ข้ามไปเนื้อหา

อะเลคเซย์ อันโตนอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเลคเซย์ อันโตนอฟ
ชื่อพื้นเมือง
Алексе́й Инноке́нтьевич Анто́нов
เกิด09 กันยายน ค.ศ. 1896(1896-09-09)
กรอดโน, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต16 มิถุนายน ค.ศ. 1962(1962-06-16) (65 ปี)
สหภาพโซเวียต
รับใช้สหภาพโซเวียต
แผนก/สังกัดกองทัพ
ชั้นยศพลเอกแห่งกองทัพ
บังคับบัญชามนฑลทหารทรานส์คอเคซัส
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
คู่สมรสOlga Vasiliyevna Lepeshinskaya
งานอื่นเสนาธิการกำลังผสมแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ

อะเลคเซย์ อีนโนเคนต์เยวิช อันโตนอฟ (รัสเซีย: Алексе́й Инноке́нтьевич Анто́нов) เป็นนายพลในกองทัพโซเวียต เขาได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยสำหรับความพยายามของเขาในสงครามโลกครั้งที่สอง

อันโตนอฟเกิดในครอบครัวเชื้อสาย Kryashen[1][2] ที่เมืองกรอดโน ในฐานะบุตรของเจ้าหน้าที่หหารปืนใหญ่ของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย[3] อันโตนอฟสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยทหารฟรุนเซใน ค.ศ. 1921 และเข้าร่วมกับกองทัพแดงในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย เขากลายเป็นครูสอนที่วิทยาลัยทหารฟรุนเซใน ค.ศ. 1938

ใน ค.ศ. 1941 อันโตนอฟกลายเป็นเสนาธิการแนวรบตะวันตกเฉียงใต้และแนวรบใต้ของโซเวียต ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 เขาได้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทั่วไปของกองทัพโซเวียตรวมและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการซึ่งมีบทบาทสำคัญในกองบัญชาการสามัญของสหภาพโซเวียต (Stavka)[4] ในความเป็นจริงแล้ว อันโตนอฟเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพของหัวหน้าเจ้าหน้าที่เสนาธิการโซเวียตตั้งแต่เสนาธิการอะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกีที่มักจะขาดงานเนื่องจากภารกิจที่แนวหน้าบ่อยครั้งในฐานะตัวแทนของ Stavka ผลที่ตามมาคือ Stavka ช่วยให้อันโตนอฟพ้นในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเพื่อให้อันโตนอฟสามารถมีสมาธิอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้นำในเสนาธิการทั่วไป ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 วาซีเลฟสกีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 และในที่สุดอันโตนอฟก็กลายเป็นผู้นำเสนาธิการทั่วไปของโซเวียตอย่างเป็นทางการ[5] แม้จะมีบทบาทสำคัญในชัยชนะสูงสุดของกองทัพแดง เขาก็ไม่เคยได้รับตำแหน่งจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

ใน ค.ศ. 1944 อันโตนอฟรับหน้าที่เป็นหัวหน้าโฆษกในช่วงการประชุมที่กรุงมอสโก, การประชุมที่เมืองยัลตา และ การประชุมที่นครพ็อทซ์ดัม ในการประชุมที่ยัลตาเขาได้กล่าวสรุปแก่พันธมิตรตะวันตกเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางทหารที่ร่วมมือกัน[6] และเน้นว่าพันธมิตรสามารถช่วยเหลือโซเวียตผ่านสายการสื่อสารที่มีส่วนทำให้เกิดการโจมตีที่นครเดรสเดินได้อย่างไร[7]

หลังสงครามสิ้นสุดลง อันโตนอฟได้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมนฑลทหารทรานส์คอเคซัส ใน ค.ศ. 1955 เขากลายเป็นหัวหน้าเสนาธิการกำลังผสมแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ เขายังอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งเขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1962[8]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bonn, Keith E. (2005). Slaughterhouse: Handbook of the Eastern Front. Aberjona Press.
  • S. M. Shtemenko. The Soviet General Staff. Progress Publisher, Moskva.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • S. Bialer ed., Stalin's Generals (New York 1969)
  • H. Salisbury ed., Marshal Zhukov's Greatest Battles (London 1969)