ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:รายงานจุดบกพร่องและขอคุณลักษณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายงานจุดบกพร่องและคำขอคุณลักษณะ (เรียกรวมกันว่า งาน) ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์มีเดียวิกิที่ดำเนินการวิกิพีเดีย ควรยื่นที่ฟาบริเคเตอร์ของวิกิมีเดีย (Phabricator); ฟาบริเคเตอร์เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่มีเครื่องมือสำหรับการรายงานจุดบกพร่องและการจัดการโครงการ เครื่องมือการจัดการรายงานจุดบกพร่องของฟาบริเคเตอร์ เรียกว่า แมนิเฟสต์ (Maniphest)

รายงานจุดบกพร่องและขอคุณลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อซอฟต์แวร์มีเดียวิกิควรอภิปรายที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ หากมีข้อสงสัยให้อภิปรายกับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก่อนยื่นงานที่ฟาบริเคเตอร์ของวิกิมีเดีย

การรายงานจุดบกพร่องหรือขอคุณลักษณะ

[แก้]
ดูเพิ่มที่ "วิธีรายงานจุดบกพร่อง" ที่มีเดียวิกิ

สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือ ค้นหารายงานที่มีอยู่เดิมโดยใช้เขตข้อมูลค้นหาที่อยู่ในมุมขวาบน อาจมีคนเคยรายงานจุดบกพร่องหรือขอคุณลักษณะนั้นแล้ว การค้นหาก่อนช่วยป้องกันคำขอซ้ำซ้อน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ลองค้นไวพจน์ต่าง ๆ และการถอดความของชื่อเรียกจุดบกพร่องหรือคุณลักษณะนั้น

สร้างบัญชี

[แก้]

ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างบัญชีในฟาบริเคเตอร์ ทั้งนี้ จากระบบล็อกอินผู้ใช้เดียว (SUL) ของวิกิมีเดีย คุณสามารถใช้บัญชีของคุณใน mediawiki.org เพื่อเข้าสู่ระบบและไม่ต้องจำรหัสผ่านแยกต่างหากอีก กรุณาปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีการสร้างบัญชีบน mediaWiki.org ตรงกันข้ามกับระบบติดตามจุดบกพร่องก่อนหน้า (บั๊กซิลลา) ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่แสดงผลในฟาบริเคเตอร์ หากคุณมีบัญชีบั๊กซิลลาก่อนเปิดฟาบริเคเตอร์ กระบวนการนี้จะเข้ารวมบัญชีฟาบริเคเตอร์กับบั๊กซิลลาเข้าด้วยกัน

รายละเอียด

[แก้]

สร้างคำขอจุดบกพร่องหรือคุณลักษณะของคุณ! เพื่อให้เข้าใจว่าเขตข้อมูลแต่ละเขตหมายความว่าอะไรและวิธีการเขียนงานให้มีประโยชน์ แนะนำให้อ่าน "วิธีรายงานจุดบกพร่อง " ในมีเดียวิกิ มีการเน้นรายละเอียดบางอย่างด้านล่าง

การเลือกโครงการ

[แก้]

ในการเชื่อมโยงงานกับโครงการ (ป้ายระบุ) ที่ใช้ฟาบริเคเตอร์ คุณต้องเริ่มพิมพ์ชื่อโครงการในเขตข้อมูล "Tags" และเลือกโครงการจากรายการโครงการที่ตรงกัน (รายการจะแสดงโครงการที่ตรงกันห้าโครงการเท่านั้น) คุณสามารุเลือกโครงการและอ่านคำอธิบายโครงการสั้น ๆ โดยคลิกไอคอนแว่นยายในเขตข้อมูล "Tags" หากคุณไม่มั่นใจ จะปล่อยเขตข้อมูลดังกล่าวให้ว่างเสียก็ได้ เพราะจะมีผู้คัดแยกเข้ามาดูงานที่ยังไม่ได้ตั้งโครงการไว้ มีรายการโครงการ (ยาว) กด Edit Query เพื่อค้นหาโครงการ (รายการนี้ก็มีที่ Phabricator/Projects)

