เขตโอมิยะ
เขตโอมิยะ 大宮区 | |
---|---|
สำนักงานเขตโอมิยะ | |
ที่ตั้งของเขตโอมิยะในนครไซตามะ | |
พิกัด: 35°54′23.2″N 139°37′43.1″E / 35.906444°N 139.628639°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
นคร | ไซตามะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.80 ตร.กม. (4.94 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 มีนาคม 2021) | |
• ทั้งหมด | 119,298 คน |
• ความหนาแน่น | 9,300 คน/ตร.กม. (24,000 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ประจำเขต | |
• ดอกไม้ | ซากูระ |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
โทรศัพท์ | 048-835-3156 |
ที่อยู่สำนักงาน | 1-124-1 Kishikichō, Ōmiya-ku, Saitama-shi, Saitama-ken 330-8501 |
เว็บไซต์ | www |
เขตโอมิยะ (ญี่ปุ่น: 大宮区; โรมาจิ: Ōmiya-ku) เป็นหนึ่งในสิบเขตของนครไซตามะ จังหวัดไซตามะ มีขนาดพื้นที่ 12.80 ตารางกิโลเมตร[1] ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของจังหวัดไซตามะและนครไซตามะ โดยปัจจัยด้านเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ สถานีรถไฟโอมิยะ
ประวัติ
[แก้]หลังการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่ที่เป็นเขตโอมิยะในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดอูราวะ ซึ่งได้ยุบรวมกับจังหวัดอิวัตสึกิ และจังหวัดโอชิ เมื่อ ค.ศ. 1871 เพื่อก่อตั้งเป็นจังหวัดไซตามะ เทศบาลเมืองโอมิยะจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ซึ่งอยู่ภายในอำเภอคิตะอาดาจิ จังหวัดไซตามะ
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เมืองโอมิยะได้ผนวกเอาหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ มิฮาชิ โอซาโตะ มิยาฮาระ และนิชชิน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง และยกฐานะเป็นเทศบาลนครโอมิยะ หลังจากสงคราม อาณาเขตของนครโอมิยะได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผนวกเอาหมู่บ้านซาชิโออูงิ มามิยะ อูเอมิซุ คาตายานางิ ฮารูโอกะ และนานาซาโตะ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1955
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 นครโอมิยะได้ควบรวมกับนครอูราวะ และนครโยโนะ เพื่อจัดตั้งเป็นนครไซตามะ และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2003 นครไซตามะก็ได้รับการยกฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด และพื้นที่ที่เคยเป็นนครโอมิยะก็ได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้แก่ เขตคิตะ, เขตมินูมะ, เขตนิชิ, และเขตโอมิยะ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: โทโฮกุชิงกันเซ็ง / โจเอ็ตสึชิงกันเซ็ง / อากิตะชิงกันเซ็ง / ยามางาตะชิงกันเซ็ง / โฮกูริกุชิงกันเซ็ง / สายคาวาโงเอะ
- สถานี: โอมิยะ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก: สายหลักโทโฮกุ / สายทากาซากิ / สายเคฮิง-โทโฮกุ
- สถานี: ไซตามะ-ชินโตชิง – โอมิยะ
- รถไฟโทบุ: สายโทบุเออร์บันพาร์ก
- สถานี: โอมิยะ – คิตะ-โอมิยะ – โอมิยะ-โคเอ็ง
- นิวชัทเทิล: สายอินะ
- สถานี: โอมิยะ – เท็ตสึโด-ฮากูบุตสึกัง
ทางหลวง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Saitama city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ōmiya-ku, Saitama
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)