สมเด็จพระราชินีซาเลฮาแห่งบรูไน
ซาเลฮา | |
---|---|
พระฉายาลักษณ์ ปีพ.ศ. 2556 | |
สมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน | |
ดำรงพระยศ | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน (57 ปี 93 วัน) |
ราชาภิเษก | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2511 |
พระราชสมภพ | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489 บรูไนทาวน์ ประเทศบรูไน |
พระราชสวามี | สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์ |
พระราชบุตร | เจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ เจ้าชายอับดุล มาลิก เจ้าหญิงราชิดะห์ เจ้าหญิงมูตา วะก์กิละห์ เจ้าหญิงมาจีดะห์ เจ้าหญิงฮาฟีซะห์ |
ราชวงศ์ | โบลเกียห์ |
พระราชบิดา | เปงงีรัน เปอมันชา เปงงีรัน อานะก์ ฮัจญี โมฮัมเหม็ด อาลัม |
พระราชมารดา | เปงงีรัน บาบู รายา เปงงีรัน อานะก์ ฮัจญา เบอซา |
พระราชวงศ์แห่งบรูไน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน สมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน |
พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
ตัวเอียงคืออดีตพระบรมวงศานุวงศ์
|
สมเด็จพระราชินีซาเลฮาแห่งบรูไน (มลายู: Raja Isteri Pengiran Anak Saleha; พระราชสมภพ: 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489) สมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์ สุลต่านแห่งบรูไน[1]
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระราชินีซาเลฮาแห่งบรูไน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489 ณ หมู่บ้านซัมบิลิง ถนนพระราชวังดารุสลาม เมืองบรูไนทาวน์ (ปัจจุบันคือ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน) เขตบรูไนดารุสลาม โดยเป็นธิดาของเปงงีรัน เปอมันชา เปงงีรัน อานะก์ ฮัจญี โมฮัมเหม็ด อาลัม กับเปงงีรัน บาบู รายา เปงงีรัน อานะก์ ฮัจญา เบอซา
พระองค์ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจากสุเหร่าในพระราชวังดารุลฮานา ต่อมาพระองค์จึงทรงเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนติงงีเปอเริมปวนรายาอิสตรี (Sekolah Tinggi Perempuan Raja Isteri) ในบันดาร์เซอรีเบอกาวัน โดยพระองค์ได้ศึกษาต่อจนถึงในปี พ.ศ. 2508
อภิเษกสมรส
[แก้]พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งขณะนั้นพระสวามียังดำรงพระอิสริยยศที่ เจ้าชายฮัสซานัล โบลเกียห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไน พระองค์จึงดำรงพระอิสริยยศเป็น มกุฎราชกุมารีแห่งบรูไน อนึ่งพระองค์และพระสวามีเป็นพระญาติกัน[2] เนื่องจากพระมารดาของพระสวามี กับพระบิดาของพระองค์เป็นพี่น้องกัน หลังจากการสมรสพระองค์ได้ให้ประสูติกาลพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 4 พระองค์ ได้แก่[3]
- เจ้าหญิงราชิดะห์ (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) เสกสมรสกับเจ้าชายอับดุล ราฮิม มีพระโอรส-ธิดา 5 พระองค์
- เจ้าหญิงมูตา วะก์กีละห์ (ประสูติ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2514)
- เจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไน (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เสกสมรสกับเจ้าหญิงซาระห์ มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์
- เจ้าหญิงมาจีดะห์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2519) เสกสมรสกับเจ้าชายไครุล คาลิล มีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์
- เจ้าหญิงฮาฟีซะห์ (12 มีนาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับเจ้าชายโมฮัมมัด รูไซนี
- เจ้าชายอับดุล มาลิก (30 มกราคม พ.ศ. 2526)
พระจริยวัตร
[แก้]พระองค์โปรดธรรมชาติ ทรงมีสวนผลไม้ บ่อเลี้ยงปลา และสวนนก ในยามว่างพระองค์โปรดการอ่านหนังสือ โปรดการเล่นแบดมินตัน รวมไปถึงการละเล่นดั้งเดิมของบรูไน คือ การเล่นจงกะก์ (Congkak) และปาซัง (Pasang)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Le sultan de Brunei célèbre ses 64 ans". Noblesse & Royautes. 19 juillet 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Saunders, Graham E. (2002). A history of Brunei (2 ed.). Routledge. p. 163. ISBN 070071698X.
- ↑ "Azrinaz Mazhar Hakim, Sultan Brunei Cerai Talak Satu". nurizspace. Thursday, June 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีซาเลฮาแห่งบรูไน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีดามิตแห่งบรูไน | สมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน (1 สิงหาคม ค.ศ. 1968 — ) |
ปัจจุบัน |