ข้ามไปเนื้อหา

สงครามฟอล์กแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
Photo montage of the Falklands War
แผนที่สรุปการยึดหมู่เกาะคืนของอังกฤษ
วันที่2 เมษายน - 14 มิถุนายน 1982[1][2]
สถานที่
ผล

สหราชอาณาจักรเป็นฝ่ายชนะ

คู่สงคราม
 อาร์เจนตินา  บริเตนใหญ่
 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
  • คณะรัฐมนตรีสงคราม[3]
  • สหราชอาณาจักร Prime Min. M. Thatcher
  • สหราชอาณาจักร Adm. Sir T. Lewin
  • สหราชอาณาจักร Adm. Sir J. Fieldhouse
  • สหราชอาณาจักร R Adm. J. Woodward
  • สหราชอาณาจักร Maj.Gen. J. Moore
  • สหราชอาณาจักร Brig. J. Thompson
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต 649 คน
  • บาดเจ็บ 1,657 คน[4]
  • ถูกจับเป็นเชลย 11,313 คน
  • เสียชีวิต 255 คน
  • บาดเจ็บ 775 คน
  • ถูกจับเป็นเชลย 115 คน

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (อังกฤษ: Falklands War; สเปน: Guerra de las Malvinas) เป็นสงครามที่ไม่ได้ประกาศในระยะเวลา 10 สัปดาห์ ระหว่างอาร์เจนตินา และสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1982 บนดินแดนที่ขึ้นกับบริติชสองแห่งในแอตแลนติกทางตอนใต้: หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และดินแดนในภาวะพึ่งพิง เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ผลลัทธ์ของสงครามคือ บริติชชนะ

ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เริ่มขึ้นในวันที่ 2 เมษายน เมื่ออาร์เจนตินาได้ทำการบุกรุกและยึดครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ตามมาด้วยการบุกครองเกาะเซาท์จอร์เจียในวันต่อมา เมื่อวันที่ 5 เมษายน รัฐบาลบริติชได้ส่งกองกำลังทางเรือเพื่อต่อกรกับกองทัพเรือและกองทัพอากาศของอาร์เจนติน่า ก่อนที่จะทำการโจมตีด้วยสะเทิ้นน้ำสะเทินบกบนหมู่เกาะ ความขัดแย้งครั้งนี้ได้กินเวลาไป 74 วัน และจบลงด้วยการยอมจำนนของอาร์เจนติน่าในวันที่ 14 มิถุนายน ได้ส่งคืนเกาะให้อยู่ในการควบคุมของบริติช โดยรวมแล้ว บุคคลากรทางทหารของอาร์เจนติน่า 649 นาย บุคคลากรทางทหารของบริติช 255 นาย และชาวเกาะฟอล์กแลนด์สามคนล้วนเสียชีวิตในการสงคราม

ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของดินแดน อาร์เจนติน่าได้แสดงสิทธิ์ (และปกปักรักษา) ว่าหมู่เกาะเหล่านี้เป็นดินแดนของอาร์เจนติน่า[5] และรัฐบาลอาร์เจนติน่าจึงได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการทางทหารว่าเป็นการเรียกคืนดินแดนของตน รัฐบาลบริติชได้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการบุกครองดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมในพระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ชาวเกาะฟอล์กแลนด์ ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะเหล่านี้นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เป็นเหล่าบรรดาลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวบริติช และให้การสนับสนุนอำนาจอธิปไตยของบริติชอย่างมาก รัฐทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ แม้ว่าทั้งสองรัฐบาลจะประกาศให้หมู่เกาะเหล่านี้เป็นเขตสงครามก็ตาม

ความขัดแย้งครั้งได้มีผลอย่างมากในประเทศทั้งสองฝ่ายและเป็นเรื่องราวในหนังสือ บทความ ภาพยนตร์ และเพลงต่าง ๆ ความรู้สึกรักชาติอยู่ในระดับสูงในอาร์เจนติน่า แต่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นใจทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ต่อรัฐบาลทหารที่ปกครองอยู่ ได้เร่งก่อให้เกิดการล่มสลายและกลายมาเป็นประชาธิปไตยภายในประเทศ ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้รับแรงสนับสนุนจากผลความสำเร็จที่ตามมา ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งโดยมีเสียงข้างมากเพิ่มขึ้นในปีถัดมา ผลกระทบทางวัตนธรรมและการเมืองของความขัดแย้งในสหราชอาณาจักรนั้นมีน้อยกว่าในอาร์เจนติน่า ซึ่งยังเป็นหัวข้อสนทนาทั่วไป[6]

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและอาร์เจนติน่าได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1989 ภายหลังการประชุมในมาดริด ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในจุดยืนของประเทศใด ๆ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1994 อาร์เจนติน่าได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่[7] ซึ่งได้ประกาศให้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นจังหวัดหนึ่งของอาร์เจนติน่าตามกฎหมาย[8] อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะเหล่านี้ยังคงอยู่ในฐานะดินแดนโพ้นทะเลของบริติชที่ปกครองด้วยตนเอง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Falklands 25: Background Briefing". Ministry of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
  2. ":: Ministerio de Defensa – República Argentina ::" (ภาษาสเปน). mindef.gov.ar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
  3. Lawrence Freedman (9 August 2005). The Official History of the Falklands Campaign: War and diplomacy. Vol. 2. Routledge, Taylor & Francis Group. pp. 21–22. ISBN 978-0-7146-5207-8. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.day-to-day oversight was to be provided by...which came to be known as the War Cabinet. This became the critical instrument of crisis management
  4. Historia Marítima Argentina, Volume 10, p. 137, Argentina. Departamento de Estudios Históricos Navales, Cuántica Editora, 1993
  5. "Argentine to reaffirm Sovereignty Rights over The Falkland Islands". National Turk. 4 January 2012. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
  6. "Cómo evitar que Londres convierta a las Malvinas en un Estado independiente". Clarin. 1 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 7 February 2010.
  7. "Constitución Nacional". Argentine Senate (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2004. La Nación Argentina ratifica su legítima e imprescriptible soberanía sobre las Islas Malvinas, Georgias del Sur y Sandwich del Sur y los espacios marítimos e insulares correspondientes, por ser parte integrante del territorio nacional.
  8. "Argentina: Constitución de 1994". pdba.georgetown.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  9. Cahill 2010, "Falkland Islands".