ข้ามไปเนื้อหา

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว
หน้าปก เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว เล่ม 1 ฉบับภาษาไทย
けいおん!
แนวตลก, ดนตรี, เสี้ยวชีวิต
มังงะ
เขียนโดยKakifly
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โฮบุนชะ
ไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์[1]
แคนาดา สหรัฐอเมริกา Yen Press
กลุ่มเป้าหมายSeinen
อนิเมะ
K-ON!
กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
อนิเมะ
กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
อนิเมะ
K-ON!!
กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
เกม
K-On! Hōkago Live!!
ผู้พัฒนาSega
ผู้จัดจำหน่ายSega
แนวดนตรี
แพลตฟอร์มเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, เพลย์สเตชัน 3
โอวีเอ
วางแผน!!
กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
ดนตรีโดยฮาจิเมะ เฮียกโกกุ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
ฉาย16 มีนาคม 2011
ความยาว24 นาที
อนิเมะ
K-ON! The Movie
กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ
อำนวยการสร้างโดยทากาฮิโระ โอโนะ
เขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ
ดนตรีโดยฮาจิเมะ เฮียกโกกุ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว[3] (ญี่ปุ่น: けいおん!โรมาจิKeion!; อังกฤษ: K-On!) เป็นมังงะซึ่งแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารแนวเซเน็ง มังงะไทม์คิราระ (Manga Time Kirara) และนิตยสาร มังงะไทม์คิราระกะรัต (Manga Time Kirara Carat) ของสำนักพิมพ์โฮบุนชะ (Houbunsha) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2553

ในประเทศญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิตมังงะดังกล่าวเป็นอนิเมะโทรทัศน์ ใช้ชื่อเดียวกัน ความยาวสิบสามตอน ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2552, โอวีเอความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมกราคม 2553, อนิเมะโทรทัศน์ ฤดูกาลที่สอง ความยาวยี่สิบหกตอน ใช้ชื่อว่า เค-อง!! (K-On!!) ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2554, โอวีเอ ความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมีนาคม 2554, และอนิเมะโรง ฉายตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามลำดับ เนื้อหาต่อเนื่องกัน ปัญหาเรื่อง

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เรื่องราวว่าด้วยเด็กสาวสี่คนซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนซากุระงาโอกะ[4] (桜が丘高校; Sakuragaoka High School) ได้แก่ ฮิราซาวะ ยุย, อากิยามะ มิโอะ, ไทนากะ ริทสึ, และโคโตบุกิ สึมุกิ ตามลำดับ ทั้งสี่เป็นสมาชิกชมรมดนตรีของโรงเรียน ชื่อว่า ชมรม "เค-อง" (K-On) ย่อมาจาก "คารุอิ-องงากุ" หรือ "เค-องงากุ" (軽音楽) หมายถึง ดนตรีเบา (light music) ซึ่งเป็นดนตรีป๊อปแขนงหนึ่งของญี่ปุ่น

ในตอนต้น ยุยเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ภายหลัง ทั้งฝึกฝนเอง และเพื่อนร่วมชมรมช่วยฝึกฝนให้ จึงเรียนรู้ดนตรีจนสามารถเล่นกีตาร์ นับแต่นั้น ยุย พร้อมด้วยมิโอะ ซึ่งเล่นเบส, ริทสึ เล่นกลองชุด และสึมุกิ เล่นคีย์บอร์ด ก็ตั้งวงดนตรีประจำชมรมออกแสดงดนตรี และใช้ชีวิตร่วมกัน

ชมรมเค-องมียามานากะ ซาวาโกะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซาวาโกะเองเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนซากุระงาโอกะ และเคยเป็นสมาชิกชมรมเค-องเช่นกัน สมัยนั้น เธอและเพื่อนตั้งวงดนตรีชื่อ "เดธเดวิล" (Death Devil) ต่อมา เธอตั้งชื่อให้วงดนตรีของยุยว่า "เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน"[5] (放課後ティータイム; ราชบัณฑิตยสภา: โฮกะโงะทีไทม์; Hokago Tea Time) เนื่องมาจากสมาชิกชมรมเค-อง รวมทั้งเธอเอง มักจิบน้ำชาลอยชายกันเมื่อเลิกเรียน มากกว่าจะซ้อมดนตรี

เมื่อสมาชิกทั้งสี่ขึ้นสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แล้ว ชมรมก็ได้สมาชิกใหม่อีกหนึ่งคน เป็นนักกีตาร์รุ่นน้องชื่อ นากาโนะ อาซึสะ ครั้นทั้งสี่สำเร็จการศึกษาและเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยสตรีเจ. (J. Women's University) ด้วยกัน เหลืออาซึสะเป็นสมาชิกชมรมเพียงผู้เดียว เธอจึงสืบทอดชมรม โดยตั้งวงดนตรีใหม่ของชมรม ชื่อวง "วากาบะเกิลส์" (Wakaba Girls) มีซาวาโกะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเช่นเคย และได้สมาชิกใหม่ คือ ฮิราซาวะ อุย น้องของยุย และเป็นเพื่อนร่วมห้องของเธอ, ตลอดจน สึซึกิ จุน, ซาอิโต สุมิเระ และโอคุดะ นาโอะ ร่วมดำเนินชีวิตวัยเรียนด้วยกันต่อไป

ตัวละคร

[แก้]

นามสกุลตัวละครในเรื่อง K-On! นั้น มาจากนามสกุลของสมาชิกและอดีตสมาชิกวง P-Model และ The Pillows ในญี่ปุ่น[6]

วงดนตรีเวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน (รุ่น 1)

