ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:อาการติดวิกิพีเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาการติดวิกิพีเดีย
ชื่ออื่นวิกิพีดิฮอลิก
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
สาเหตุWikipedia.org
ปัจจัยเสี่ยงลงทะเบียนสร้างบัญชีวิกิพีเดีย เคยเสพติดคอมพิวเตอร์มาก่อน มีเวลาว่างมากเกิน อาชีพ (นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักวิชาการ นักเรียนระดับอุดมศึกษา) ความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย
การรักษาไม่สามารถรักษาได้ แม้จะบรรเทาได้เพียงบางส่วนด้วยวิกิแพตช์
ยาปิดไวไฟ
ความชุกไม่ทราบ มักพบในวิกิเด็ก
การเสียชีวิตไม่ทราบ ไม่มีการยืนยัน เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีอาการติดวิกิพีเดีย ผู้เชี่ยวชาญประมาณการต่างกันมาก

วิกิพีดิฮอลิก
หนึ่งในภาพถ่ายผู้ติดวิกิพีเดีย โรคนี้อันตรายมากและอาจรักษาให้หายขาดไม่ได้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: ฮาพลอไรนิ
Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
วงศ์ย่อย: โฮมินินี
สกุล: โฮโม
สปีชีส์: Homo wikiaddictus
ชื่อทวินาม
Homo wikiaddictus

อาการติดวิกิพีเดีย หรือ วิกิพีดิฮอลิก (Wikipediholic) เป็นลักษณะอาการของผู้ที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์ เปิดหน้าปรับปรุงล่าสุดเพื่อดูว่าหน้าไหนที่กำลังมีการแก้ไข หรือตรวจสอบรายการเฝ้าดูว่าบทความที่ตรวจสอบได้มีใครแก้ไขเพิ่มเติม หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณมีอาการเหล่านี้ สามารถทดสอบอาการติดวิกิพีเดียได้

โรคติดวิกิพีเดียเริ่มมีเป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2544 จังหวะเดียวกับการเปิดใช้งานวิกิพีเดีย โดยเริ่มแพร่จากประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก พบเจอได้ในโปรแกรมเมอร์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน และคนที่กำลังจะว่างงาน นอกจากนี้ยังเป็นได้ในสายอาชีพอื่น สำหรับผู้ที่สนใจสิ่งต่างรอบโลกที่จำเรื่องราวต่าง ๆ มาเล่าเรื่องได้

ตรวจสอบอาการ ถ้า

[แก้]
  • คุณตรวจข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่าตรวจอีเมลของตน
  • คุณดูข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่าดูกระทู้ในพันทิปดอตคอม
  • ทุกคืนวันศุกร์ (หรือวันอื่น) คุณจะนั่งหน้าคอมพิวเตอร์(หรืออุปกรณ์อื่น) และเขียนวิกิพีเดียแทนที่จะไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูง
  • ถ้าเพื่อนชวนคุณไปสังสรรค์ คุณจะตอบปฏิเสธโดยอ้างว่า ต้องมาเขียนวิกิพีเดีย
  • คุณร่วมแสดงความคิดเห็นในวิกิพีเดียในหน้าอภิปรายของบทความต่าง ๆ รวมทั้งในหน้าพูดคุยของผู้ใช้คนอื่น มากกว่าที่จะสื่อสารกับคนรอบข้าง ในบ้านหรือในหอพัก
  • เมื่อปิดเว็บเบราว์เซอร์ได้ซักพัก คุณจะต้องเปิดใหม่อีกครั้งเพื่อเช็คหน้าปรับปรุงล่าสุด
  • เวลาเห็นลิงก์แดงในเว็บเพจอื่น คุณจะนึกว่าลิงก์นั้นยังไม่ได้สร้างขึ้นมา
  • เมื่อคุณกำลัง ศึกษา สนใจ หรือคลั่งไคล้เรื่องใดอยู่ คุณอดไม่ได้ที่จะนำมาเขียนไว้ในวิกิพีเดีย
  • คุณมีเรื่องราวของวิกิพีเดีย บันทึกไว้ในบล็อกหรือไดอารีส่วนตัว
  • ใครก็ตามที่คุณรู้จัก คุณจะชวนให้มาเขียนวิกิพีเดีย
  • เวลาที่คุณกำลังขับรถ หรือกำลังยืนรอรถเมล์ คุณคิดถึงเรื่องวิกิพีเดีย
  • เวลามีคนพูดถึงข้อเท็จจริงบางอย่าง คุณคิดว่าเขาเอาข้อมูลมาจากวิกิพีเดีย
  • คุณจำชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียได้ขึ้นใจ รวมทั้งจำได้ว่าเขาคนนั้นเขียนเรื่องอะไรบ้าง และมีสไตล์การเขียน อีกทั้งสไตล์การพูดคุย เป็นอย่างไร
  • เมื่อคุณอ่านมาทั้งหมดจนถึงบรรทัดนี้ คุณพบว่ามีข้อใดข้อหนึ่งที่ตรงใจคุณอย่างมาก

