
Que si fuere mil veces esclava
Otras tantas ser libre sabrá.

V

Que si dolo y ardid la expusieron
de un intruso señor al desdén,
¡Las Carreras! ¡Beller!... campos fueron
que cubiertos de gloria se ven.

VI

Que en la cima de heroíco baluarte,
de los libres el verbo encarnó,
donde el genio de Sánchez y Duarte
a ser libre o morir enseñó.

VII

Y si pudo inconsulto caudillo
de esas glorias el brillo empañar,
de la guerra se vió en Capotillo
la bandera de fuego ondear.

VIII

Y el incendio que atónito deja
de Castilla al soberbio león,
de las playas gloriosas le aleja
donde flota el cruzado pendón.

IX

Compatriotas, mostremos erguida
nuestra frente, orgullosos de hoy más;
que Quisqueya será destruida
pero sierva de nuevo, jamás.

X

Que es santuario de amor cada pecho
do la patria se siente vivir;
Y es su escudo invencible, el derecho;
Y es su lema: ser libre o morir.

XI

Libertad que aún se yergue serena
La victoria en su carro triunfal.
Y el clarín de la guerra aún resuena
Pregonando su gloria inmortal.

XII

¡Libertad! Que los ecos se agiten
Mientras llenos de noble ansiedad
Nuestros campos de gloria repiten
¡Libertad! ¡Libertad! ¡Libertad!
1
ชาวกิสเกยา จิดใจกล้าแกร่ง
มาร่วมร้องเพลงของเราอันเรืองรอง
จากโลกสู่พื้นพิภพ
ธงไตรรงค์ไม่มีความพ่ายแพ้ด้วยอันรุ่งโรจน์ของเรา

2

ประชาชนอันเข้มแข็ง และ กล้าหาญ จงเจริญ
นำไปสู่สงครามปลดปล่อยตัวเองพร้อมที่จะตาย
ในเมื่ออยู่ในสงครามคราม ความท้าทาย ไปสู่ความตาย
โซ่ตรวน จากทาสของตนยังคงตัดขาด

3

ไม่มีใครสมควรจะได้รับอิสระภาพ
หากเป็นทาสที่เกี่ยจคร้าน และอ่อนแอ
ถ้าในอกของตนไม่ลุกเป็นไฟ
ที่หล่อหลอมความกล้าแกร่งอันชั่วร้าย

4

แต่ชาวกิสเซยา จิตใจกล้าหาญไม่ย่อท้อ
หน้าผากของเธอจงยกขึ้นอย่างภาคิภูมิใจเสมอ
เพราะถ้าเธอเป็นทาสมาหลายครั้ง
มาหลายครั้งอาจจะเป็นอิสระ

5

และหากลฉ้แฉล และเล่ห์เหลี่ยม จะเปิดเผยให้เธฮ
ดูหมิ่นพวกมนุษย์ที่ล่วงล้ำ
ลาส การ์เรราส เบเลอร์...อยู่บนทุ่งหญ้า
ซึ่งปกคลุมไปด้วยแพรวพราวได้เห็น

6

ด้านบนสุดแห่งป้อมปราการของเราอันแกล้าแกร่ง
ด้วยคำพูดของอิสรภาพได้เกิดขึ้นจริง
ซึ่งเป็นอัจริยะภาพของ ซานเชส และ ดูอาเต
สอนให้เรามีอิสระภาพ และความตาย

7

และหากไม่เกรงใจท่านผู้นำ
ลดความแวววาวด้วยความรุ่งโรจน์เหล่านี้
แห่งสงครามที่พบเห็นในแคโปติลโล
ธงแห่งไฟโบกสะบัดไปมา

8

และดวงไฟที่ให้หวาดกลัว
ราชสีห์ผู้หยิ่งผยองจากแคว้นคาสตึล
ลบด้วยหาดทรายเมื่ออันรุ่งโรจน์มาถึง
ธงไตรรงค์ลอยข้ามไป

9

เพื่อนร่วมชาติ มาแสดงตัวตนของเรา
หน้าผากมีความภูมิใจในวันนี้
ชาวกิสเกยา จะล่มสลาย
แต่จะไม่มีวันตกเป็นทาสอีกต่อไป

10

ทุกทรวงอกเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ
เรารู้สึกว่ามาตุภูมิอาศัยอยู่
เป็นกฎเกณฑ์ของเธออันไร้เทียมทาง
เป็นคติประจำใจของเธอว่า จะเป็นอิสระ หรือความตาย

11

เสรีภาพยังคงเชิดชูอย่างสงบ
ชัยชนะในราชรถของเธอ
แตรสงตรามยังคงดังกึกก้อง
ประกาศว่าเป็นอัมตะอันเรืองรองของเธอ

12

เสรีภาพ ให้กึกก้องอย่างหวันไหว
ในขณะที่เต็มไปด้วยหวั่นวิตกวันสูงส่ง
สนามรบแห่งความรุ่งโรจน์ของเา เสียงสะท้อนด้วยวจนะเหล่านี้
เสรีภาพ เสรีภาพ เสรีภาพ



อ้างอิง

[แก้]
  1. Anglería, Pedro Mártir de (1949). Décadas del Nuevo Mundo, Tercera Década, Libro VII (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Editorial Bajel.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]