[แก้]
ฮิราซาว่า ยุย
(ญี่ปุ่น: 平沢 唯โรมาจิHirasawa Yui)
ให้เสียงโดย: อากิ โทโยซากิ
วันเกิด 27 พฤศจิกายน ราศีธนู ส่วนสูง 156 ซม. น้ำหนัก 50 กก. กรุ๊ปเลือด O[7]
ตัวละครหลักของเรื่อง เป็นหนึ่งในสมาชิกของชมรม K-On ใช้กีตาร์ไฟฟ้ายี่ห้อ Gibson รุ่น Les Paul Standard สี Heritage Cherry Sunburst โดยยุยตั้งชื่อเล่นให้กับกีตาร์ว่า "กีตะ" (ญี่ปุ่น: ギー太โรมาจิGiita) เธอนั้นทึ่ม เรียนไม่เก่ง แต่ทว่าหากเธอตั้งใจทำอะไรแล้วจะตั้งใจทำจนสำเร็จ ยุยเข้าชมรม K-On เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นชมรม "เคองงากุ" (ดนตรีเบา ๆ อย่างการผิวปาก) เริ่มเล่นกีตาร์โดยไม่มีประสบการณ์มาก่อน ไม่รู้แม้กระทั่งจูนเนอร์คืออะไร เป็นคนลืมง่ายเมื่อได้เรียนรู้เรื่องใหม่ แต่มีประสาทสัมผัสทางดนตรีดีเยี่ยม (มีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า เพอร์เฟคพิช เป็น 1 ใน 5 ความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์) ขนาดจูนสายได้โดยไม่ต้องมีจูนเนอร์ มีความกล้าแสดงออกสูง ความเครียดไม่มีผลกับยุยเลย (ยุยแทบจะไม่เคยเครียดยกเว้นเรื่องขนมและของกิน) เป็นคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน แพ้อากาศร้อนและแอร์ ฤดูร้อนจะนอนกลิ้งไปกลิ้งมา ส่วนฤดูหนาวจะหมกอยู่แต่ในโต๊ะอุ่นขา ผลการเรียนอยู่ในระดับเฉียดฉิวตลอด
ไทนากะ ริทสึ
(ญี่ปุ่น: 田井中 律โรมาจิTainaka Ritsu)
ให้เสียงโดย: ซาโตมิ ซาโต
วันเกิด 21 สิงหาคม ราศีสิงห์ ส่วนสูง 154 ซม. น้ำหนัก 48 กก. กรุ๊ปเลือด B[8]
ริทสึ (หรือริทจัง ชื่อเล่นที่ตั้งโดยยุย) เป็นประธานชมรม K-On! เล่นกลอง Yamaha Hipgig Drumset สาเหตุที่เธอเล่นกลองนั้น เธอบอกว่ามัน "เท่" แต่จริง ๆ แล้วเธอไม่ถนัดเล่นเครื่องดนตรีที่ใช้นิ้ว เป็นคนลากมิโอะเข้าชมรม เวลาตีกลองจะตีโอเวอร์เบส (ไม่ค่อยตีฉาบกับแคลช) แต่พออยู่ในวงเสียงกลับลงตัวพอดี ทั้งที่เธอเป็นประธานชมรมแต่กลับมักลืมเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น เอกสารขออนุญาตทำกิจกรรมชมรม ฯลฯ ให้กับกรรมการนักเรียนเป็นประจำจนเกือบทำให้ชมรมต้องถูกยุบ เป็นคนคิดอะไรแล้วจะลงมือทำทันที เธอเป็นเพื่อนกับมิโอะมาตั้งแต่สมัยประถม ชอบแกล้งมิโอะตลอดโดยเฉพาะการแอบถ่ายรูป และเป็นคนชวนมิโอะเล่นดนตรี[9] เธอมีน้องชายชื่อซาโตชิ
อากิยามะ มิโอะ
(ญี่ปุ่น: 秋山 澪โรมาจิAkiyama Mio)
ให้เสียงโดย: โยโกะ ฮิกาซะ
วันเกิด 15 มกราคม ราศีมังกร ส่วนสูง 160 ซม. น้ำหนัก 54 กก. กรุ๊ปเลือด A [8]
มิโอะ เป็นคนที่ขี้อายที่สุดในชมรม K-On! เป็นมือเบส Fender รุ่น Jazz Bass สี 3 color sunburst สาเหตุที่เล่นเบสนั้นเพราะเบสมีเสียงโทนต่ำลึกซึ้ง ถึงความรู้สึกไม่เด่นแต่คอยหนุนหลังเพื่อนร่วมวงอยู่ การทำเสียงลายเบสให้เข้ากับทุกคนก็สนุกมากด้วย มิโอะยังคิดว่าการควบคุมเสียงไม่ให้โดดเกินไปและไม่ให้ถูกเพื่อนกลบเป็นคุณลักษณะที่ดีของมือเบส เธอจึงคิดที่จะเล่นเบสและใฝ่ฝันที่จะเป็นมือเบสแบบนั้นมาตลอด มิโอะเป็นเพื่อนกับริทสึตั้งแต่สมัยประถม และเป็นคนที่ขี้กลัวมากจึงมักถูกเพื่อนในวงโดยเฉพาะริทสึแกล้งเป็นประจำ นอกจากนี้เธอยังน่ารักเป็นพิเศษด้วย
โคโตบุกิ สึมุกิ
(ญี่ปุ่น: 琴吹紬โรมาจิKotobuki Tsumugi)
ให้เสียงโดย: มินาโกะ โคโตบูกิ
วันเกิด 2 กรกฎาคม ราศีกรกฎ ส่วนสูง 157 ซม. น้ำหนัก 53 กก. กรุ๊ปเลือด O [10]
สึมุกิ หรือ มุกิ สาวเรียบร้อยของชมรม K-On! เล่นคีย์บอร์ด Korg Triton Extreme 76 Key ก่อนหน้านี้เธอเริ่มเล่นเปียโนเมื่ออายุ 4 ขวบ และเคยชนะการประกวดมาแล้ว เธอเป็นลูกสาวของประธานบริษัท และมีบ้านพักตากอากาศมากมายอยู่ทั่วญี่ปุ่น ตอนที่ยุยไปซื้อกีตาร์เธอก็ต่อราคาให้ เธอชอบนำขนมและชามาที่ห้องชมรมเสมอ อันที่จริงแล้วเธอสนใจที่จะเข้าร่วมชมรมประสานเสียง แต่ก็เข้าร่วมชมรม K-On เพราะคำชวนแกมบังคับของริทสึ (ที่จริงแล้วต้องการจะมีเพื่อนที่สนุกสนานมากกว่า) มักตื่นเต้นกับเรื่องที่วัยรุ่นทั่วไปทำกันเป็นปกติ เช่น เข้าร้านฟาสต์ฟู้ด ทำงานพิเศษ ฯลฯ เป็นคนที่แข็งแรงมากแม้ต้องยกของหนักก็ไม่มีเหงื่อสักหยด มีฝีมือในงานศิลปะในระดับเยี่ยม นิสัยดี แต่จะมีนิสัยยูริอยู่หน่อยๆ