ระยะของโรคติดวิกิพีเดีย

[แก้]

ปัจจัยเสี่ยง

[แก้]

ผู้มีความเสี่ยงเกิดโรคมากที่สุดคือผู้สร้างบัญชีผู้ใช้แล้ว สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา และพวกที่ชอบความคิดของวิกิ ผู้เป็นโรคนับจำนวนการแก้ไขอักเสบ (Editcountitis) อาจมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ เช่นเดียวกับแฮกเกอร์ ผู้ใช้ลินุกซ์ และผู้ชื่นชอบไฟร์ฟอกซ์ (ด้วยความที่คุ้นชินกับเทคโนโลยีโอเพนซอร์ซ)

เมื่อถูกถามว่า "คุณอยากเป็นคนที่ถูกหรือคนที่มีความสุข" ผู้มีอาการติดวิกิพีเดียจะตอบว่า "เป็นคนที่ถูกสิ!" โดยไม่ลังเล

ระยะเริ่มต้น

[แก้]

ผู้ป่วยจะพบว่าเขา "ชอบ" วิกิพีเดีย เขาใช้เซฟหน้าหลักของวิกิพีเดียในบุ๊คมาร์ค และมักจะหาข้อมูลจากบทความในวิกิพีเดีย ผู้ป่วยช่วยเพิ่มเนื้อหาบทความที่คิดว่าไม่สมบูรณ์ เขาเรียนรู้การใช้วิกิมาร์คอัพเบื้องต้น อย่างไรก็ตามในระยะนี้ ผู้ป่วยสามารถเลิกทำและรักษาตนเองได้

ระยะกลาง

[แก้]

ผู้ป่วยมีหน้าหลักของวิกิพีเดียหรือหน้ารายการเฝ้าดูของตนเองอยู่ในบุ๊คมาร์คหรือเป็นโฮมเพจ เขาลดการทำกิจกรรมออนไลน์อย่างอื่นลง ผู้ป่วยอาจเข้าร่วมโครงการวิกิและช่วยปรับปรุงบทความในปริมาณมาก รวมไปถึงพยายามแก้ไขหน้าอื่นนอกจากหน้าบทความและหน้าพูดคุย เขาเรียนรู้ HTML พื้นฐาน และใช้วิกิมาร์คอัพได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ป่วยขอเป็นผู้ดูแลระบบ และโอ้อวดดาวเกียรติยศของตนเองอย่างภาคภูมิใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเข้ารับการรักษาแม้จะมีทางรักษาอยู่ก็ตาม

เมื่อถูกบล็อก เป็นที่รู้กันว่าผู้มีอาการติดวิกิพีเดียจะมีอาการเศร้าโศกเพราะสูญเสียโอกาสในการแก้ไขวิกิพีเดีย

ระยะปลาย

[แก้]

