ข้ามไปเนื้อหา

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมาจิ้งจอกหูค้างคาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
วงศ์ย่อย: Caninae
สกุล: Otocyon
Müller, 1835
สปีชีส์: O.  megalotis
ชื่อทวินาม
Otocyon megalotis
(Desmarest, 1822)
ชนิดย่อย
  • O. m. canescens Cabrera, 1910
  • O. m. megalotis (Desmarest, 1822)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมาจิ้งจอกหูค้างคาว (สีแดง: คือ ชนิดย่อย O. m. megalotis , สีน้ำเงิน: O. m. canescens)
ชื่อพ้อง
  • Otocyon auritus (C. E. H. Smith, 1840)
  • Otocyon caffer (Müller, 1836)
  • Otocyon lalandi (Desmoulins, 1823)
  • Otocyon steinhardti (Zukowsky, 1924)

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว (อังกฤษ: Bat-eared fox) เป็นสัตว์กินเนื้อในวงศ์ Canidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otocyon megalotis เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในสกุล Otocyon

มีถิ่นกำเนิดในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและแอฟริกาตะวันออก ชอบอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ยกเว้นขาทั้ง 4 ข้าง, ส่วนหน้าของใบหน้า, ปลายหาง และใบหูเป็นสีดำ เป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็ก อุปนิสัยไม่ดุร้าย มีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางประมาณ 55 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม

มีจุดเด่นอยู่ที่ใบหูที่ยาวใหญ่ถึง 13 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายค้างคาวอันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นเลือดต่าง ๆ ช่วยระบายความร้อน และทำให้มีประสาทการรับฟังอย่างดีเยี่ยม จนสามารถฟังได้แม้กระทั่งเสียงคลานของแมลง โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-6 ตัว ในโพรงดิน นอกจากนี้แล้วยังมีฟันและกรามที่แตกต่างไปจากสุนัขชนิดอื่น ๆ คือ สุนัขทั่วไปจะมีฟันกรามบน 2 ซี่ และกรามล่าง 3 ซี่ แต่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีฟันกรามบน 3 ซี่ และกรามล่าง 4 ซี่ และสามารถขยับกรามได้อย่างรวดเร็วเพื่อเคี้ยวแมลงได้อีกต่างหาก ออกหากินในเวลากลางคืน ในฤดูหนาวจะหากินในเวลากลางวัน โดยกินแมลงจำพวกปลวกเป็นอาหารหลัก และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงผลไม้บางชนิด โตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 7-9 เดือน มีฤดูผสมพันธุ์ในฤดูหนาว ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว แม่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวจะเลี้ยงลูกนานราว 15 สัปดาห์

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ

สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีเลี้ยงในสวนสัตว์ดุสิต, เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งหมาจิ้งจอกหูค้างคาวที่เลี้ยงอยู่นี้ได้ผสมพันธุ์และออกลูกในที่เลี้ยงด้วย โดยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นำเข้ามาจากแอฟริกาใต้เมื่อกลางปี พ.ศ. 2552[1][2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Otocyon megalotis ที่วิกิสปีชีส์