การสงครามเคมี
สงครามเคมี หรือ อาวุธเคมี (อังกฤษ: Chemical warfare หรือ CW) คือการใช้คุณสมบัติอันเป็นพิษของสารเคมีในการเป็นอาวุธเพื่อการสังหาร, สร้างความบาดเจ็บ หรือ สร้างความพิการให้แก่ศัตรู
ประเภทของสงครามนี้แตกต่างจากการใช้อาวุธสามัญ (conventional weapons) หรือ อาวุธนิวเคลียร์ เพราะการทำลายโดยสารเคมีมิได้เกิดจากแรงระเบิด
อาวุธเคมีจัดอยู่ในประเภทอาวุธเพื่อการทำลายล้างสูงโดยสหประชาชาติและการผลิตก็เป็นการผิดกฎอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention) ของปี ค.ศ. 1993 แต่การใช้พิษของสิ่งมีชีวิต (organism) เป็นอาวุธไม่ถือว่าเป็นอาวุธเคมีแต่เป็นอาวุธชีวภาพ
ความหมาย
[แก้]สงครามเคมีแตกต่างจากการใช้อาวุธสามัญ หรือ อาวุธนิวเคลียร์ เพราะเป็นการทำลายที่เกิดจากคุณสมบัติของสารเคมี ที่มิได้เกิดจากแรงระเบิด หรือการใช้พิษของสิ่งมีชีวิตเป็นอาวุธเช่นการใช้เชื้อแอนแทรกซ์ก็ไม่ถือว่าเป็นอาวุธเคมีแต่เป็นอาวุธชีวภาพ แต่การใช้พิษที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิต เช่น botulinum toxin, ricin, and saxitoxin ถือว่าเป็นอาวุธเคมีภายใต้คำนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี ตามข้อตกลงในอนุสัญญาสารเคมีไม่ว่าจะมีที่มาอย่างใดก็ถือว่าเป็นอาวุธเคมีทั้งสิ้น นอกจากว่าจะเป็นการใช้โดยวัตถุประสงค์ที่มิได้ห้ามตามรายละเอียดที่ระบุไว้ใน General Purpose Criterion[1]
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการสะสมอาวุธเคมีด้วยกันทั้งสิ้น 70 ชนิด ตามอนุสัญญาสารเคมีที่มีพิษพอที่จะใช้เป็นอาวุธหรืออาจจะใช้ในการผลิตอาวุธเคมี แบ่งออกเป็นสามประเภทตามวัตถุประสงค์ของอาวุธ:
- อาวุธเคมีประเภท 1 (CWC Schedule 1) – คือประเภทของอาวุธเคมีที่แทบจะไม่มีการใช้ที่ถูกต้อง อาวุธเคมีประเภทนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในการผลิตหรือใช้ในการค้นคว้า, การแพทย์, การเภสัชกรรม หรือ การป้องกัน (ในการทดลองเครื่องตรวจอาวุธเคมี หรือเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการป้องกันจากอาวุธ) ตัวอย่างของอาวุธเคมีในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ nerve agents, ricin, lewisite and แก๊สมัสตาร์ด ผู้ผลิตมากกว่า 100 กรัมต้องยื่นคำร้องขออนุญาตจากองค์การเพื่อการห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons (OPCW)) และแต่ละประเทศสามารถสะสมอาวุธเคมีได้ไม่เกินประเทศละหนึ่งตัน
- อาวุธเคมีประเภท 2 (CWC Schedule 2) – คือประเภทของอาวุธเคมีที่ไม่มีประโยชน์ในการใช้สอยทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แต่อาจจะมีประโยชน์สำหรับการใช้สอยจำนวนน้อย ตัวอย่างของอาวุธเคมีในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ ไดเม็ทธิล เม็ทธิลฟอสโฟเนท (dimethyl methylphosphonate) หรือ ไธโอไดกลิคอล (Thiodiglycol) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการทำแก๊สมัสตาร์ด แต่ก็ใช้ในการเป็นสารละลายสำหรับทำหมึกด้วย
- อาวุธเคมีประเภท 3 (CWC Schedule 3) – คือประเภทของอาวุธเคมีที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวอย่างของอาวุธเคมีในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ ฟอสจีน (phosgene) และ คลอโรพิคริน (chloropicrin) สารเคมีทั้งสองต่างก็ได้รับการใช้ในการผลิตอาวุธเคมี แต่ฟอสจีนเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญในการผลิตพลาสติก และ คลอโรพิครินในการใช้เป็นตัวฉีดรม (fumigant) ในกรณีนี้ผู้ผลิตต้องแจ้งองค์การเพื่อการห้ามอาวุธเคมี และทางองค์การมีสิทธิที่จะตรวจสอบโรงงานที่ผลิตมากกว่า 30 ตันต่อปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bureau of International Security and Nonproliferation. "Chemical Weapons Convention States Parties and Signatories".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
- CBWInfo.com (2001). A Brief History of Chemical and Biological Weapons: Ancient Times to the 19th Century เก็บถาวร 2004-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Nov. 24, 2004.