วงดนตรีวะคะบะเกิลส์ (รุ่น 2)

[แก้]
นากาโนะ อาซึสะ
(ญี่ปุ่น: 中野 梓โรมาจิNakano Azusa)
ให้เสียงโดย: อายานะ ทาเกตัตสึ
วันเกิด 11 พฤศจิกายน ราศีพิจิก ส่วนสูง 150 ซม. น้ำหนัก 46 กก. กรุ๊ปเลือด AB[11]
อาซึสะ เป็นน้องเล็กสุดของชมรม K-On! ใช้กีต้าร์ไฟฟ้า Fender Mustang มีบทบาทในช่วงที่ยุยขึ้นปีสอง เธอเข้าร่วมชมรมนี้เพราะในวันปฐมนิเทศได้เห็นการแสดงของชมรม K-On! แล้วรู้สึกประทับใจ เธออยู่ชั้นเดียวกับอุย เล่นกีตาร์ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมเพราะพ่อแม่ของเธอทำงานในวงดนตรี Jazz เป็นคนจริงจังกับการเล่นดนตรี แต่มักจะถูกรุ่นพี่ชักชวนให้เล่นจนลืมการซ้อม มีฉายาว่า "อาซึเมี้ยว" (ญี่ปุ่น: あずにゃんโรมาจิAzu-nyan)[12] ซึ่งยุยเป็นคนตั้งให้ ในช่วงที่เธออยู่ชั้นปี 1 และปี 2 เธอเป็นมือกีตาร์ทำนอง (Rhythm Guitar) ของวงเวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน และเมื่อเธอขึ้นชั้นปี 3 บรรดารุ่นพี่ทั้งสี่คนต่างจบการศึกษาออกไป ทำให้เธอผู้เป็นสมาชิกหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่ต้องรับหน้าที่สืบทอดตำแหน่งประธานชมรมโดยปริยาย ในชั้นปี 3 นี้เธอได้เป็นมือกีตาร์หลักและนักร้องนำของวงวะคะบะเกิลส์
ฮิราซาว่า อุย
(ญี่ปุ่น: 平沢 憂โรมาจิHirasawa Ui)
ให้เสียงโดย: มาโดกะ โยเนซาวะ
วันเกิด 22 กุมภาพันธ์ ราศีมีน ส่วนสูง 154 ซม. น้ำหนัก 50 กก. กรุ๊ปเลือด O
น้องสาวของยุย มีนิสัยตรงข้ามกับยุย สุภาพและรักงานบ้าน นอกจากนี้เธอยังมีฝีมือในการเล่นกีตาร์เก่งกว่ายุยอีก และที่สำคัญเธอรักพี่สาวของเธอมาก อุยกับพี่สาวของเธอนั้นมีลักษณะภายนอกที่คล้ายกันมากจนถ้าทั้งสองคนทำผมทรงเดียวกันจะแยกกันแทบไม่ออกเลย และเธอเองก็เคยแกล้งเล่นหรือปลอมตัวเป็นพี่สาวของเธอหลายครั้ง ซึ่งมีเพียงอ.ซาวาโกะเท่านั้นที่จับได้ว่าอุยปลอมตัวเป็นพี่สาวของเธอ เมื่อขึ้นปี 3 เธอได้ตัดสินใจเข้าร่วมชมรม K-On! ด้วยกันกับจุน โดยเธอเป็นมือกีตาร์ทำนองของวงวะคะบะเกิลส์
สึซึกิ จุน
(ญี่ปุ่น: 鈴木淳โรมาจิSuzuki Jun)
ให้เสียงโดย: โยริโกะ นางาตะ
เพื่อนร่วมห้องของอาซึสะและอุยซึ่งมักจะไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ ซึ่งอุยพยายามชวนเธอเข้าชมรม K-On! แต่ก็ไม่สำเร็จหลังจากไปเยื่ยมถึงห้องชมรม ปัจจุบันอยู่ชมรมดนตรีแจ๊ส เธอมีแมวเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อจุนขึ้นชั้นปี 3 เธอก็เข้าร่วมชมรม K-On! ด้วยกันกับอุย ตำแหน่งของเธอในวงวะคะบะเกิลส์คือมือเบสเนื่องจากเธอชื่นชอบมิโอะเป็นอย่างมาก
ไซโต สึมิเระ
(ญี่ปุ่น: 斉藤 菫โรมาจิSaitō Sumire)
รุ่นน้องของโคโตบุกิ สึมุกิ ที่อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน อันที่จริง เธอเป็นคนรับใช้ของตระกูลโคโตบุกิ มีความสามารถในการชงชาเหมือนสึมุกิ สึมิเระกับสึมุกิในสมัยเด็กสนิทกันมากเนื่องจากเธอเป็นเพื่อนเล่นสมัยเด็กเพียงคนเดียวของสึมุกิ และเธอได้เข้าชมรมนี้เนื่องจากสึมุกิขอให้สึมิเระนำชุดน้ำชากลับจากห้องชมรมมายังบ้านโคโตบุกิ เธอรับหน้าที่เป็นมือกลองประจำวงวะคะบะเกิลส์
โอตุดะ นาโอะ
(ญี่ปุ่น: 奥田 直โรมาจิOkuda Nao)
นักเรียนโรงเรียนซากุระงาโอกะชั้นปี 1 ห้องเดียวกับสุมิเระ เธอดูเหมือนจะไม่มีความถนัดอะไรเลยไม่ว่าจะดนตรีหรือกีฬา และตัดสินใจทดลองเข้าชมรมต่าง ๆ ในโรงเรียนไปเรื่อย ๆ จนลงเอยมาเข้าชมรม K-On! ในที่สุด และที่ชมรมนี้เอง อ.ซาวาโกะได้ลองเอาคอมพิวเตอร์มาให้เธอใช้พร้อมกับสอนวิธีใช้ซอฟต์แวร์แต่งเสียง ความสามารถของเธอในด้านการใช้อุปกรณ์ที่สลับซับซ้อนจึงได้เปิดเผยออกมา เธอจึงกลายเป็นนักแต่งเพลงประจำวงไปในทันที และนอกจากนี้เธอยังมีอีกบทบาทในวงนั่นคือช่างเสียง หรือผู้ควบคุมเสียงในการแสดงนั่นเอง

