อะเลปโป
อะเลปโป حلب Ḥalab | |
---|---|
สมญา: Ash-Shahbaa | |
พิกัด: 36°13′N 37°10′E / 36.217°N 37.167°E | |
ประเทศ | ซีเรีย |
เขตผู้ว่าราชการ | เขตผู้ว่าราชการอเลปโป |
District | Mount Simeon (Jabal Semaan) |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการ | Mohammad Wahid Aqqad |
• ประธานสภาเทศบาล | Mohammad Ayman Hallaq |
พื้นที่ | |
• ตัวเมือง | 190 ตร.กม. (70 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 379 เมตร (1,243 ฟุต) |
ประชากร (2004 census) | |
• ตัวเมือง | 2,132,100 คน |
• ความหนาแน่น | 11,221 คน/ตร.กม. (29,060 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,181,061 คน |
เขตเวลา | UTC+2 (EET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (EEST) |
รหัสพื้นที่ | Country code: 963 City code: 21 |
Demonym | Aleppine (less used Aleppan, Alepian) |
เว็บไซต์ | www.alp-city.org |
อะเลปโป (อังกฤษ: Aleppo) หรือ ฮะลับ (อาหรับ: حلب / ALA-LC: Ḥalab) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ[1] เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการอะเลปโป ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าราชการที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีประชากรอย่างเป็นทางการ 2,132,100 คน (ค.ศ. 2004) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลแวนต์[2][3] ร่วมหลายศตวรรษที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกรตเตอร์ซีเรีย และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอาณาจักรออตโตมัน รองจากอิสตันบูลและไคโร[4][5][6]
อะเลปโปยังเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่มีคนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด มีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงต้นของ 6 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราช[7] ได้รับการกล่าวถึงในหินคูนิฟอร์มในเอบลาและเมโสโปเตเมียที่กล่าวถึง ความช่ำชองในการค้าและการทหาร[8] และด้วยประวัติอันยาวนาน อาจเป็นสาเหตุให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับเมโสโปเตเมีย
อะเลปโปซึ่งชาวอิตไทต์ได้เข้าครอบเมื่อประมาณ 2 พันปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาได้มีชนชาติต่าง ๆ ผลัดกันเข้ามามีอำนาจ จนถึง ค.ศ. 1517 ได้รวมอยู่ในจักรวรรดิออตโตมัน เมืองมีความโดดเด่น โดยเป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทางสายไหม ที่เป็นเส้นทางผ่านเอเชียกลางและเมโสโปเตเมีย เมื่อมีการสร้างคลองสุเอซขึ้นในปี ค.ศ. 1869 การทำการค้าจึงทำการทางทะเล เมืองอะเลปโปก็ค่อย ๆ เสื่อม ใน ค.ศ. 1918 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อังกฤษได้เข้ามายึดครอง และใน ค.ศ. 1920 มีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของซีเรียซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศส จนกระทั่ง ค.ศ. 1925 จึงได้รวมกับดามัสกัสเป็นประเทศซีเรีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UN Data, Syrian Arab republic". Data.un.org. 24 October 1945. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
- ↑ "UN Demographic Yearbook 2009" (PDF). สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
- ↑ Expatify.com Navigating the Major Cities of Syria
- ↑ Encyclopedia of the Ottoman Empire. Google Books. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
- ↑ Russell, Alexander (1794), The natural history of Aleppo, 2nd Edition, Vol. I, pp. 1–2
- ↑ Gaskin, James J. (1846), Geography and sacred history of Syria, pp. 33–34
- ↑ Columbia Encyclopedia, Sixth Edition (2010)
- ↑ Britannica Concise Encyclopedia (2010)