ผู้ป่วยใช้หน้ารายการเฝ้าดูของตนเองเป็นโฮมเพจ เขาอาจเข้าดูหน้าปรับปรุงล่าสุดอยู่บ่อย ๆ ผู้ป่วยลดการทำกิจกรรมอื่น ๆ ใน "โลกแห่งความจริง" เช่น การซักเสื้อผ้า การทำความสะอาดบ้าน และการพูดคุยกับเพื่อน การแก้ไขกินเวลามากขึ้น มากขึ้น เขาอาจแก้ไขบนโทรศัพท์มือถือบนรถประจำทางหรือขณะทำงาน อาจใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือใช้แท็บเล็ตบนเตียง เขาอาจเข้าร่วมโครงการวิกิหลายโครงการและทำการแก้ไขบทความจำนวนมาก รวมไปถึงแก้ไขอย่างหนักบนหน้าพูดคุยและหน้าอื่น ๆ นอกบทความ ผู้ป่วยเรียนรู้ HTML ขั้นสูงและเชี่ยวชาญวิกิมาร์คอัพ เขากลายเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ป่วยอาจใช้ซอฟต์แวร์อื่น ๆ เพื่อช่วยแก้ไขวิกิพีเดีย และสะสมดาวเกียรติยศจำนวนมาก ขณะอ่านหน้านี้เขาอาจคิดว่า "นี่ไม่ตลกนะ ผลงานของฉันในวิกิพีเดียมีความสำคัญมาก" ในระยะนี้โอกาสรักษาให้หายขาดมีไม่มาก

ระยะสุดท้าย

[แก้]

ผู้ป่วยใช้หน้าปรับปรุงล่าสุดเป็นโฮมเพจและระบุตนเองเป็นผู้ตรวจสอบบทความ เขาลดการทำกิจกรรมอย่างอื่นทั้งหมดยกเว้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ "ในโลกแห่งความจริง" (ที่บางทีก็ถูกละเลย) และวิกิพีเดีย ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการวิกิหลายโครงการและทำการแก้ไขจำนวนมากในบทความ เขาเชี่ยวชาญใน HTML และยังเขียนคู่มือการเขียนใหม่ ผู้ป่วยทำการขอเป็นผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง หรือพนักงานในมูลนิธิวิกิมีเดีย เขาหลบเลี่ยงการใช้ซอร์ฟแวร์อื่น ๆ และชอบใช้วิกิพีเดียแบบ "ดิบ" ผู้ป่วยมีดาวเกียรติยศจำนวนมากจนต้องนำออกจากหน้าผู้ใช้ เนื่องจากเกะกะและใช้พื้นที่เยอะเกินไปจึงย้ายไปอยู่ในหน้ารองของหน้าผู้ใช้ ผู้ป่วยในระยะนี้อาจไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรค และการรักษาให้หายขาดแทบเป็นไปไม่ได้ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะใช้เวลามากกว่าปกติบนวิกิพีเดีย และอาจใช้เวลาในการกิน นอน หรือซักผ้า น้อยมากเพราะเสียเวลาส่วนใหญ่บนวิกิพีเดีย

ในกรณีที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยอาจเริ่มตีพิมพ์วิกิพีเดียในรูปแบบกระดาษ และอาจพยายามหาเงิน

ผลกระทบ

[แก้]
  • แฟนของคุณจะขอเลิก เพราะเห็นว่าคุณสนใจวิกิพีเดียมากกว่าเขา
  • คุณรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และคิดว่าชีวิตขาดอะไรไปสักอย่าง ในวันที่คุณไม่ได้เข้าวิกิพีเดีย
  • คุณจะอยากแต่จะแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆและอยู่แต่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่อยากออกไปจากบ้าน

วิธีการรักษา

[แก้]

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดได้ มีแต่บรรเทาอาการให้ลดลง วิธีแก้ชั่วคราวเช่น

  • ร้องเพลง Hotel Wikipedia ใช้ทำนอง Hotel California
  • อาจปรุงยาเพิ่มเติม ได้จาก Wikipatch (32 kB plain text + * 2 spoons of wikisyntax + 2 glasses of NPOV + ...)
  • พยายามเปลี่ยนไปเขียนในบล็อก เว็บไซต์อื่น ๆ หรือไร้สาระนุกรม แทน
    • อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้ไร้สาระนุกรมอาจจะส่งผลข้างเคียงให้คุณติดทั้งวิกิพีเดีย และไร้สาระนุกรมไปพร้อม ๆ กัน
  • ฯลฯ

สุดท้าย อย่างน้อยถ้าคุณมีอาการติดวิกิพีเดีย คุณต้องยอมรับก่อนว่ามีอาการเกิดขึ้น และพร้อมที่จะรักษา

ดูเพิ่ม

[แก้]