โรงเรียนซากุระงาโอกะ

[แก้]
ยามานากะ ซาวาโกะ (ชื่อขณะที่ยังอยู่ในวง แคทเทอรีน)
(ญี่ปุ่น: 山中 さわ子โรมาจิYamanaka Sawako)
ให้เสียงโดย: อาซามิ ซานาดะ
ที่ปรึกษาชมรมเครื่องเป่า เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนและยังเป็นมือกีตาร์สมาชิกเก่าของชมรม K-On! ด้วย ต่อมาก็ถูกริทสึขอร้องแกมบังคับให้มาเป็นที่ปรึกษาชมรม K-On! ยุยและริทสึชอบเรียกซาวาโกะว่า "ซาวะจัง" (ญี่ปุ่น: さわちゃんโรมาจิSawa-chan) มักจะชอบเอาชุดคอสเพลย์ที่ตัดเองมาให้สมาชิกชมรมแต่งเสมอ โดยเป้าหมายหลักคือมิโอะและเป้าหมายรองคืออาซึสะ ปกติแล้วจะวางมาดแบบผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้จนเป็นที่รักของบรรดานักเรียนและอาจารย์(ยกเว้นเวลาจับกีตาร์หรือทำอะไรในฐานะนักดนตรี) แต่ในชมรมแล้วเธอจะแสดงตัวจริงที่เป็นคนเพี้ยน ๆ ออกมา เมื่อพวกยุยขึ้นชั้นปี 3 ซาวาโกะก็ได้เป็นที่ปรึกษาประจำชั้นปี 3-2 ที่ยุย ริทสึ มิโอะ สึมุกิ และโนโดกะอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าเธอไม่อยากจำชื่อนักเรียนใหม่มากนักเธอจึงรวมเอาทั้งห้าคนที่เธอรู้จักอยู่แล้วเข้ามาไว้ในชั้นเรียนของเธอ
มานาเบะ โนโดกะ
(ญี่ปุ่น: 真鍋 和โรมาจิManabe Nodoka)
ให้เสียงโดย: ชิกะ ฟูจิโต
เพื่อนสมัยเด็กของยุย สนิทกับยุยมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล เนื่องจากบ้านของโนโดกะกับบ้านของยุยอยู่ใกล้กัน ทำให้เมื่อทั้งสามคนยังเป็นเด็ก โนโดกะ ยุย และอุยมักมาจะเล่นด้วยกันบ่อย ๆ โนโดกะเป็นสมาชิกคณะกรรมการนักเรียน ในปี 3 เธอก็ได้สืบทอดทั้งตำแหน่งประธานนักเรียนและประธานมิโอะแฟนคลับ[13] แทนเมกุมิ

มหาวิทยาลัย J. Women

[แก้]
วาดะ อากิระ
(ญี่ปุ่น: 和田 晶โรมาจิWada Akira)
มือกีตาร์ประจำวงอนนะกุมิ เรียนคณะครุศาสตร์เช่นเดียวกันกับยุย มีนิสัยค่อนไปในทางซึนเดเระเล็กน้อย ครั้งหนึ่งเธอเคยไว้ผมยาวแต่ตัดสินใจหั่นผมสั้นและแปลงโฉมตัวเองเป็นสาวห้าวเพื่อประชดรุ่นพี่ที่ตัวเองแอบชอบ
ฮายาชิ ซาจิ
(ญี่ปุ่น: 林 幸โรมาจิHayashi Sachi)
มือเบสประจำวงอนนะกุมิ เรียนคณะเดียวกันกับมิโอะ ซาจิมีรูปร่างสูงกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ และค่อนข้างจะขี้อาย โดยเฉพาะเมื่อมีใครพูดถึงหรือทักเกี่ยวกับส่วนสูง นอกจากนี้เธอยังเป็นคนตั้งชื่อวงอนนะกุมิด้วย
โยชิดะ อายาเมะ
(ญี่ปุ่น: 吉田 菖โรมาจิYoshida Ayame)
มือกลองประจำวงอนนะกุมิ เรียนอยู่คณะเดียวกับริทสึแถมยังมีนิสัยร่าเริงคล้ายกันอีกด้วย อายาเมะมีส่วนสูงน้อยที่สุดในวงและสนใจเกี่ยวกับแฟชั่นเครื่องแต่งกายเป็นอย่างมาก
โซงาเบะ เมกุมิ
(ญี่ปุ่น: 曾我部 惠โรมาจิSogabe Megumi)
ให้เสียงโดย อัตสึมิ โคดามะ
เมกุมิเป็นประธานนักเรียนคนก่อนที่โนโดกะจะมาเป็นประธานนักเรียนในปีสาม นอกจากนั้นเธอก็ยังเป็นประธานแฟนคลับของมิโอะ (ปัจจุบันโนโดกะเป็นประธานแฟนคลับของมิโอะ) อีกด้วย ปรากฏอยู่ในตอนที่ 6 และ 8 ของอนิเมะ K-On! และตอนที่ 7 ของอนิเมะ K-On!! ปัจจุบันเธอเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย

