ข้ามไปเนื้อหา

เขื่อนซานเสียต้าป้า

พิกัด: 30°49′23″N 111°00′12″E / 30.82306°N 111.00333°E / 30.82306; 111.00333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนซานเสียต้าป้า
三峡大坝
เขื่อนสามผาเมื่อปี 2552
เขื่อนซานเสียต้าป้าตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย์
เขื่อนซานเสียต้าป้า
ที่ตั้งในมณฑลหูเป่ย์
เขื่อนซานเสียต้าป้าตั้งอยู่ในประเทศจีน
เขื่อนซานเสียต้าป้า
เขื่อนซานเสียต้าป้า (ประเทศจีน)
แผนที่
ประเทศประเทศจีน
ที่ตั้งหูเป่ย
พิกัด30°49′23″N 111°00′12″E / 30.82306°N 111.00333°E / 30.82306; 111.00333
วัตถุประสงค์ชลประทาน, ผลิตไฟฟ้า
เริ่มก่อสร้าง14 ธันวาคม 2537
เจ้าของChina Yangtze Power (เป็นบริษัทย่อยของ China Three Gorges Corporation)
เขื่อนและทางน้ำล้น
ความจุของทางน้ำล้น116,000 m3/s (4,100,000 cu ft/s)

เขื่อนซานเสียต้าป้า, เขื่อนสามหุบเขา, เขื่อนสามผา หรือ เขื่อนสามโตรก (จีนตัวย่อ: 长江三峡大坝; จีนตัวเต็ม: 長江三峽大壩; พินอิน: Chángjiāng Sānxiá Dà Bà; อังกฤษ: Three Gorges Dam) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พ.ศ. 2550) ของประเทศจีน ลักษณะของเขื่อนเป็นแบบเขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam) กั้นขวางแม่น้ำแยงซี

เขื่อนซานเสียต้าป้า เป็นเขื่อนแรกของจีนที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโครงการก่อสร้างเขื่อนนี้ คือ “Three Gorges multipurpose water control project” มีประวัติการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่สมัย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี พ.ศ. 2462 และเริ่มศึกษาโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2473 สภาประชาชน ลงมติให้ก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง

วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักและป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในขณะที่สร้างเขื่อนนั้น มีผู้อพยพจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบมีถึงประมาณ 1.35 ล้านคน[1]

เขื่อนซานเสียต้าป้า ด้านเหนือน้ำ
แผนที่
ภาพเปรียบเทียบหลังและก่อนสร้างเขื่อน

ลักษณะของเขื่อน

[แก้]
  • ชนิดของเขื่อน: คอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam)
  • ความสูงเขื่อน 185 เมตร
  • ความกว้างสันเขื่อน 115 เมตร
  • ความยาวสันเขื่อน 2,335 เมตร
  • ความยาวสันระบายน้ำล้น 483 เมตร
  • อาคารระบายน้ำล้น ระบายได้สูงสุด 1.16 แสน ลบ.ม.ต่อวินาที
  • ท่อระบายน้ำล้นขนาด 7x9 เมตร จำนวน 23 ท่อ
  • พื้นที่รับน้ำ กว่า 1 ล้าน ตารางกิโลเมตร
  • ประตูเรือสัญจรกว้าง 34 เมตร
  • ประตูเรือสัญจรยาว 280 เมตร
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 32 เครื่อง
  • ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้า 22,500 เมกะวัตต์

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]