อักษรปัลลวะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อักษรปัลลวะ | |
---|---|
คำว่า ปัลลวะ ในอักษรปัลลวะ | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | พุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 14 |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ทมิฬ, กันนาดา, มลยาฬัม, สิงหล, บาหลี, เขมรเก่า, มอญเก่า |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | พราหมี
|
ระบบลูก | ครันถะ, มอญ, เขมร, กวิ, จาม |
ระบบพี่น้อง | ทมิฬ, วัตเตลุตตุ (Vatteluttu) |
อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบในตระกูลอักษรพราหมี ซึ่งพัฒนาขึ้นในตอนใต้ของอินเดียช่วงที่ราชวงศ์ปัลลวะมีอำนาจประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งการกำเนิดขึ้นของอักษรครันถะ[1]ในอินเดีย และอักษรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อักษรบาหลี[2], อักษรชวา[3], อักษรกวิ[4], อักษรไบบายิน[5], อักษรมอญ[6], อักษรพม่า[7], อักษรเขมร[8], อักษรล้านนา[9], อักษรไทย[10], อักษรลาว[11] และ อักษรไทลื้อ[12] รวมทั้งอักษรสิงหล[13] ในศรีลังกา ทั้งหมดได้รับอิทธิพลในทางตรงหรือทางอ้อม มาจากอักษรกทัมพะ-ปัลลวะ[14]
ร่างข้อเสนอรหัสยูนิโคดของอักษรปัลลวะได้รับการยอมรับในปี 2561[15]
รูปแบบ
[แก้]รูปแบบของอักษรในตารางนำมาจากตัวอย่างจารึกในพุทธศตวรรษที่ 12 (* หมายถึง อักษรนั้นไม่ทราบเสียงอ่านที่แน่ชัด เนื่องจากมีหลักฐานปรากฏอยู่น้อยในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
พยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะแต่ละตัวจะตามด้วยเสียง อา /a/ ซึ่งจะออกเป็นเสียงนี้เมื่อไม่ได้ตามด้วยสระ ถ้าอักษรสองตัวเขียนตามกันโดยไม่มีสระคั่น อักษรตัวที่สองจะเขียนเป็นแบบลดรูปและซ้อนอยู่ใต้อักษรตัวแรก[16]
ka | kha | ga | gha | nga |
---|---|---|---|---|
ca | cha | ja | jha* | nya |
ṭa | ṭha* | ḍa | ḍha* | ṇa |
ta | tha | da | dha | na |
pa | pha | ba | bha | ma |
ya | ra | la | va | |
śa | ṣa | sa | ha | |
รูปสระ
[แก้]a | ā | i | ī | u | e | o | ai* | au* |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษร กทัมพะ-ปัลลวะ
[แก้]ระหว่างการปกครองของราชวงศ์ปัลลวะ นักบวช, พระ, วิญญูชนและพ่อค้าวาณิช ได้นำอักษรไปเผยแพร่ยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์ปัลลวะพัฒนาอักษรปัลลวะโดยมีพื้นฐานมาจากอักษรทมิฬ-พราหมี ลักษณะของอักษรที่พัฒนาขึ้นทำให้สามารถถ่ายทอดเสียงพยัญชนะได้ตรงและครบถ้วน อักษรที่คล้ายคลึงกับอักษรปัลลวะพบได้ในระบบการเขียนของ ราชวงศ์จาลุกยะ[17], ราชวงศ์กทัมพะ, เมืองเวงคี ในสมัยของราชวงศ์ อานธรอิกษวากุ รูปแบบของอักษรพราหมีถูกนำมาปรับปรุงจนมีความแตกต่างกันเล็กน้อยใน อักษรของราชวงศ์โจฬะ, ราชวงศ์ปัณฑยะ และ ราชวงศ์เจระ อักษรปัลลวะเป็นกระบวนการพัฒนาจากอักษรพราหมีแรกสุดที่สำคัญในอินเดีย มีความระมัดระวังในการรวมเส้นโค้งและมุมเหลี่ยมและเพิ่มเติมรูปแบบของตัวอักษร ซึ่งเหมาะสำหรับจารึกเรื่องทั่วไปและเรื่องศาสนา อักษร กทัมพะ-ปัลลวะ[18] พัฒนาต่อมาเป็นรูปแบบเบื้องต้นของอักษรกันนาดา และอักษรเตลูกู ซึ่งตัวอักษรมีความโค้งมนขึ้นและเขียนเชื่อมต่อเนื่องกัน เนื่องจากนำไปใช้จารบนใบปาล์มและเขียนบนกระดาษ[19][13]
อักษรปัลลวะเป็นอักษรชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[20] โดยเป็นอักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งอักษรทั้งสามเป็นอักษรต้นแบบให้กับอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาต่อมา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Grantha alphabet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Balinese alphabet". สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
- ↑ "Javanese alphabet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Kawi alphabet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Tagalog". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Mon". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Burmese". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Khmer". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Lanna alphabet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Thai". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Lao". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "New Tai Lue script". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ 13.0 13.1 Jayarajan, Paul M. (1976-01-01). History of the Evolution of the Sinhala Alphabet (ภาษาอังกฤษ). Colombo Apothecaries' Company, Limited.
- ↑ "Pallava script". SkyKnowledge.com. 2010-12-30.
- ↑ Pandey, Anshuman (27 March 2018). "Preliminary proposal to encode Pallava in Unicode" (PDF). unicode.org.
- ↑ "อักษรพราหมี-อักษรปัลลวะต้นกำเนิดอักษร มอญ ขอม ไทย". unzeen.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
- ↑ "Western Chalukya D. 690 A.D." Skyknowledge.com.
- ↑ "Pallava script". Skyknowledge.com. 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-13.
- ↑ "Pallava - an important ancient script from South India". สืบค้นเมื่อ 2013-09-05.
- ↑ "จารึกเขารัง". โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 24 กรกฎาคม 2562.
บรรณานุกรม
[แก้]- Sivaramamurti, C (1966). Indian Epigraphy and South Indian Scripts. Chennai, India: Principal Commissioner of Museums, Government Museum. ASIN B0007J48WU.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อักษรปัลลวะ ที่ Omniglot.com