ผู้ให้เสียงตัวละคร

[แก้]
ตัวละคร ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ประเทศไทย ไทย
(DEX) [14]
ประเทศไทย ไทย
(Animax) [15]
ประเทศไทย ไทย
(J-BICS)
ฮิราซาว่า ยุย อากิ โทโยซากิ เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล ศิวพร เผือกผิวเอี่ยม
ทาอินากะ ริทสึ ซาโตมิ ซาโต ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ ชิดชนก แย้มมา เสาวลักษณ์ แซ่จิว
อาคิยามะ มิโอะ โยโกะ ฮิกาซะ ชิดชนก แย้มมา เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ เมทินี แก้วรัตนากร
โคโตบุกิ สึมุกิ มินาโกะ โคโตบูกิ พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล ทิพย์ชนก พรหมจูฑะ สมิตา ไทยจำนง
นากาโนะ อาซึสะ อายานะ ทาเกตัตสึ อรวรรณ แดงบุญเรือง ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ วัฒน์นันท์ เกิดไพบูลย์
ยามานากะ ซาวาโกะ อาซามิ ซานาดะ ทิพย์ชนก พรหมจูฑะ อรวรรณ แดงบุญเรือง
มานาเบะ โนโดกะ ชิกะ ฟูจิโต อรวรรณ แดงบุญเรือง ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ
ฮิราซาว่า อุย มาโดกะ โยเนซาวะ ทิพย์ชนก พรหมจูฑะ อรวรรณ แดงบุญเรือง อภิญญา พรมานะสุขุม

สื่อต่าง ๆ

[แก้]

มังงะ

[แก้]

มังงะเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสาร มังงะ ไทม์ คิราระ ในสำนักพิมพ์ โฮบุนชะ ในฉบับเดือนพฤษภาคม 2007 จำหน่ายเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2007[16] และมังงะยังได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายปักษ์ชื่อ มังงะ ไทม์ คิราระ คารัท ด้วย ในฉบับเดือนตุลาคม 2008 จำหน่ายเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2008 [17] และฉบับรวมเล่ม เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2008 เล่มสองวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2009 เล่มสามวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2010 และเล่มสี่ซึ่งเป็นเล่มสุดท้ายวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2010 มีลิขสิทธิ์จำหน่ายต่างประเทศได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ลิขสิทธิ์โดย Yen Press[18] ประเทศไทย ลิขสิทธิ์โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ ประเทศอินโดนีเซีย ลิขสิทธิ์โดย Elex Media Komputindo สำหรับ Anthology ของ เค-อง! ได้แก่, มินนะ เดะ อุนตัน! เป็นการนำศิลปินหลายคนมาวาดเรื่องเค-อง!, K-On! Anthology Comic (ญี่ปุ่น: けいおん!アンソロジーコミックโรมาจิKeion! Ansorojī Komikku) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2009 เล่มที่สองวางจำหน่ายวันที่ 27 เมษายน 2010 โดย โฮบุนฉะ, อัลบั้มรวมภาพจากทั้งออฟฟิเชล อาร์ตและแฟนอาร์ตจากนักวาดโดจิน วางจำหน่ายวันที่ 27 มกราคม 2010

อนิเมะ

[แก้]

สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ เกียวโตแอนิเมชันเป็นผู้ผลิต กำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ และ เขียนบทโดย เรโกะ โยชิดะ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2009 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น และช่องอื่นๆ เช่น BS-TBS, MBS, และ Chubu-Nippon Broadcasting โดยทางช่อง TBS นั้นจะฉายในภาพอัตราส่วน 4:3 และทางช่อง BS-TBS นั้นจะฉายในรูปแบบไวด์สกรีนในอัตราส่วน 16:9 เริ่มฉายเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2009 สำหรับการวางจำหน่าย ดีวีดี และ บลูเรย์ รวมทั้งหมด 7 แผ่น วางจำหน่ายโดย Pony Canyon ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2009 ถึง 20 มกราคม 2010 โดยในแผ่นสุดท้ายจะใส่ตอนพิเศษลงไปด้วย[19] ในวันที่ 20 ธันวาคม 2009 ได้มีการประกาศลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยจัดทำตามต้นฉบับนั้นคือ 7 แผ่นจบพร้อมทั้งแผ่น un-ten ด้วย โดยชุด Box จะแยกขายและให้ผู้ที่สะสมซื้อแยกตามรายแผ่น

ในคอนเสิร์ต Let's Go ที่ โยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2009 ได้มีการฉายขึ้นบนหน้าจอบนเวทีว่า "ซีซั่น 2 กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้าง" ด้วย[20] โดยใช้ชื่อว่า K-On!! โดยเริ่มฉายวันที่ 7 เมษายน 2010 ทางช่อง TBS ในญี่ปุ่น[21][22]

ภาพยนตร์

[แก้]

K-ON! Movie ฉายวันที่ 3 ธันวาคม 2011 ผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชั่น และกำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ โดย ผกก.ยามาดะได้กล่าวไว้ในคอนเสิร์ตครั้งที่ 2 Come with Me เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมา[23]