- Chomsky, Noam (Mar. 4, 2001). Prospects for Peace in the Middle East, page 2. Lecture.
- Cordette, Jessica, MPH(c) (2003). Chemical Weapons of Mass Destruction เก็บถาวร 2005-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Nov. 29, 2004.
- Croddy, Eric (2001). Chemical and Biological Warfare. Copernicus. ISBN 0-387-95076-1.
- Smart, Jeffery K., M.A. (1997). History of Biological and Chemical Warfare เก็บถาวร 2006-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Nov. 24, 2004.
- United States Senate, 103d Congress, 2d Session. (May 25, 1994). The Riegle Report เก็บถาวร 2012-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved Nov. 6, 2004.
- Gerard J Fitzgerald. American Journal of Public Health. Washington: Apr 2008. Vol. 98, Iss. 4; p. 611
ดูเพิ่ม
[แก้]- Leo P. Brophy and George J. B. Fisher; The Chemical Warfare Service: Organizing for War Office of the Chief of Military History, 1959; L. P. Brophy, W. D. Miles and C. C. Cochrane, The Chemical Warfare Service: From Laboratory to Field (1959); and B. E. Kleber and D. Birdsell, The Chemical Warfare Service in Combat (1966). official US history;
- Gordon M. Burck and Charles C. Flowerree; International Handbook on Chemical Weapons Proliferation 1991
- L. F. Haber. The Poisonous Cloud: Chemical Warfare in the First World War Oxford University Press: 1986
- James W. Hammond Jr.; Poison Gas: The Myths Versus Reality Greenwood Press, 1999
- Jiri Janata, Role of Analytical Chemistry in Defense Strategies Against Chemical and Biological Attack เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Annual Review of Analytical Chemistry, 2009
- Benoit Morel and Kyle Olson; Shadows and Substance: The Chemical Weapons Convention Westview Press, 1993
- Adrienne Mayor, "Greek Fire, Poison Arrows & Scorpion Bombs: Biological and Chemical Warfare in the Ancient World" Overlook-Duckworth, 2003, rev ed with new Introduction 2008
- Geoff Plunkett, Chemical Warfare in Australia, Australian Military History Publications, 2007
- Jonathan B. Tucker. Chemical Warfare from World War I to Al-Qaeda (2006)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ATSDR Case Studies in Environmental Medicine: Cholinesterase Inhibitors, Including Insecticides and Chemical Warfare Nerve Agents เก็บถาวร 2011-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Department of Health and Human Services
- Russian Biological and Chemical Weapons, about the danger posed by non-state weapons transfers
- Gaddum Papers at the Royal Society เก็บถาวร 2007-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chemical Weapons stored in the United States
- [1] The Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons OPCW
- [2][ลิงก์เสีย] Chemical Warfare in Australia
- Classes of Chemical Agents เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. National Library of Medicine
- Chemical warfare agent potency, logistics, human damage, dispersal, protection and types of agents (bomb-shelter.net) เก็บถาวร 2007-08-14 ที่ archive.today
- "'War of Nerves': A History of Chemical Weapons" (interview with Jonathan Tucker from National Public Radio Talk of the Nation program, May 8, 2006