ข้ามไปเนื้อหา

อั่งม้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมของญี่ปุ่น, จีน และตะวันตก (ชิบะ โคกัง ปลายศตวรรษที่ 18); "ชาวตะวันตก" เป็นคนที่มีผมแดง

อั่งม้อ หรือ อั้งม้อ (Ang mo/Ang moh; จีน: 紅毛; พินอิน: hóng máo; เป่อ่วยยี: âng-mô͘ / âng-mn̂g; แต้จิ๋ว: ang5 mo5) หรือ อังโม เป็นคำที่ใช้เรียกชาวต่างชาติที่เชื้อสายยุโรป หรือชาวผิวขาวโดยที่มิได้ระบุเชื้อชาติหรือสัญชาติ ใช้มากในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ มีบ้างที่ใช้ในประเทศไทยและไต้หวัน ความหมายตรงตัวนั้นแปลว่า “ผมแดง” ("red-haired") และมาจากคำในภาษาฮกเกี้ยน รูปแบบหนึ่งของภาษาหมิ่นใต้[1] การใช้งานตรงกับคำว่า gweilo (鬼佬; "คนผี") ในภาษากวางตุ้ง และ ฝรั่ง ในภาษาไทย

คำอื่น ๆ ที่คล้ายกัน เช่น ang mo kow (紅毛猴; "ลิงขนแดง"), ang mo kui (紅毛鬼; "ปีศาจผมแดง"), ang mo nang (紅毛人; "คนผมแดง") ถึงแม้ว่าในประวัติศาสตร์ คำนี้จะใช้ความหมายกว้าง ๆ ในทางที่ทางที่ไม่ดีและเสื่อมเสีย แต่ในปัจจุบันก็เป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้ทั่วไปและมีความหมายเป็นกลางในมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นทั้งคำนามและวิเศษณ์ที่ใช้เรียกคนขาว

การโต้เถียงในความหมายเชิงเหยียดชนชาติ

[แก้]

คำว่า อั่งม้อ นั้นบางครั้งถูกมองว่าเป็นคำเรียกให้เสื่อมเสียและมีความหมายเหยียดชนชาติ[2] ในขณะที่คนอีกบางส่วนมอง่วาเป็นคำที่รับได้ในบรบทปัจจุบัน[3] ถึงแม้จะมีข้อถกเถียงเกิดขึ้น แต่คำนี้ก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการปรากฏใช้ในสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ The Straits Times ของสิงคโปร์,[4] ในโทรทัศน์และในภาพยนตร์ เช่น I Not Stupid

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Medhurst, W. H. (1832). A Dictionary of the Hok-këèn Dialect of the Chinese Language: According to the Reading and Colloquial Idioms: Containing about 12,000 Characters. Macau: East India Press. p. 481. OCLC 5314739. OL 14003967M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2014. สืบค้นเมื่อ January 15, 2015. 紅毛 âng mô, red haired, generally applied to the English people.
  2. Ong Soh Chin (30 October 2004). "none". The Straits Times. p. 4. [M]any of my Singaporean friends felt the term ang moh was definitely racist. Said one, with surprising finality: "The original term was ang moh gui which means "red hair devil" in Hokkien. That's definitely racist". However, the gui bit has long been dropped from the term, defanging it considerably. ... Both ang moh gui and gwailo – Cantonese for "devil person" – originated from the initial Chinese suspicion of foreigners way back in those days when the country saw itself as the Middle Kingdom.; Sean Ashley (5 November 2004), "Stop calling me ang moh [letter]", The Straits Times, p. 5, As an 'ang moh' who has lived here for over six years, I hope more people will realise just how offensive the term is.
  3. Garry Hubble (5 November 2004). "none". The Straits Times. p. 5. To have my Chinese Singaporean friends call me ang moh is more humorous than anything else. As no insult is intended, none is taken.
  4. Michael D. Sargent (21 October 2007), "Lessons for this gweilo and ang moh", The Straits Times, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2009, สืบค้นเมื่อ May 7, 2009; Jamie Ee Wen Wei (11 November 2007), "Meet Bukit Panjang's "ang moh leader": Englishman is one of 900 permanent residents who volunteer at grassroots groups, and the number could rise with more Westerners becoming PRs", The Straits Times, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2007, สืบค้นเมื่อ May 7, 2009

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]