เพลง

[แก้]

เพลงเปิดของอนิเมะนี้คือเพลง "Cagayake! Girls" และเพลงปิดคือเพลง "Don't say 'lazy'" ทั้งสองเพลงนั้นขับร้องโดย อากิ โทโยซากิ, โยโกะ ฮิกาซะ, ซาโตมิ ซาโต และมินาโกะ โคโตบูกิ โดยทั้งสองซิงเกิลได้วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2009 โดย Pony Canyon ซิงเกิลเพลงประกอบ เพลง "Fuwa Fuwa Time" (ญี่ปุ่น: ふわふわ時間โรมาจิFuwa Fuwa Jikanทับศัพท์: ช่วงเวลาที่นุ่มนวล) ซึ่งใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 6 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2009 เพลงประจำตัวละคร 7 ซิงเกิล ได้แก่ ยุย (โดยโทโยซากิ) และ มิโอะ (โดยฮิกาซะ) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2009 ซิงเกิลของ ริทสึ (โดยซาโต), สึมุกิ (โดยโคโตบูกิ) และอาซึสะ (โดยทาเกตัตสึ) วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2009 และซิงเกิลของ อุย (โดยโยเนซาวะ) และ โนโดกะ (โดยฟูจิโต) จะวางจำหน่ายวันที่ 21 ตุลาคม 2009 ซาวด์แทร็คอนิเมะ โดย ฮาจิเมะ เฮียกโกคุ วางจำหน่ายในวันที่ 3 มิถุนายน 2009 และสี่เพลงที่ใช้ขึ้นแสดงในตอนที่ 8 ของอนิเมะนั้นจะวางจำหน่ายในรูปแบบมินิอัลบั้มชื่อ Hōkago Tea Time (ญี่ปุ่น: 放課後ティータイムโรมาจิHōkago Tī Taimuทับศัพท์: เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2009 Maddy Candy ซิงเกิลของวง Death Devil วางจำหน่ายในวันที่ 12 สิงหาคม 2009[24] และอัลบั้มพิเศษ K-ON! Sakura Kou Keionbu Official Band Yarouyo!! Band Score Duke วางจำหน่ายวันที่ 2 กันยายน 2009

สำหรับในซีซันสองเพลงเปิดเพลงแรกคือ "Go! Go! Maniac" และเพลงปิดเพลงแรกคือ "Listen!!" ทั้งสองเพลงนั้นขับร้องโดย อากิ โทโยซากิ, โยโกะ ฮิกาซะ, ซาโตมิ ซาโต, มินาโกะ โคโตบูกิ และอายานะ ทาเกตัตสึ โดยทั้งสองซิงเกิลได้วางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2010 สำหรับเพลงเปิดเพลงที่สองคือเพลง "Utauyo!! Miracle" และเพลงปิดเพลงที่สองคือ "No, Thank You!" โดยทั้งสองซิงเกิลจะวางจำหน่ายวันที่ 4 สิงหาคม 2010[25] ส่วนซิงเกิลเพลงประกอบในตอนที่ 6 มีชื่อว่า "Pure Pure Heart" วางจำหน่ายในวันที่ 2 มิถุนายน 2010 ซิงเกิล "Love" โดยวง Death Devil วางจำหน่ายในวันที่ 23 มิถุนายน 2010 ซิงเกิลเพลง "Gohan wa Okazu/U&I" ขับร้องโดย โฮคาโกะ ที ไทม์ วางจำหน่ายวันที่ 8 กันยายน 2010[26] นักแต่งเพลงชื่อ Bice ซึ่งผู้แต่งเพลง "Gohan wa Okazu" ได้เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010[27] ซิงเกิลในตอนที่ 24 มีชื่อว่า "Tenshi ni Fureta yo!" สำหรับซิงเกิลตัวละครชุดที่สอง โดยซิงเกิลของ ยุยและมิโอะ วางจำหน่ายวันที่ 21 กันยายน 2010 อัลบั้ม Ho-kago Tea Time II ออกจำหน่ายในรูปแบบปกติและลิมิตเต็ด เอดิชัน พร้อมกับ ตลับเทป วางจำหน่ายวันที่ 27 ตุลาคม 2010[28] ซิงเกิลตัวละครชุดที่สอง โดยซิงเกิลของ ริทสึ สึมุกิและอาซึสะ วางจำหน่ายวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 ซิงเกิลและอัลบั้มทั้งหมดผลิตและวางจำหน่ายโดย Pony Canyon

วิดีโอเกม

[แก้]

วิดีโอเกมพัฒนาโดย Sega โดยมีชื่อว่า K-On! Hōkago Live!! (ญี่ปุ่น: けいおん! 放課後ライブ!!โรมาจิKeion! Hōkago Raibu!!) สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล วางจำหน่ายในวันที่ 30 กันยายน 2010 โดยรูปแบบการเล่นเป็นการกดปุ่มตามจังหวะโน้ตในเพลง ซึ่งตัวเกมนั้นสามารถเล่นโหมดผู้เล่นหลายคนได้มากที่สุดถึง 5 คน[29] ตัวเกมประกอบด้วยเพลงจากอนิเมะซีซันแรกและเพลงประจำตัวละครรวม 19 เพลง ผู้เล่นสามารถแต่งตัวตัวละคร ห้องชมรม และห้องนอนของยุย และยังสามารถสร้างเพลงได้ด้วย

เครื่องดนตรีในเค-อง! และ เค-อง!!

