วันทามารีย์
วันทามารีย์[1] หรือในเอกสารเก่ากว่าใช้คำว่า วันทามารีอา[2] (ละติน: อาเวมารีอา[2], Ave Maria; อังกฤษ: Hail Mary) เป็นบทสวดภาวนาแบบขนบของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกซึ่งอ้างตอนที่เทวดากาเบรียลมาพบแม่พระมารี พระมารดาของพระเยซู และต่อมาเมื่อแม่พระเดินทางไปพบเอลิซาเบธ มารดาของนักบุญจอน ผู้ให้บัพติศมา ทั้งสองเหตุการณ์นี้ปรากฏในพระวรสารนักบุญลูกา บทภาวนาวันทามารีย์เป็นบทเชิดชูและร้องขอต่อพระมารดาของพระเจ้า นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ปรากฏฉบับบทภาวนาของโรมันคาทอลิกมีความใกล้เคียงกับบทร้องขอภาวนาเพื่อเพื่อผู้ที่ลำบาก ตัวบทสวดมีความแตกต่างกันไปตามธรรมเนียมและมีการนำไปดัดแปลงเป็นดนตรี
ในจารีตละตินของโรมันคาทอลิก ใช้บทภาวนาที่เป็นพื้นฐานของบทภาวนาต่อบทสวดลูกประคำและบทสวดอังเจลัส พิธีสักการบูชาในจารีตโอเรียนทัลออร์ทอดอกซ์มีบทภาวนาจำนวนมากที่ใช้สื่อยังแม่พระ แต่ทั้งหมดล้วนมีความคล้ายคลึงกับวันทามารีย์[3] ส่วนจารีตออร์ทอดอกซ์ตะวันออกมีบทภาวนาที่คล้ายคลึงกัน ทั้งในภาษากรีกและฉบับแปล ล้วนปรากฏในบทสวดนอกสักการพิธี เช่น บทภาวนาพระเยซู จารีตคาทอลิกตะวันออกใช้รูปแบบที่สืบต่อจากของละติน เช่นเดียวกันกับคริสตจักรกลุ่มตะวันตกอื่น ๆ ที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับคาทอลิก มีบทภาวนาที่ต่อยอดหรือมีรากฐานมาจากฉบับละติน เช่น ลูเทอราน, อังกลิคัน, อินดีเพนเดนต์คาทอลิก และ โอลด์คาทอลิก[4]
บทวันทามารีย์ฉบับภาษาไทยของคาทอลิกมีการปรับปรุงสำนวนอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ปรากฏมีตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1674 อันปรากฏการใช้คำว่า "อาเวมารีอา" และ "ซางตามารีอา" ซึ่งปรากฏเรื่อยมาในฉบับอีกสองฉบับถัดมา กระทั่งฉบับที่สี่ในปี 1947 ใช้คำว่า "วันทามารีอา" และ "สันตะมารีอา" ทดแทน[2] ในปัจจุบัน บทภาวนาภาษาไทยที่ใช้ของคาทอลิกเป็นฉบับประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2010 ใช้คำว่า "มารีย์" แทน "มารีอา"[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "บทภาวนาของคริสตชน (ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2010)" (PDF). คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม. 29 กันยายน 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-01. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "บทวันทามารีย์ 5 สมัย". แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Claremont Coptic Encyclopedia: Hail Mary
- ↑ Johnson, Maxwell E. (2015). The Church in Act: Lutheran Liturgical Theology in Ecumenical Conversation (ภาษาอังกฤษ). Fortress Press. ISBN 978-1-4514-9668-0.