ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ถูกนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากมองว่าเป็นวิกฤตการณ์การเงินครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930[1][2] วิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งเสี่ยงต่อการล้ม รัฐบาลแห่งชาติให้เงินช่วยเหลือธนาคาร และตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกมีแนวโน้มตกต่ำลง ในหลายพื้นที่ ตลาดการเคหะได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้เกิดการฟ้องขับไล่ การยึดทรัพย์จำนอง (foreclosure) และการว่างงานที่ยาวขึ้น วิกฤตการณ์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการล้มละลายของธุรกิจสำคัญ การถดถอยของความมั่งคั่งผู้บริโภคประเมินในระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และการถดถอยของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555 และมีส่วนต่อวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป[3][4] วิกฤตการณ์นี้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นวิกฤติสภาพคล่อง สามารถสืบย้อนไปได้ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เมื่อบีเอ็นพี พารีบาส์เพิกถอนการถอนเงินจากเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) 3 แห่ง โดยอ้าง "การเหือดแห้งสมบูรณ์ของสภาพคล่อง" (a complete evaporation of liquidity)[5]

การระเบิดของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ซึ่งถึงจุดสูงสุดใน พ.ศ. 2549[6] ทำให้มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ถูกติดกับการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบฮาบ และสร้างความเสียหายแก่สถาบันการเงินทั่วโลก[7][8] วิกฤตการณ์การเงินดังกล่าวถูกกระตุ้นโดยการมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างซับซ้อนของนโยบายรัฐที่ส่งเสริมการเป็นเจ้าของบ้าน ให้ผู้กู้ซับไพรม์เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น การตีราคาการจำนองซับไพรม์สูงเกินจริงโดยอิงทฤษฎีที่ว่าราคาการเคหะจะสูงขึ้นต่อไป วิธีปฏิบัติการซื้อขายที่น่าสงสัย รวมทั้งการที่ยึดสูตรแบล็ก-โชลส์-เมอร์ตอน ทั้งในส่วนของผู้ซื้อและผู้ขาย และการขาดสินทรัพย์ทุนที่เพียงพอจากธนาคารและบริษัทประกันภัยเพื่อหนุนหลังข้อผูกมัดทางการเงินที่พวกเขากำลังทำอยู่[9][10][11] คำถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ได้ของธนาคาร การเสื่อมถอยวงเงินเครดิตและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เสียไปมีผลต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยหลักทรัพย์ประสบการขาดทุนครั้งใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2551 และต้น พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงระหว่างช่วงนี้ เนื่องจากมีการเพิ่มความรัดกุมของเครดิตและการค้าระหว่างประเทศลดลง[12] รัฐบาลและธนาคารกลางสนองโดยการกระตุ้นทางการเงิน การขยายนโยบายการคลังและการให้เงินช่วยเหลือสถาบันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่าจะมีผลกระทบตามมาอยู่บ้าง แต่ตัววิกฤตการณ์การเงินเองสิ้นสุดไปแล้วระหว่างปลาย พ.ศ. 2551 และกลาง พ.ศ. 2552[13][14][15] ในสหรัฐอเมริกา รัฐสภาได้ผ่านรัฐบัญญัติการฟื้นตัวและการลงทุนใหม่อเมริกัน พ.ศ. 2552 ในสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรสนองด้วยมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นการลดรายข่ายและเพิ่มภาษี โดยไม่มีการเติบโตของการส่งออก ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบสอง (double-dip recession)[16][17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Two top economists agree 2009 worst financial crisis since great depression; risks increase if right steps are not taken. เก็บถาวร 2010-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (February 29, 2009). Reuters. Retrieved 2009-09-30, from Business Wire News database.
  2. Haidar, Jamal Ibrahim, 2012. "Sovereign Credit Risk in the Eurozone," World Economics, World Economics, vol. 13(1), pages 123-136, March
  3. "Brookings-Financial Crisis" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ May 1, 2010.
  4. Williams, Carol J. (May 22, 2012). "Euro crisis imperils recovering global economy, OECD warns". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 23, 2012.
  5. Larry Elliott, economics editor of The Guardian (August 5, 2012). "Three myths that sustain the economic crisis" (blog by expert). The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 6, 2012. Five years ago the banks stopped lending to each other. {{cite news}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. Tully, Shawn (2006-05-05). "Welcome to the Dead Zone". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2008-03-17.
  7. This American Life. "NPR-The Giant Pool of Money-April 2009". Pri.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ May 1, 2010.
  8. Michael Simkovic, Competition and Crisis in Mortgage Securitization
  9. "Money, Power and Wall Street, Part 1". PBS Frontline ©1995-2012 WGBH Educational Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
  10. Michael Simkovic, "Secret Liens and the Financial Crisis of 2008" American Bankruptcy Law Journal, Vol. 83, p. 253, 2009.
  11. Ivry, Bob (September 24, 2008). "(quoting Joshua Rosner as stating "It's not a liquidity problem, it's a valuation problem.''". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  12. "World Economic Outlook: Crisis and Recovery, April 2009" (PDF). สืบค้นเมื่อ May 1, 2010.
  13. TIME Magazine Friday, April 10, 2009 [1] เก็บถาวร 2012-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. Financial Crisis Inquiry Commission, Get the Report, accessed February 14, 2011.
  15. Financial Crisis Was Avoidable, Sewell Chan, New York Times, January 25, 2011, accessed February 14, 2011.
  16. "Why is the UK Double-Dipping?". Why is the UK Double-Dipping?. The Atlantic. สืบค้นเมื่อ May 8, 2012.
  17. Roya Wolverson (Aug 2, 2011). "Why a Weaker Dollar Could Help the U.S." Time. สืบค้นเมื่อ May 24, 2012.