เท็นริเกียว
เท็นริเกียว (ญี่ปุ่น: 天理教; โรมาจิ: Tenrikyō) บางครั้งเขียนเป็น ลัทธิเท็นริ (อังกฤษ: Tenriism)[1] เป็นศาสนาญี่ปุ่นใหม่ (Japanese new religion) ที่ไม่ได้นับถือแบบเอกเทวนิยมหรือสรรพเทวนิยม มีต้นกำเนิดจากหลักคำสอนของหญิงที่มีชื่อว่ามิกิ นากายามะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งผู้ติดตามเรียกเธอว่า "โอยาซามะ"[2] ผู้ติดตามเท็นริเกียวเชื่อว่าเทพผู้สร้าง เทพแห่งความจริง[3] มีพระนามหลายแบบ เช่น "สึกิฮิ",[4] "เท็นริ-โอ-โนะ-มิโกโตะ"[5] และ "โอยางามิซามะ (พระเจ้าผู้เป็นบุพการี)"[6] ทรงเปิดเผยเจตจำนงของพระองค์ผ่านมิกิ นากายามะในฐานะศาลเจ้าของเทพเจ้า (Shrine of God)[7] และถึงผู้ที่มีบทบาทในระดับที่น้อยกว่าในฮนเซกิ อิโซ อิบูริ และผู้นำคนอื่น ๆ จุดมุ่งหมายทางโลกของเท็นริเกียวคือสั่งสอนและสนับสนุนชีวิตอันผาสุข (Joyous Life) ที่กระทำด้วยกุศลธรรมและสติสัมปชัญญะ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ฮิโนกิชิง
ศูนย์ปฏิบัติการหลักของเท็นริเกียวในปัจจุบันอยู่ที่สำนักงานใหญ่ศาลเจ้าเท็นริเกียว (เท็นริ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีศาลเจ้าที่ได้รับการสนับสนุนทั่วญี่ปุ่น 16,833 แห่ง[8] มีศาสนิกชนในประเทศญี่ปุ่น 1.75 ล้านคน[8] และประมาณการว่ามีศาสนิกชนมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wolfgang Hadamitzky, Kimiko Fujie-Winter. Kanji Dictionary 漢字熟語字典. Tuttle Publishing, 1996. p. 46.
- ↑ Fukaya, Tadamasa, "The Fundamental Doctrines of Tenrikyo," Tenrikyo Overseas Mission Department, Tenri-Jihosha, 1960, p.2
- ↑ The Doctrine of Tenrikyo (2006 ed.). Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 3.
- ↑ Ofudesaki: The Tip of the Writing Brush (2012 ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Publishers. 1998. p. 205, VIII-4.
- ↑ The Doctrine of Tenrikyo (2006, Fourth ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 29.
We call out the name Tenri-O-no-Mikoto in praise and worship of God the Parent.
- ↑ The Doctrine of Tenrikyo (Tenth, 2006 ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 3.
- ↑ "I wish to receive Miki as the Shrine of God." The Doctrine of Tenrikyo, Tenrikyo Church Headquarters, 2006, p.3.
- ↑ 8.0 8.1 Japanese Ministry of Education. Shuukyou Nenkan, Heisei 14-nen (宗教年鑑平成14年). 2002.
- ↑ Stuart D. B. Picken. Historical dictionary of Shinto. Rowman & Littlefield, 2002. p. 223. ISBN 0-8108-4016-2