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

ยอดจำหน่ายของมังงะ K-ON! เล่มแรกระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม 2009 รวมทั้งสิ้น 26,500 เล่ม และยังติดอันดับที่ 30 ของหนังสือขายดีประจำสัปดาห์ในญี่ปุ่นอีกด้วย[32] และในสัปดาห์ต่อมา ยอดจำหน่ายของมังงะเล่มที่หนึ่งและสอง ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึง 10 พฤษภาคม 2009 รวมทั้งสิ้น 23,200 เล่ม และ 22,500 เล่ม ตามลำดับ และในเดือนพฤษภาคม 2009 ยอดจำหน่ายของมังงะรวมทั้งสองเล่ม จำหน่ายได้ทั้งหมดเล่มละ 136,000 เล่ม[33] มังงะเล่มที่สามมียอดจำหน่ายมากกว่า 120,000 เล่มในระหว่างวันที่ 14-20 ธันวาคม 2009[34] และยังติดอันดับที่ 46 ของหนังสือขายดีประจำครึ่งเดือนแรกของปี 2010 (23 พฤษภาคม) โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 328,000 เล่ม[35]

ส่วนซิงเกิลอนิเมะ โดยเพลงเปิด "Cagayake! Girls" และเพลงปิด "Don't say 'lazy'" เปิดตัวโดยการติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 4 และ 2 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 62,000 แผ่น และ 67,000 แผ่น ตามลำดับ[36] มินิอัลบั้ม Ho-Kago Tea time (After School Tea Time) เปิดตัวโดยการติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 1 ยอดจำหน่ายรวม 67,000 แผ่น และเป็นครั้งแรกที่อัลบั้มเพลงจากตัวละครในอนิเมะที่ติดชาร์ตอันดับสูงสุด[37] สำหรับซิงเกิลอนิเมะในซีซัน 2 โดยเพลงเปิด "Go! Go! Maniac" และเพลงปิด "Listen!!" เปิดตัวโดยการติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 1 และ 2 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 83,000 แผ่น และ 76,000 แผ่น ตามลำดับ[38] สำหรับเพลงเปิดและปิดในซีซัน 2 คือ "Utauyo! Mircale" และ "No, Thank You!" ยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกประมาณ 85,000 แผ่น และ 87,000 แผ่น โดยติดชาร์ตโอริกอนในอันดับ 3 และ 2 โดยอันดับหนึ่งคือเพลง "This is Love" ของวง SMAP[39] เพลง "No, Thank You!" และ "Utauyo! Miracle" ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำจาก RIAJ เมื่อเดือนสิงหาคม 2010 เนื่องจากมียอดจำหน่ายมากกว่า 100,000 แผ่น[40] ซิงเกิล "Gohan wa Okazu"/"U&I" เปิดตัวโดยการติดชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ได้อันดับที่ 3 โดยยอดจำหน่ายรวมในสัปดาห์แรกได้ทั้งหมดประมาณ 53,000 แผ่น[41]

สำหรับยอดจำหน่ายของดีวีดีแผ่นแรกอนิเมะนั้น เปิดตัวได้อันดับที่ 7 ในชาร์ตโอริกอนประจำสัปดาห์ของวันที่ 29 กรกฎาคม 2009 ได้ยอดจำหน่ายรวม 8,000 ชุด [42] ส่วน แผ่นบลูเรย์ นั้น ยอดจำหน่ายรวม 33,000 ชุด ในสัปดาห์เดียวกัน โดยติดชาร์ตอันดับสูงสุด ของชาร์ตโอริกอนบลูเรย์ และในเดือนสิงหาคม 2009 อนิเมะแผ่นแรกของ K-ON! เป็นทีวีอนิเมะที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น โดยผู้ครองอันดับเดิมคือ มาครอสฟรอนเทียร์ ซึ่งมียอดจำหน่ายของแผ่นแรกรวม 22,000 ชุด และปัจจุบันยอดขายบูลเรย์สูงสุดประจำปี 2009 ในญี่ปุ่น คือ อีวานเกเลียน: 1.0 ยูอาร์ (น็อต) อโลน ซึ่งมียอดจำหน่ายรวม 96,000 ชุด ซึ่ง K-ON! แผ่นแรกนั้นอยู่อันดับที่ 10 (ถ้าจัดลำดับกับอนิเมะด้วยกันแล้วจะอยู่อันดับที่ 5) ด้วยยอดจำหน่ายรวม 40,000 แผ่น[43] K-ON! ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Best TV Animation Award ในงาน Tokyo International Anime Fair ประจำปี 2010[44] และ K-ON!! ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา Best Television award ในงาน Animation Kobe Awards ประจำปี 2010 ด้วย[45]

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2010 ทางจังหวัดเกียวโต ได้ใช้ K-On!! มาช่วยประชาสัมพันธ์ในการสำรวจสำมะโนครัวของจังหวัด[46]

