ข้ามไปเนื้อหา

อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช
ซาเรวิชแห่งรัสเซีย
ซาเรวิชอะเลคเซย์ ในปี 1916
พระราชสมภพ12 สิงหาคม ค.ศ. 1904 [ตามปฎิทินเก่า: 30 กรกฎาคม]
พระราชวังเปเตียร์กอฟ, เขตผู้ว่าการเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, รัสเซีย
สวรรคต17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918(1918-07-17) (13 ปี)
พระตำหนักอิวาเคียฟ, เยคาเตรินบุร์ก, สาธารณรัฐโซเวียตรัสเซีย
พระนามเต็ม
อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช โรมานอฟ
ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ
พระบิดาจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
พระมารดาอาลิกซ์แห่งเฮ็สเซินและโดยไรน์
ศาสนารัสเซียออร์ทอดอกซ์
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHis Imperial Highness
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Imperial Highness
(พระพุทธเจ้าช้า/เพคะ)

อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช[1] (รัสเซีย: Алексе́й Никола́евич) (12 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 30 กรกฎาคม] ค.ศ. 1904 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918) เป็นซาเรวิชองค์สุดท้าย (รัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของจักรวรรดิรัสเซีย) เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องและโอรสองค์เดียวของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 และจักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนา พระองค์พระราชสมภพมาพร้อมกับโรคฮีโมฟิเลีย ซึ่งพระบิดาและพระมารดาของพระองค์พยายามรักษาด้วยวิธีการรักษาตามความเชื่อของชาวนาชื่อ กริกอรี รัสปูติน

ชีวิตในวัยเยาว์

[แก้]

เมื่อเจริญพระชันษาแล้ว ซาเรวิชอะเลคเซย์ไม่ทรงได้รับอนุญาตให้เล่นสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดพระโลหิต เช่นขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส เนื่องจากซาเรวิชนั้นได้ประชวรด้วยโรคฮีโมฟิเลีย พระองค์ได้ทูลขอพระมารดาหลายครั้ง แต่ก็ได้รับคำตอบกลับมาเหมือนเดิมทุกทีว่า "ลูกก็รู้ว่าลูกทำไม่ได้" และทุกครั้งที่ได้ยินซาเรวิชน้อยก็ทรงพระกันแสงและพูดว่า "ทำไมฉันไม่เหมือนทุกคน ทำไมเด็กผู้ชายคนอื่นมีทุกอย่าง แต่ฉันไม่"[2] แต่ในทางกลับกัน ซาเรวิชอะเลคเซย์ก็ถูกตามใจมากอยู่เหมือนกัน มีครั้งหนึ่งที่ได้มีขุนนางเสด็จมาเข้าเฝ้าองค์ซาเรวิช พระองค์จะทรงต่อยพวกเขา หรือไม่ก็แกล้งเล่นแรงๆ เกือบทุกครั้ง

และเมื่อครอบครัวของพระองค์ได้จัดเลี้ยงพระกระยาหารนั้น ซาเรวิชอะเลกเซย์ได้ซ่อนตัวอยู่ใต้โต๊ะ ถอดรองเท้าของนางสนองพระโอษฐ์และนำไปให้จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดา พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ซาเรวิชนำรองเท้าข้างนั้นกลับไปไว้ที่เดิม แต่ซาเรวิชอะเลคเซย์นั้นกลับใส่สตรอว์เบอรี่ลงไปในรองเท้าของนางกำนัลผู้นั้นแทน[3] เจ้าชายคอนสตันตินผู้เป็นพระญาติของซาร์นิโคลัสได้เขียนไว้ในไดอารี่ว่า "เมื่อไม่นานมานี้ พระชายาของฉันได้ไปทานมื้อกลางวันกลับครอบครัวของพระเจ้าซาร์ และลำบากใจกับพฤติกรรมของซาเรวิชองค์น้อยเป็นอย่างมาก พระองค์ลุกนั่งตลอดเวลา ทานอาหารมูมมาม และหยอกล้อทุกคนไปทั่ว" ปิแอร์ กิลลาร์ด พระอาจารย์ของซาเรวิชอะเลคเซย์พูดกับพระราชบิดาของซาเรวิชและโน้มน้าวให้พระเจ้าซาร์นั้นกำหนดระเบียบให้ซาเรวิช เพื่อที่จะเป็นการดีสำหรับการเป็นพระเจ้าซาร์ของซาเรวิชในอนาคต

