อันดับปลาหัวตะกั่ว
อันดับปลาหัวตะกั่ว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาหางนกยูง ตัวผู้ (♂; บน) และ ตัวเมีย (♀; ล่าง) ซึ่งเป็นปลาในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้นใหญ่: | Osteichthyes |
ชั้น: | Actinopterygii |
ชั้นย่อย: | Neopterygii |
ชั้นฐาน: | Teleostei |
อันดับใหญ่: | Acanthopterygii |
อันดับ: | Cyprinodontiformes Berg, 1940 |
อันดับย่อย | |
ชื่อพ้อง[1] | |
อันดับปลาหัวตะกั่ว หรือ อันดับปลาออกลูกเป็นตัว (อังกฤษ: Toothcarp) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดเล็กอันดับหนึ่ง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ใช้ชื่ออันดับว่า Cyprinodontiformes
โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็กมีความยาวโดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินและอาศัยบริเวณผิวน้ำ โดยเฉพาะริมฝั่งที่มีไม้น้ำหรือร่มไม้ขึ้นครึ้ม ส่วนมากมีสีสันสวยงาม มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียค่อนข้างชัดเจน
พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา และบางส่วนในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์
ปลาในอันดับนี้ส่วนมากออกลูกเป็นไข่ แต่มีบางชนิดออกลูกเป็นตัว ชนิดที่ออกลูกเป็นตัวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งมีการพัฒนาลักษณะโครงสร้างมาจากก้านครีบก้นคือ จะมีลักษณะแหลมยาวเรียกว่า โกโนโพเดียม ซึ่งจะใช้เป็นอวัยวะนี้ผสมพันธุ์กับตัวเมียส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของตัวเมียจะมีช่องเพศอยู่บริเวณหน้าครีบก้น ซึ่งตัวผู้จะใช้อวัยวะที่เรียกว่าโกโนโพเดียม สอดเข้าไปในช่องเพศของตัวเมีย และส่งน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียหรืออาจจะถูกเก็บไว้ในท่อนำไข่ ปลาในอันดับนี้สามารถออกลูกเป็นตัว โดยไข่ที่อยู่ในท้องของตัวเมียจะถูกผสมโดยน้ำเชื้อของตัวผู้ และไข่ก็จะพัฒนาอยู่ในท้องของตัวเมียจนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ซึ่งปลาตัวเมียที่ได้ผสมกับปลาตัวผู้เพียงครั้งเดียว จะสามารถให้ลูกได้ต่อไปอีกหลายครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกเลย โดยไข่จะผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อที่ถูกกักเก็บไว้ในท่อนำไข่ ซึ่งการที่ปลาออกลูกเป็นตัวตัวเมียสามารถกักเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ได้ยาวนานนั้นขึ้นอยู่ชนิดและความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา
ปลาในอันดับนี้โดยรวม เป็นที่รู้จักกันดีของมนุษย์ โดยมิได้นำมารับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่มีการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันมาอย่างยาวนานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย มีความสวยงาม เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก และมักว่ายอยู่บรเวณผิวน้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันอย่างกว้างขวางนเกิดเป็นสายพันธุ์แปลก ๆ และสวยงามกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติจริง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการกำจัดลูกน้ำซึ่งเป็นตัวอ่อนของยุงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
โดยปลาในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) และ วงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) ซึ่งรวมถึงปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ด้วย[2]
การจำแนก
[แก้]- อันดับย่อย Aplocheiloidei [3][4]
- วงศ์ Aplocheilidae
- วงศ์ Nothobranchiidae
- วงศ์ Rivulidae
- อันดับย่อย Cyprinodontoidei
- วงศ์ใหญ่ Funduloidea
- วงศ์ Profundulidae
- วงศ์ Goodeidae
- วงศ์ Fundulidae
- วงศ์ใหญ่ Valencioidea
- วงศ์ Valenciidae
- วงศ์ใหญ่ Cyprinodontoidea
- วงศ์ Cyprinodontidae
- วงศ์ใหญ่ Poecilioidea
- วงศ์ Anablepidae
- วงศ์ Poeciliidae
- วงศ์ใหญ่ Funduloidea
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ ["ปลาออกลูกเป็นตัว จากเว็บไซต์[[กรมประมง]] (ไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03. ปลาออกลูกเป็นตัว จากเว็บไซต์กรมประมง (ไทย)]
- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ Parenti, Lynne R. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N.. ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 148–151. ISBN 0-12-547665-5