การตั้งลำดับความสำคัญของงาน

[แก้]

ปกติค่าลำดับความสำคัญควรให้เฉพาะผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้บำรุงรักษาหรือู้พัฒนาซึ่งวางแผนจะทำงานงานนั้นเป็นผู้ตั้ง หรือโดย staff bugwrangler หรือโดยสมาชิกชุมชนที่มีประสบการณ์ด้านเทคนิค ไม่ใช่ผู้รายงานที่ยื่นรายงานจุดบกพร่องหรือผู้สังเกตการณ์ภายนอก ดูรายละเอียดที่ การจัดการโครงการฟาบริเคเตอร์

การปรับงานของคุณ

[แก้]
ดูเพิ่มที่ "การบอกรับการปรับและแจ้งความ " บนมีเดียวิกิ

คุณจะได้รับอีเมลพร้อมการปรับสถานภาพของงานคุณโดยปริยาย บางทีผู้พัฒนาอาจปฏิเสธหรือเข้าใจรายงานจุดบกพร่องหรือคำขอคุณลักษณะผิด และปิดรายงานที่คุณคิดว่าชอบด้วยเหตุผล หากคุณยังเชื่อว่าเป็นประเด็น คุณสามารถเพิ่มความเห็นและพยายามอธิบายให้ดีขึ้น หรือคุณสามารถนำงานนั้นเข้าบัญชีจ่าหน้า หากคุณไม่ต้องการได้รับการปรับเกี่ยวกับจุดบกพร่องของคุณ สามารถแถลงไว้ใน การตั้งค่าอีเมล ของคุณ

ค้นหางานที่คุณเข้าร่วม CC / รายการบอกรับ

[แก้]

ไปที่รายการของงานเปิดที่คุณบอกรับ

คุณยังสามารถแก้ไขคำถามค้นหา (เช่น ให้รวมงานปิด) เพื่อเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ได้

โทเค็น

[แก้]

โทเค็นในฟาบริเคเตอร์ทำให้คุณแสดงว่าคุณสนใจจุดบกพร่องใด คุณสามารถเพิ่มโทเค็นเข้ารายงานโดยคลิก "Award Token" ในแถบข้างที่อยู่บนสุดของรายงาน

โปรดทราบว่าผู้พัฒนาไม่มีข้อผูกพันต้องนำคำขอนั้นไปปฏิบัติเพียงเพราะว่าคำขอนั้นมีโทเค็นมาก

มารยาท

[แก้]

ฟาบริเคเตอร์เป็นที่สำหรับแจ้งความผู้พัฒนาเรื่องจุดบกพร่องและให้สารนิเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขจุดบกพร่องดังกล่าว ไม่ใช่สถานที่สำหรับเรียกร้อง กรุณาปฏิบัติยึดถือปฏิบัติตามกฎต่อไปนี้เมื่อใช้ฟาบริเคเตอร์

  • ร่วมออกความเห็นที่เป็นประโยชน์ ความเห็นที่ไม่เกิดประโยชน์ เช่น การเรียกร้อง
  • นักพัฒนาไม่มีภาระผูกพันในการแก้ไขจุดบกพร่องของคุณหรือเพิ่มคุณลักษณะที่คุณต้องการ
  • ห้ามละเมิดตัวบุคคล
  • อย่าเที่ยวยุ่งกับเขตข้อมูล ยกเว้นแต่คุณเป็นผู้ได้รับมอบหมายของจุดบกพร่องนั้น ๆ หรือคุณทราบดีว่ากำลังทำอะไร ให้ออกความเห็นในการเปลี่ยนแปลงที่เสนอแทน
  • อย่าคร่ำครวญเกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิเสธ

การเชื่อมโยงไปยังจุดบกพร่องจากวิกิพีเดีย

[แก้]