มีการประกวดต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ได้แก่ มิโอะได้รับการโหวตให้ได้แชมป์ International Saimoe ประจำปี 2010[47] และชนะด้วยคะแนนโหวตที่มากที่สุดเท่าที่เคยเปิดโหวต[48] และชนะการประกวด The best moe tournament Female Division หรืออีกชื่อคือ Korea saimoe ประจำปี 2010[49] อาซึสะชนะการประกวด Japan saimoe หรือ Animesaimoe ประจำปี 2010[50]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศลิขสิทธิ์ใหม่จาก Houbunsha
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-07.
  3. คาคิฟลาย; 2553, มีนาคม: ปก.
  4. คาคิฟลาย; 2553, สิงหาคม: 6.
  5. คาคิฟลาย; 2553, สิงหาคม: 74.
  6. "なぜ我々は「けいおん!」に萌えてしまうのか?" [Why Are We Infatuated With K-On!?] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. June 7, 2009. สืบค้นเมื่อ September 30, 2009.
  7. Character Profile K-ON![DEX] Vol.1
  8. 8.0 8.1 Character Profile K-ON![DEX] Vol.2
  9. K-On!! ตอนที่ 8
  10. Character Profile K-ON![DEX] Vol.4
  11. Character Profile K-ON![DEX] Vol.6
  12. ชื่อเล่นของเธอนั้นในฉบับอนิเมะพากย์ไทยจะเรียกว่าอาซึเมี้ยว แต่ในฉบับมังงะแปลไทยโดยสยามอินเตอร์คอมิกส์นั้นเรียกว่าอาซึเนี้ยว
  13. K-ON!! ตอนที่ 7 และ K-ON! มังงะเล่มที่ 4 ตอนที่ 3 หน้าที่ 7
  14. "รายชื่อนักพากย์เรื่อง K-On ของ DEX". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
  15. รายชื่อนักพากย์เรื่อง K-On ของ DEX และ Animax
  16. "มังงะ ไทม์ คิราระ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2007" (ภาษาญี่ปุ่น). Houbunsha. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  17. "มังงะ ไทม์ คิราระ คารัท ฉบับเดือนตุลาคม 2008" (ภาษาญี่ปุ่น). Houbunsha. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  18. "Yen Press Adds Haruhi-Chan, K-On! Manga, Bungaku Shoujo". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 3, 2010.
  19. "K-ON! Extra Episode Green-Lit for 7th BD/DVD Volume". Anime News Network. July 21, 2009. สืบค้นเมื่อ July 21, 2009.
  20. "K-On! Anime's 2nd Season Officially Announced". Anime News Network. December 30, 2009. สืบค้นเมื่อ December 30, 2009.
  21. "TBSアニメーション・けいおん!!公式ホームページ / 最新情報" [TBS Animation K-On! Official Homepage / News]. March 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ March 17, 2010.
  22. "K-On's 2nd Season, B Gata H Kei Anime Dated for April". Anime News Network. January 29, 2010. สืบค้นเมื่อ March 17, 2010.
  23. "K-On! Gets Film Green-Lit". Anime News Network. September 28, 2010. สืบค้นเมื่อ September 28, 2010.
  24. "K-On! anime news from June 2009" (ภาษาญี่ปุ่น). TBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
  25. "「けいおん!!」新主題歌が8/4に発売決定‎" [It Is Determined That the New Theme Songs of K-On!! Will Be Released on August 4]. Oricon Style (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. July 8, 2010. สืบค้นเมื่อ July 9, 2010.
  26. "第20話『けいおん!!』ごはんはおかず" ["Gohan wa Okazu" Revealed in K-On!! Episode 20] (ภาษาญี่ปุ่น). HMV Group. August 18, 2010. สืบค้นเมื่อ August 19, 2010.
  27. "Composer Bice Wrote K-On!! Song Before Passing Away". Anime News Network. August 18, 2010. สืบค้นเมื่อ August 18, 2010.
  28. "K-On!! Album to Ship on Audio Cassette Tape". Anime News Network. September 14, 2010. สืบค้นเมื่อ September 14, 2010.
  29. "桜高軽音部、PSPのステージへ! 『けいおん! 放課後ライブ!!』" [Sakurakō Light Music Club, to the PSP Stage! K-On! Hōkago Live!!] (ภาษาญี่ปุ่น). Famitsu. June 3, 2010. สืบค้นเมื่อ June 3, 2010.
  30. 30.0 30.1 "แกะรอยของใช้ จาก K-On!! ตอนที่ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  31. "รายชื่อเครื่องดนตรีในK-ON!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  32. "Japanese Comic Ranking, April 27-May 3". Anime News Network. 2009-05-06. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  33. "Japanese Comic Ranking, May 4-10". Anime News Network. 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  34. "Japanese Comic Ranking, December 14–20". Anime News Network. December 23, 2009. สืบค้นเมื่อ June 29, 2010.
  35. "Top-Selling Manga in Japan by Volume: 1st Half of 2010". Anime News Network. June 2, 2010. สืบค้นเมื่อ June 29, 2010.
  36. "K-On!: Haruhi's Reincarnation? The Ending and Opening Themes Ranked 2 and 4 on Oricon" (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun. 2008-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-05-15.
  37. "K-ON! Album is 1st Anime Character CDs to Top Weekly Chart". Anime News Network. July 28, 2009.
  38. "K-On!! Puts 1st Anime Band at #1 on Weekly Singles Chart". Anime News Network. May 3, 2010. สืบค้นเมื่อ May 5, 2010.
  39. "New K-On!! Songs Are #2, #3 on Weekly Singles Chart". Anime News Network. August 9, 2010. สืบค้นเมื่อ August 10, 2010.
  40. "ゴールド等認定作品一覧 2010年08月" [Gold etc. Certified Works at a Glance August 2010] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ September 11, 2010.
  41. "K-On's "Gohan wa Okazu"/"U&I" Single is #3 on Weekly Chart". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ September 13, 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |date-= ถูกละเว้น (help)
  42. "1st K-On! Volume is Now #2 Blu-Ray in Japan So Far". Anime News Network. August 4, 2009. สืบค้นเมื่อ August 4, 2009.
  43. "2009's Top-Selling Blu-ray Discs in Japan". Anime News Network. Decamber 24, 2009. สืบค้นเมื่อ Decamber 24, 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  44. "Summer Wars Wins Tokyo Anime Fair's Top Award, 6 More". Anime News Network. February 16, 2010. สืบค้นเมื่อ February 16, 2010.
  45. "Haruhi Film, K-ON!!, Miku Win Anime Kobe Awards". Anime News Network. October 15, 2010. สืบค้นเมื่อ October 18, 2010.
  46. "平成22年国勢調査のお知らせ" [Explanation of the Heisei 22 National Census] (ภาษาญี่ปุ่น). Kyoto, Japan: Kyoto Prefecture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-08. สืบค้นเมื่อ September 8, 2010.
  47. http://www.internationalsaimoe.com/
  48. http://www.internationalsaimoe.com/statistics/elimination.php
  49. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
  50. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]