พระอาการประชวร

[แก้]

ซาเรวิชอะเลคเซย์ นีโคลาเยยวิช ทรงมีโรคประจำพระองค์คือ โรคราชวงศ์ (royal Disease) หรือฮีโมฟิเลีย โดยผู้เป็นพระมารดาคือจักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนานั้นได้ทรงเป็นพาหะโรคฮีโมฟิเลีย เนื่องด้วยสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียนั่นเอง[4][5]

พระอาการประชวรของซาเรวิชอะเลคเซย์ นีโคลาเยวิชนั้น ทำให้จักรพรรดินิโคลัสที่ 2และจักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนานั้นเป็นกังวลพระทัยมาก เพราะซาเรวิชอะเลคเซย์เป็นพระโอรสองค์สุดท้องเพียงองค์เดียวและยังเป็นซาเรวิชแห่งรัสเซียด้วย ทั้งสองพระองค์จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะรักษาพระอาการประชวรของพระโอรส เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้กริกอรี รัสปูตินได้เข้ามารักษาพระอาการประชวรของซาเรวิชอะเลคเซย์จนหายดีแต่ทว่าไม่ได้มีการเปิดเผยใดๆว่ารัสปูตินได้รักษาแก่ซาเรวิชอะเลคเซย์ได้อย่างไร[6] แต่นั้นก็ทำให้รัสปูตินได้กลายเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าซาร์และพระราชินีและได้มอบไว้วางพระทัยให้ในฐานะที่ปรึกษาของจักรพรรดิได้ดูแลการเมืองและราชวงศ์รัสเซีย ด้วยความักใหญ่ใฝ่สูงของรัสปูตินทำให้รัสเซียต้องเผชิญกับความเสื่อมโทรมจนนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซียในที่สุด

สวรรคต

[แก้]

คืนวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ซาเรวิชอะเลกเซย์และครอบครัว ถูกปลงพระชนม์ในห้องใต้ดินของบ้านอิปาเตียฟ ซึ่งเป็นสถานที่คุมขัง ในเยคาเตรินบุร์ก (Ekaterinburg) สิริพระชนมายุได้ 14 พรรษา

การฝังพระศพและการยกย่อง

[แก้]

พระศพถูกฝังแบบคริสต์ในปี ค.ศ. 1998 ในวิหารเซนต์เยหาเจรีนาในมหาวิหารปีเตอร์และพอล ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของอดีตซาร์ทุกพระองค์ของรัสเซีย และในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์แห่งรัสเซียประกาศให้สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟเป็นนักบุญผู้แบกรับกิเลส (passion bearer)

อ้างอิง

[แก้]
  1. สัญชัย สุวังบุตร. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 39. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
  2. Bentkowska, Anna (2003). Radziwiłł family. Oxford Art Online. Oxford University Press.
  3. "Notes", Local Story, University of Hawaii Press, pp. 117–136, 2017-12-31, ISBN 978-0-8248-4021-1, สืบค้นเมื่อ 2021-07-06
  4. Rogaev, Evgeny I.; Grigorenko, Anastasia P.; Faskhutdinova, Gulnaz; Kittler, Ellen L. W.; Moliaka, Yuri K. (2009-11-06). "Genotype Analysis Identifies the Cause of the "Royal Disease"". Science (ภาษาอังกฤษ). 326 (5954): 817–817. doi:10.1126/science.1180660. ISSN 0036-8075. PMID 19815722.
  5. "Case Closed: Famous Royals Suffered From Hemophilia -- Price 2009 (1008): 2 -- ScienceNOW". web.archive.org. 2009-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-07-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "Alexis | Biography, Death, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).