{{tracked|T1000}}จะสร้างกล่องลอยขวามือกล่องแรก - >>

หากคุณต้องการระบุข้อเท็จจริงว่างานนั้นระงับแล้ว คุณสามารถระบุสถานภาพของงานได้โดย {{tracked|T1234|resolved}} ดูกล่องลอยขวาที่สอง ->

คุณสามารถเชื่อมโยงไปยังจุดบกพร่องโดยใช้คำเติมหน้าอินเทอร์วิกิ phab:ตัวอย่างเช่น พิมพ์ [[phab:T1000]] สำหรับ phab:T1000 คำเติมหน้า phab: สามารถใช้เชื่อมโยงไปยังหน้าคงที่ใด ๆ ในฟาบริเคเตอร์ของวิกิมีเดียได้ ตัวอย่างเช่นพิมพ์ [[phab:project/query/all/]] สำหรับ phab:project/query/all/

โปรดทราบว่า [[bug:T1000]] เชื่อมโยงไปยังวิกิพีเดียภาษาบูกีส ไม่ใช่เชื่อมโยงไปยังฟาบริเคเตอร์หรือบั๊กซิลลา

การเชื่อมโยงจากภายในฟาบริเคเตอร์

[แก้]

ฟาบริเคเตอร์ไม่รองรับลิงก์ภายในแบบมีเดียวิกิหรือลิงก์ส่วนซึ่งใช้วงเล็บเหลี่ยมมาตรฐาน เช่นเดียวกับลิงก์ข้ามโครงการ เช่น คำเติมหน้าภาษา ลแะลิงก์ข้ามโครงการอื่น

แนะนำอย่างยิ่งให้ใช้ที่อยู่เว็บเต็มแทน ซึ่งสามารถคัดลอกและวางจากแถบตำแหน่งของเว็บเบราว์เซอร์ ยูอาร์แอลเต็มจะแปลงเป็นลิงก์ที่ใช้การได้อัตโนมัติ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เวงเล็บ

กำหนดการใช้งานซอฟต์แวร์

[แก้]

ซอฟต์แวร์ใหม่บนวิกิพีเดียมีการใช้งาน (deployment) อย่างสม่ำเสมอ โดยปกติทุกสัปดาห์ วิกิกลุ่ม 0 มีการใช้งานซอฟต์แวร์ทุกวันอังคาร (เว็บไซต์ทดสอบและ mediawiki.org) กลุ่ม 1 ทุกวันพุธ (วิกิพีเดียภาษาคาตาลันและฮีบรูและเว็บไซต์ที่ไม่ใช่วิกิพีเดียทั้งหมด) และกลุ่ม 2 (ที่เหลือ) ทุกวันพฤหัสบดี รุ่นมีเดียวิกิปัจจุบันแสดงที่ Special:Version และรุ่นปัจจุบันคือ 1.44.0-wmf.11 (5bb154a)

หากคุณประสบปัญหาทางเทคนิคขณะแก้ไขหรืออ่านในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีปัญหา มีความเป็นไปได้สูงว่าสาเหตุของปัญฆาทางเทคนิคนั้นได้แก่การใช้งานซอฟต์แวร์ใหม่นั่นเอง คุณสามารถรายงานปัญหาโดยใช้คำชี้แนะในหน้านี้หรือทางสภากาแฟ หากคุณตัดสินใจรายงานปัญหาที่สภากาแฟ พิจารณามองหาปัญฆาที่คล้ายกันก่อน คุณอาจไม่ใช่คนแรกที่พบปัญหานั้น และเป็นการดีที่จะเก็บการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นให้อยู่ที่เดียวกัน บางที "ปัญหา" นั้นเป็นผลลัพธ์ของการกระทำโดยเจตนาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของซอฟต์แวร์ ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะสามารถเขียนรายงานได้ แต่ไม่รับประกันว่าปัญหานั้นจะได้รับการแก้ไขในทางที่คุณประสงค์ หรือปัญหานั้นต้องแก้ไขหรือไม่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]